เทคโนโลยี นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ วิศวกรรม เกษตรศาสตร์ >>
การเพาะเห็ดฟางจากเปลือกถั่วเขียว
กรมส่งเสริมการเกษตร
วัสดุในการเพาะ
- เชื้อเห็ดฟาง หมายถึง เส้นใยเห็ดฟางที่เจริญเติบโตในปุ๋ยหมักที่ผ่านการฆ่าเชื้อโรคอย่างดี แล้วสามารถที่จะนำไปเพาะได้เลย ควรเลือกซื้อเชื้อเห็ดที่มีคุณภาพราคาไม่แพง
- เปลือกถั่วเขียว ควรเลือกเปลือกของฝักถั่วเขียวที่มีลักษณะป่นเล็กน้อยหลังจากนวดเอาเมล็ดออกแล้วและต้องแห้งไม่ถูกน้ำหรือฝนจนกว่าจะนำมาเพาะเห็ดฟาง
- สถานที่ ควรเป็นที่ดอน ไม่มีมด ปลวก แมลงต่าง ๆ และศัตรูของเห็ดฟางชนิดอื่น ๆ สถานที่นั้นต้องไม่เป็นดินเค็ม ดินด่างจัด หรือน้ำไม่ท่วมขัง ควรอยู่ใกล้แหล่งน้ำหรือสามารถหาน้ำมาใช้ได้สะดวก ต้องไม่เป็นที่ที่เคยเพาะเห็ดฟางมาก่อนอย่างน้อย 1 เดือน และที่สำคัญบริเวณนั้นต้องไม่มีพิษตกค้างของสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชใด ๆ ทั้งสิ้น ในฤดูแล้งควรทำการเพาะในนาข้าว เพื่อเป็นการเพิ่มปุ๋ยหมักให้แก่ข้าวด้วย ส่วนในฤดูฝนควรเลือกที่ตอนกลางแจ้งที่เหมาะสม
- น้ำ ควรเป็นน้ำที่สะอาดปราศจากคลอรีนและกลิ่นเน่าเหม็น ไม่เป็นน้ำเค็ม หรือน้ำกร่อย
- อาหารเสริม ควรหาง่ายในท้องถิ่น มีลักษณะไม่อุ้มน้ำมากเกินไป มีอาหารที่เหมาะสมสำหรับเห็ดฟางไม่เข้มข้นมากเกินไป อาหารเสริมที่ผ่านการทดลองและได้ผลดี ได้แก่ละอองข้าวผสมมูลควาย มูลโค และปุ๋ยหมักที่สลายตัวแล้ว สำหรับอัตราส่วนของการผสมนั้นขึ้นกับสถานที่ด้วย เช่น ละอองข้าวกับปุ๋ยหมัก เท่ากับ 1:1 หรือ 4:3 หรือ 2:1 เป็นต้น
- แบบไม้หรือลังไม้ มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมคางหมูโดยมีด้านกว้างด้านบน 25
เซนติเมตร ด้านล่าง 30 เซนติเมตร ยาว 100 เซนติเมตร และสูง 25 เซนติเมตร
นอกจากนี้ยังมีแผ่นไม้กดใช้สำหรับกดเปลือกถั่วเขียว เพื่อความสะดวกในการทำกองเพาะ โดยใช้ไม้แผ่นขนาดกว้าง 20 เซนติเมตร ยาว 30 เซนติเมตร และมีไม้สำหรับทำด้ามจับลักษณะคล้ายเกรียงฉาบปูน - ผ้าพลาสติก จะใช้ชนิดใสหรือสีดำก็ได้ ขึ้นกับราคาและความคงทน ถ้าหาไม่ได้ก็อาจใช้กระสอบปุ๋ยเย็บติดต่อกันแล้วนำไปล้างให้สะอาดปราศจากความเค็มของปุ๋ย เพราะความเค็มจะทำให้ดอกเห็ดไม่เจริญเติบโต
- โครงไม้ไผ่ หรือจะใช้โครงเหล็กก็ได้ ซึ่งจะใช้ในการขึ้นโครงเมื่อกองเพาะมีอายุได้ 3-4 วันหลังจากวันเพาะ โดยนำไปปักให้เป็นรูปครึ่งวงกลมหรือรูปฝาชีคร่อมกองเห็ดเพาะซึ่งมีส่วนสูงไม่น้อยกว่า 60 เซนติเมตร
- บัวรดน้ำ จอบ หรือเสียม
- ฟางข้าวหรือเศษหญ้าแห้ง สำหรับคลุมกองเพาะ เพื่อพรางแสงแดด อาจใช้หญ้าคาหรือแฝกก็ได้
» วัสดุในการเพาะ
»
วิธีเพาะ
»
การดูแลรักษา
»
การเก็บดอกเห็ด
»
ศัตรูเห็ดและการป้องกัน
- เรียบเรียง บุญเลิศ สอาดสิทธิศักดิ์ สถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร
- จัดทำ เกตุอร ทองเครือ กองเกษตรสัมพันธ์
- เผยแพร่ กองเกษตรสัมพันธ์ กรมส่งเสริมการเกษตร