เทคโนโลยี นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ วิศวกรรม เกษตรศาสตร์ >>
การเพาะเห็ดฟางจากเปลือกถั่วเขียว
กรมส่งเสริมการเกษตร
การดูแลรักษา
- ในช่วง 1-2 วันแรก ไม่ต้องทำอะไรกับกองเพาะเลย นอกจากป้องกันไม่ให้สุนัข
ไก่ หรือสัตว์อื่น ๆ ไปรบกวนกองเพาะ
- เมื่อเริ่มวันที่ 3 หลังจากวันเพาะ
ให้เปิดกองเพาะดูจะเห็นว่ามีตุ่มเห็ดโตประมาณเกือบเท่าหัวไม้ขีดเต็มไปหมด
จึงทำการเปิดกองเพาะทั้งหมด โดยเอาฟางและผ้าพลาสติกออกทิ้งไว้ประมาณ 30 นาที
เพื่อให้สภาพของกองเพาะเย็นลงและเป็นการไล่แก๊สที่เกิดจากการหมักเน่าของเปลือกถั่วเขียวออกไปด้วย
เมื่อกองเพาะเย็นตัวลงแล้วตักน้ำรดกองเพาะ 1-2 หาบบัว จากนั้นจึงทำการยกโครงโดยใช้ไม้ไผ่ปักหัวท้าย แล้วทำให้เป็นโครงคล้ายรูปฝาชีและมีความสูงอย่างน้อย 60 เซนติเมตร แล้วคลุมด้วยผ้าพลาสติก และฟางข้าวเช่นเดิม
- ทำการเปิดกองเพาะทุกเช้าและเย็นของวันที่ 4-5-6-7 หลังจากวันเพาะ
ครั้งละประมาณ 30 นาที
ช่วงนี้ให้สังเกตดูการเจริญเติบโตของดอกเห็ดด้วยว่าผิดปกติหรือไม่
ถ้ามีเส้นใยขึ้นปกคลุมดอกเห็ดมาก และเกิดผิวตกกระก็ให้เปิดกองเพาะนานกว่าเดิม
- หลังจากเปิดกองเพาะในตอนเย็นของวันที่ 7 หลังจากวันเพาะ ถ้ามีดอกเห็ดฟางที่คาดว่าจะเริ่มเก็บได้ในวันรุ่งขึ้นประมาณครึ่งหนึ่งของกองเพาะ ก็ให้ตักน้ำรดกองเพาะประมาณ 1 หาบบัว เพื่อเป็นการเพิ่มน้ำหนักให้กับดอกเห็ดและเพิ่มความชื้นให้กับกองเพาะด้วย ถ้าไม่รดน้ำจะได้เห็ดที่มีน้ำหนักน้อยกว่าการรดน้ำ
»
วัสดุในการเพาะ
»
วิธีเพาะ
» การดูแลรักษา
»
การเก็บดอกเห็ด
»
ศัตรูเห็ดและการป้องกัน