สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>
สาเหตุทั่วๆไปของการติดสิ่งเสพติด
จากการศึกษถึงสาเหตุการติดสิ่งเสพติดของวงการแพทย์และสถาบันการศึกษา ตลอดจนหน่วยงานที่ทำการศึกษาเรื่องสิ่งเสพติด พอจะสรุปถึงสาเหตุของการติดสิ่งเสพติดซึ่งมีหลายประการดังนี้
1. การถูกชักชวน การชักชวนนี้อาจเกิดจากเพื่อนฝูงที่กำลังติดสิ่งเสพติดแล้วอยากให้เพื่อนติดบ้าง ชักชวนให้เพื่อนทำชั่วเหมือนกับตน เพราะเมื่อติดด้วยกันแล้วจะได้ขอเงิน หรือรวมเงินกันไปซื้อสิ่งเสพติดเป็นการแบ่งเบาภาระทางการเงินลงไปบ้าง โดยเฉพาะในกลุ่มวัยรุ่น ซึ่งอาจจะเป็นการกระทำที่สนองความต้องการที่เป็นไปได้ตามวัย ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีพลังสำคัญ ในอันที่จะชักชวนสมาชิกในกลุ่มให้เสพได้ เพราะกลุ่มนี้ถ้าหากพฤติกรรมใดที่กลุ่มหรือเพื่อนฝูงยอมรับและนิยมปฏิบัติก็จะเป็นที่ยอมรับและปฏิบัติตามไปด้วย นอกจากนี้ผู้ที่อยู่ในแหล่งที่มีการซื้อขายสิ่งเสพติดนั้น อาจจะได้รับการโฆษณาชักจูง คุณภาพของสิ่งเสพติดว่าดี ทำให้สมองปลอดโปร่งเหมาะแก่การเรียนการทำงาน หรืออาจเกิดการถูกชักชวนในขณะที่มึนเมาสุรา เที่ยวเตร่กัน จึงเกิดการติดสิ่งเสพติดได้
2. การอยากทดลอง ความอยากรู้อยากเห็น อยากจะรู้รสชาติ อยากสัมผัส เป็นสัญชาตญาณอย่างหนึ่งของมนุษย์ โดยคิดว่าคงไม่ติดง่ายๆ แต่เมื่อทดลองเสพเข้าไปแล้วมักจะติด เพราะสิ่งเสพติดนั้นเสพไม่กี่ครั้งก็สามารถติดได้
3. ถูกหลอกลวง สิ่งเสพติดมีรูปร่างต่างๆ ทำให้ผู้รับไม่ทราบว่าสิ่งที่ตนได้รับเป็นสิ่งเสพติดร้ายแรง คิดว่าเป็นยาธรรมดาที่ไม่มีพิษร้ายแรง ผลสุดท้ายกลายเป็นผู้เสพติดไป
4. ความเจ็บป่วยทางกาย เช่น ต้องถูกผ่าตัดหรือเป็นโรคปวดศรีษะ เป็นโรคประสาท เป็นหืดได้รับความทรมานมาก ผู้ป่วยต้องการบรรเทาอาการเจ็บป่วย พยายามช่วยตัวเองมานานแต่ก็ไม่หายจึงหันเข้าหาสิ่งเสพติด จนติดสิ่งเสพติดในที่สุด
5. ความคะนอง บุคคลประเภทนี้มีความอยากลองถึงแม้ว่าสิ่งเสพติดนั้นไม่ดีแต่ด้วยความคะนอง เพราะเป็นวัยรุ่นไม่เกรงกลัวอะไร ต้องการแสดงความเก่งกล้าอวดเพื่อนๆ ทำให้ขาดความยั้งคิดจึงชักชวนกันเสพสิ่งเสพติดจนติดในที่สุด
6. สิ่งแวดล้อม สถานที่อยู่อาศัยแออัด หรือเป็นแหล่งสลัม
ภาวะทางเศรษฐกิจบีบบังคับ ปัญหาทางครอบครัว เช่น สภาพบ้านแตก
สมาชิกในครอบครัวขาดความเข้าใจซึ่งกันและกัน ขาดความอบอุ่นจากพ่อแม่ และปัญหาอื่น ๆ
ซึ่งนับวาเป็นสิ่งที่มีอิทธิพลผลักดันให้ติดสิ่งเสพติดได้อย่างหนึ่ง
และยังเป็นอุปสรรคขัดขวางมิให้เลิกการใช้สิ่งเสพติดด้วย
แม้แต่จะรักษาให้หายขาดก็ไม่ได้
เพราะผู้ติดสิ่งเสพติดที่ได้รับการบำบัดรักษาจนกลับอยู่ในสภาพแวดล้อมเก่า ๆ
ที่จะกดดันให้ต้องไปใช้สิ่งเสพติดอีก
เนื่องจากปัจจุบันนี้ จากการค้นคว้าและวิจัย
ตลอดจนสถิติจำนวนผู้ติดสิ่งเสพติดชนิดต่าง ๆ ที่เข้าไปรับการรักษาตามโรงพยาบาลต่าง
ๆ ปรากฏว่ามีเยาวชนติดสิ่งเสพติดกันมากขึ้นทุกที กองกำกับการสวัสดิภาพเด็กและเยาวชน
กรมตำรวจ ได้สรุปถึงสาเหตุที่ทำให้เยาวชนติดสิ่งเสพติด ดังต่อไปนี้
1.เกี่ยวกับครอบครัวหรือผู้ปกครองของเยาวชน ได้แก่
- เกิดการแตกแยกหรือหย่าร้างในครอบครัว
- การไม่เอาใจใส่และทอดทิ้งเด็ก เนื่องจากพ่อแม่ผู้ปกครองไม่มีเวลาให้บุตรหรือบุตรไม่ได้อยู่ร่วมกับพ่อแม่
- พ่อแม่หรือผู้ปกครองลุ่มหลงในอบายมุขต่าง ๆ เช่นการพนัน เป็นต้น
- พ่อแม่หรือผู้ปกครองไม่กวดขันและลงโทษบุตรในทางที่เหมาะสม
- ไม่ให้ความร่วมมือกับโรงเรียน
- พ่อแม่หรือผู้ปกครองขาดความรู้ทางจิตวิทยาเกี่ยวกับการอบรมเลี้ยงดูบุตร และบางครอบครัวส่งเสริมในสิ่งฟุ้งเฟ้อ เป็นการสนับสนุนให้บุตรประพฤติไปในทางทีไม่สมควร
- ครอบครัวมีปัญหาเศรษฐกิจ และมีปัญหาเรื่องการมีลูกมาก
- นิสัยใจคอและความประพฤติของพ่อแม่หรือผู้ปกครองไม่เป็นตัวอย่างที่ดีให้บุตร เช่น ดื่มสุราจัด เป็นนักการพนัน เป็นต้น
- ความไม่สงบสุขที่มาจากครอบครัว เช่น ถูกพ่อแม่รังแก เป็นต้น
- ในครอบครัวขาดความสามัคคี
- บุตรขาดการส่งเสริมให้ทำงานได้ตามวัย
- บุตรไม่ได้รับการส่งเสริมให้เรียนหนังสือ
2.เกี่ยวกับโรงเรียนและการศึกษา ได้แก่
- โรงเรียนและครูไม่เพียงพอแก่นักเรียน
- มีการเรียนสองผลัด ทำให้นักเรียนมีเวลาว่างมากและมีการอ้างเหตุผลต่าง ๆ ในการออกนอกบ้าน
- นักเรียนได้รับการอบรมทางศีลธรรมไม่เพียงพอ
- นักเรียนขาดการส่งเสริมในด้านกีฬา และทัศนคติเกี่ยวกับการกีฬา
- นักเรียนขาดการควบคุมกวดขันทางระเบียบวินัย เช่น ไม่ได้รับการกวดขันในเรื่องการแต่งเครื่องแบบ เป็นต้น
- ครูมีคุณสมบัติไม่เพียงพอ โดยเฉพาะด้านการปกครองนักเรียน
- ครูไม่มีกำลังใจทำงานอย่างเต็มที่ เพราะต้องคอยคำนึงถึงการหารายได้พิเศษ
- สถานที่และสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนไม่เหมาะสม
- โรงเรียนขาดการติดต่อร่วมมือกับผู้ปกครองโรงเรียนทำการแนะแนวให้เหมาะสมกับสติปัญญาและฐานะของเด็กยังไม่ทั่วถึง เช่น คน ใดควรเรียนมหาวิทยาลัย คนใดควรเรียนอาชีวศึกษา เป็นต้น
- ทางโรงเรียนขาดการเอาใจใส่เป็นพิเศษกับนักเรียนที่พักตามหอพัก
3.เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ได้แก่
- บ้านพักหรือโรงเรียนมีตัวอย่างสิ่งที่ไม่ดีให้เห็นหรือให้ได้ยินเป็นประจำทุกวัน เช่น มีซ่องโสเภณีหรือไนท์คลับอยู่ใกล้ ๆ มีสถานการพนันอยู่ใกล้ ๆ เป็นต้น
- หนังสือหรือเอกสารที่ยั่วยุ และเสื่อมเสียต่อศีลธรรมมีจำหน่ายและหาซื้อได้ง่าย
- ได้ตัวอย่างที่ไม่ดีจากการฟังวิทยุ ดูโทรทัศน์และภาพยนตร์ ทำให้เด็กประพฤติตาม
- โสเภณี หรือผู้หญิงพาร์ตเนอร์หรือเพื่อนฝูงเป็นผู้ชักนำ
- ปัญหาทางเศรษฐกิจและการครองชีพ ทำให้จำเป็นต้องยึดเอาอาชีพที่ทุจริต เช่น ฉกชิงวิ่งราว ปล้นทรัพย์ ค้าของเถื่อน เป็นต้น
- ผู้ใหญ่ชอบเล่นการพนันโดยเปิดการเล่นที่บ้านเป็นประจำ หรือออกจากบ้านไปเล่นจน ลูกหลานรู้ ซึ่งเป็นเหตุจูงใจให้เด็กเป็นนักการพนันไปด้วย
4.เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมและสังคม ได้แก่
- การหลงเชื่อของขลังและลัทธิบางอย่าง
- การใช้ถ้อยคำภาษาและเพลงที่ยั่วยุ ไปในทางที่ไม่ดี
- การรับเอาวัฒนธรรมต่างชาติมาโดยมิได้คำนึงถึงความเหมาะสม
- การส่งเสริมเสรีภาพจนเกินควร คือ ให้เสรีภาพเกินฐานะบุคคลที่ไม่สมควรจะรับไว้
- การแพร่ข่าวที่เกินความจริง แม้กระทั่งเรื่องที่ไม่ควรเผยแพร่ ทำให้เด็กนึกว่าเป็นของโก้ในทางที่มีชื่อ มีภาพเป็นที่รู้จักของสังคม
- การเปลี่ยนแปลงและความฟุ้งเฟ้อของสังคมในเมืองหลวง
- ตัวอย่างไม่ดีงามต่าง ๆ
5.เกี่ยวกับปัญหาจากร่างกายและจิตใจของเด็ก ได้แก่
- เด็กมีความผิดปกติทางร่ายกายหรือมีโรคประจำตัว
- เด็กมีเชาวน์และความสามารถต่ำ
- เด็กมีอารมณ์และบุคลิกภาพที่แตกต่างจากคนอื่น
- เด็กมีความผิดปกติทางจิต
- มีการเปลี่ยนแปลงทางจิตของเด็กเนื่องจากผลของภัยธรรมชาติที่รุนแรงหรือภาวะสงคราม
6.เกี่ยวกับปัญหาทางเศรษฐกิจ ได้แก่
- พ่อแม่หรือผู้ปกครองยากจนมาก
- พ่อแม่หรือผู้ปกครองมั่งมีเงินทองมากมาย หรือมีฐานะปานกลางแต่ตามใจเด็กมากเกินไป หรือตระหนี่มากเกินไปเด็กหรือเยาวชนมีถิ่นที่อยู่อาศัยที่เปิดโอกาสให้ไปทดลองการเสพสิ่งเสพติดได้ง่าย เช่น อยู่ในละแวกที่มีโรงงานมาก ๆ หรือมีการหมุนเวียนเงินทองที่สะดวก ทำให้เด็กหาเงินใช้ได้ง่ายจึงใช้จ่ายอย่างสุรุ่ยสุร่าย หรือเด็กอยู่ตามแหล่งเสื่อมโทรมที่มีแหล่งอบายมุข หรือมีบรรยากาศของครอบครัวไม่ดีทำให้เด็กเกิดแนวความคิดผิด ๆ
» ยาเสพติด
» สิ่งเสพติดประเภทต่างๆ
- ฝิ่น (Opium)
- มอร์ฟีน (Morphine)
- เฮโรอีน (Heroin)
- สารระเหย (Inhalant)
- ยานอนหลับ (Sleeping potion)
- ยาอี ยาเลิฟ เอ็คซ์ตาซี (Ecstasy)
- กระท่อม (Kratom)
- โคเคน (Cocaine)
- ยาบ้า
- แอลเอสดี (LSD : Lysergic acid diethylamide)
- D.M.T.
- เห็ดขี้ควาย(Magic Mushroom)
- ยาเค
- กัญชา (Cannabis)
» โทษพิษภัยของยาเสพติด
» สาเหตุทั่วๆไปของการติดสิ่งเสพติด
» ลักษณะบุคคลที่ติดสิ่งเสพติด
» อาการผู้ติดสิ่งเสพติด
» การรักษาผู้ติดสิ่งเสพติด
» สถานพยาบาลผู้ติดสิ่งเสพติด
» การป้องกันและปราบปรามสิ่งเสพติด
» กฎหมายสิ่งเสพติดกับการลงโทษ