ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม อารยธรรม >>
เพลงพื้นบ้าน
นายบุญเสริม แก่นประกอบ ครู โรงเรียนบ้านชงโค
เพลงพื้นบ้านประเภทเพลงผู้ใหญ่
เพลงผู้ใหญ่ประเภทเพลงปฏิพากย์
เพลงปฏิพากย์ คือเพลงพื้นบ้านที่ร้องเล่นกันในโอกาสและเทศกาลต่างๆ ลักษณะเฉพาะของเพลงปฏิพากย์ คือเป็นเพลงที่ร้องโต้ตอบกัน 2 ข้าง ระหว่างฝ่ายชายและฝ่ายหญิงและต้องเป็นเพลงปฏิภาณ คือร้องแก้โต้ตอบกันอย่างฉับพลันด้วย เพราะเป็นการร้องสดบนเวทีกลางลานบ้านต่อหน้าผู้คนเป็นจำนวนมาก ร้องเล่นกันได้เป็นเวลานาน
เพลงปฏิพากย์มีในทุกภาคของประเทศไทย มีทั้งการร้องโต้ตอบกันสั้นๆ และร้องโต้ตอบกันยาว ๆ จนถึงเป็นเรื่องเป็นราวก็มีตัวอย่างเพลงปฏิพากย์ในภาคเหนือ เช่น การเล่นซอพื้นเมืองมีลักษณะเป็นเพลงปฏิพากย์ตรงที่มีการใช้วาจาโต้ตอบกัน ภาคอีสานมีการร้องเพลงโคราชหมอลำกลอน ซึ่งมีผู้ร้องชายหญิง 2 ข้าง ร้องโต้ตอบกัน ภาคใต้มีเพลงนกที่เข้าลักษณะเพลงปฏิพากย์ ส่วนภาคกลางมีเพลงพื้นบ้านที่เข้าลักษณะเพลงปฏิพากย์มากที่สุด แม้กระทั่งเพลงในลานนวดข้าวก็ยังเข้าลักษณะเพลงปฏิพากย์อย่างสั้น ตัวอย่างเพลงปฏิพากย์ในภาคกลางที่ร้องเล่นอย่างยาว เล่นกันเป็นวงและได้รับความนิยมมากในอดีต เช่น เพลงโอก เพลงเรือ เพลงหน้าใย เพลงเกี่ยวข้าว เพลงเต้นกำรำเคียว เพลงระบำบ้านนา เพลงพวงมาลัย เพลงเหย่ย เพลงอีแซว เพลงระบำบ้านไร่ เพลงปรบไก่ เพลงเทพทอง เพลงลำตัด เพลงแอ่วเคล้าซอ เพลงฉ่อย เพลงโอก เพลงพิษฐาน เพลงช้าเจ้าโลม เพลงพวงมาลัย เพลงฮินเลเล เพลงพาดควาย
- เพลงโอก
- เพลงเรือ
- เพลงพิษฐาน
- เพลงพวงมาลัย
- เพลงระบำบ้านไร่
- เพลงเหย่ย
- เพลงฮินเลเล
- เพลงฉ่อย
- เพลงอีแซว
- เพลงระบำบ้านนา
- ลำตัด
- เพลงปรบไก่
- เพลงเทพทอง
- เพลงพาดควาย
- เพลงยั่ว
- ลำดับขั้นตอนการเล่นเพลงปฏิพากย์
- เพลงแข่งขัน
- เพลงเกี่ยวกับการประกอบอาชีพ
- เพลงปฎิพากย์
- เพลงประกอบการเล่นพื้นบ้าน
- เพลงประกอบพิธี
- เพลงกล่อมเด็ก