สุขภาพ ความงาม อาหารและยา สมุนไพร สาระน่ารู้ >>
ตัวยาเรียกได้หลายชื่อ
ตัวยาที่เรียกได้ 2 ชื่อนี้ มิได้เป็นมาตรฐานเท่าใดนัก บางตำราก็เรียกไปอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งไม่เหมือนกับตำราที่กล่าวไว้นี้ เพราะด้วยประเทศถิ่นที่อยู่นั้น เรียกกันตามที่อยู่ของตนไป เมื่อรวมความแล้วก็เป็นตัวยา อย่างเดียวกัน มีชื่อจะกล่าวดังต่อไปนี้
-
ต้นทิ้งถ่อน เรียกอีกชื่อว่า พระยาฉัตรทัน
-
ต้นตะโกนา เรียกอีกชื่อว่า พระยาช้างดำ
-
หนาวเดือนห้า เรียกอีกชื่อว่า พระขรรค์ไชยศรี
-
ร้อนเดือนห้า เรียกอีกชื่อว่า ต้นมะไฟเดือนห้า
-
กระพังโหมใหญ่ เรียกอีกชื่อว่า ตูดหมู
-
กระพังโหมเล็ก เรียกอีกชื่อว่า ตูดหมา
-
กระพังโหมน้อย เรียกอีกชื่อว่า ขี้หมาข้างรั้ว
-
ผักบุ้ง เรียกอีกชื่อว่า ผักทอดยอด
-
ผักกระเฉด เรียกอีกชื่อว่า ผักรู้นอน
-
ต้นชิงชี่ เรียกอีกชื่อว่า ปู่เจ้าสมิงกุย
-
เถาหญ้านาง เรียกอีกชื่อว่า ปู่เจ้าเขาเขียว หรือ หญ้าภัคคีนี
-
เท้ายายม่อม เรียกอีกชื่อว่า ประทุมราชา
-
เจตมูลเพลิง เรียกอีกชื่อว่า ลุกใต้ดิน
-
ต้นช้าพลู เรียกอีกชื่อว่า ผักอีไร
-
เปรียงพระโค เรียกอีกชื่อว่า น้ำมันในไขข้อกระดูกโค
-
ผักเป็ด เรียกอีกชื่อว่า กินตีนท่า หรือหากินตีนท่า
-
หยากไย่ไฟ, หญ้ายองไฟ เรียกอีกชื่อว่า อยู่หลังคา (นมจาก)
-
ขี้ยาฝิ่น เรียกอีกชื่อว่า ขี้คารู
-
สุรา เรียกอีกชื่อว่า กูอ้ายบ้า
-
น้ำครำ เรียกอีกชื่อว่า น้ำไขเสนียด
-
ต้นปีบ เรียกอีกชื่อว่า ก้องกลางดง
-
ต้นชะเอม เรียกอีกชื่อว่า อ้อยสามสวน
-
เถามะระขี้นก เรียกอีกชื่อว่า ผักไห
-
เถาโคกกระสุน เรียกอีกชื่อว่า กาบินหนี
-
ก้างปลา เรียกอีกชื่อว่า ปู่เจ้าคาคลอง
-
เกลือกระดังมูตร เรียกอีกชื่อว่า เกลือเยี่ยว
-
เถากระไดลิง เรียกอีกชื่อว่า กระไดวอก
-
กระบือเจ็ดตัว เรียกอีกชื่อว่า กระทู้เจ็ดแบก
-
แก่นขนุน เรียกอีกชื่อว่า กรัก
-
หญ้าพองลม เรียกอีกชื่อว่า ปู่เจ้าลอยท่า
-
กำแพงเจ็ดชั้น เรียกอีกชื่อว่า ตะลุ่มนก
-
กาสามปีก เรียกอีกชื่อว่า กาจับหลัก, หญ้าสองปล้อง
-
กระเช้าผีมด เรียกอีกชื่อว่า หัวร้อยรู
-
ต้นกำลังช้างเผือก เรียกอีกชื่อว่า พระยาข้างเผือก
-
ต้นกำลังวัวเถลิง เรียกอีกชื่อว่า กำลังทรพี
-
ต้นกำลังเสือโคร่ง เรียกอีกชื่อว่า กำลังพระยาเสือโคร่ง
-
ต้นกำลังหนุมาน เรียกอีกชื่อว่า กำลังราชสีห์
-
แก่นกำเกรา เรียกอีกชื่อว่า ตำเสา
-
บัวบก เรียกอีกชื่อว่า ผักหนอก
-
ขอบชะนางแดง เรียกอีกชื่อว่า หนอนตายอยากแดง
-
ขอบชะนางขาว เรียกอีกชื่อว่า หนอนตายอยากขาว
-
ดอกสลิด เรียกอีกชื่อว่า ดอกขจร
-
ต้นกรรณิกา เรียกอีกชื่อว่า สุพันนิกา
-
ดอกคำฝอย เรียกอีกชื่อว่า คำยอง
-
ดอกคำไทย เรียกอีกชื่อว่า ดอกชาติ
-
ฆ้องสามย่านตัวผู้ (นิลพัต) เรียกอีกชื่อว่า ต้นคว่ำตายหงายเป็น
-
ต้นเหงือกปลาหมอ เรียกอีกชื่อว่า ต้นแก้มคอ
-
ต้นฆ้องสามย่าน เรียกอีกชื่อว่า ส้มกระเช้า
-
ต้นจามจุรี เรียกอีกชื่อว่า ก้ามกราม, ก้ามปู
-
ต้นช้างงาเดียว เรียกอีกชื่อว่า หนามคาใบ
-
ต้นตีนเป็ดเครือ เรียกอีกชื่อว่า เถาเอ็นอ่อน
-
ต้นตีนเป็ดต้น เรียกอีกชื่อว่า พระยาสัตบัน
-
ต้นตีนเป็นน้ำ เรียกอีกชื่อว่า พะเนียงน้ำ
-
เม็ดเทียนขาว เรียกอีกชื่อว่า ยี่หร่า
-
เทียนตาตั๊กแตน เรียกอีกชื่อว่า ผักชีลาว
-
ต้นเทียนเยาวพาณี เรียกอีกชื่อว่า ผักชีกระเหรี่ยง
-
ต้นโทงเทง เรียกอีกชื่อว่า โคมจีน, โคมญี่ปุ่น
-
ต้นทองระอา เรียกอีกชื่อว่า ลิ้นงูเห่า
-
ผักเสี้ยนผี เรียกอีกชื่อว่า ไปนิพพานไม่รู้กลับ
-
หางไหลขาว เรียกอีกชื่อว่า โล่ติ๊น
-
หางไหลแดง เรียกอีกชื่อว่า กะลำเพาะ
-
สมออัพยา เรียกอีกชื่อว่า ลูกสมอไทย
-
สมอร่องแร่ง คือลูกสมอชนิดหนึ่งก้านยาว ห้อยร่องแร่งอยู่
-
บอระเพ็ดตัวผู้ คือ เถาชิงช้าชาลี แต่บอระเพ็ดตัวเมียคือเถาบอระเพ็ดที่มีตุ่ม
»»
หลักในการพิจารณาตัวยา 5 ประการ
»»
พืชวัตถุ
»»
สัตว์วัตถุ
»»
ธาตุวัตถุ
»» ตัวยาเรียกได้หลายชื่อ
»»
ตัวยาที่มีสรรพคุณใกล้เคียงกัน
»»
การเก็บยา
»»
ตัวยาประจำธาตุ
»»
สมุนไพรในงานสาธารณสุขมูลฐาน
»»
สมุนไพรที่เป็นพืชเศรษฐกิจ
»»
สีผสมอาการจากธรรมชาติ