ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม อารยธรรม >>

เพลงพื้นบ้าน

นายบุญเสริม แก่นประกอบ ครู โรงเรียนบ้านชงโค

การแบ่งประเภทของเพลงพื้นบ้าน

เพลงพื้นบ้านภาคตะวันออก

เพลงพื้นบ้านภาคตะวันออก ที่ปรากฏพบที่บ้านเก่า ตำบลตาขัน อำเภอบ้านค่าย จังหวัดระยอง มีผู้เล่าว่า ตาเป๋ ได้อพยพมาจากจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เข้ามาอยู่ที่บ้านเก่าเป็นผู้นำการเล่นเพลงที่แปลกแตกต่างจากเพลงอีแซว เพลงฉ่อยเข้ามา ชาวบ้านจึงได้ให้ชื่อตามลักษณะของครูเพลงที่ขาพิการว่า เพลงไอ้เป๋

วิธีการแสดงคล้ายคลึงกับการเล่นเพลงฉ่อย เพลงอีแซว แบ่งผู้เล่นเป็นฝ่ายหญิงและฝ่ายชาย ร้องเกี้ยวพาราสีกัน ไม่มีดนตรีประกอบ เพียงแต่ปรบมือให้จังหวะ การแต่งกายคล้ายการเล่นลำตัด สถานที่แสดงอาจเป็นลานวัด กลางทุ่ง ตามสะดวก ปัจจุบันก็แสดงบนเวที

ตัวอย่างบทชมโฉม

ชาย พี่จะชมโฉม ละแม่นางคอต้น รูปร่างสวยล้นกระไร
ดูหน้าก็ออกโก้ คางกออกเม้า หว่างขาเหมือนเต่า หมอบตาย
ลูกคู่ เอ่ ชา เอ่ ชา ชา ฉ่า ชา นอย แม่
หญิง ก็หว่างขาเหมือนเต่าหมอบตาย
ก็ว่าของดีที่เข้าซ่อนเร้น ใครเคยได้เห็นของใคร
เธอมาหมอบเขม้นเห็นของในผ้า ว่ามันโตเท่าหน้าเอ็งได้ไหม
ลูกคู่ เอ่ ชา เอ่ ชา ชา ฉ่า ชา หน่อ ละน้อ ละนอ ละหน่อย น้อด นอ ละหน่อย
ชาย โอ โงง โง โอ่ โอง โง้ง เง้ย
ผมจะชมโฉมแม่คนที่สอง รูปร่างละออง เสียนี่กระไร
ว่าลูกใครหนอพ่อแม่ช่างทำ (ไม่ขัด)จ้ำม้ำ น่าเย่อกระไร
ลูกคู่ เอ่ ชา เอ่ ชา ชา ฉ่า ชา นอย แม่

- เพลงพื้นบ้านภาคเหนือ
- เพลงพื้นบ้านภาคใต้
- เพลงพื้นบ้านภาคตะวันออก
- เพลงพื้นบ้านภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
- เพลงพื้นบ้านภาคกลาง


แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย