ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม >>
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพระไตรปิฎก
๗. การนับครั้งในการทำสังคายนา
การนับครั้งในการทำสังคายนามีปัญหาที่ยังไม่ลงตัว จึงทำให้การนับจำนวนครั้งไม่ตรงกันเนื่องจากมีบางประเทศไม่ให้การยอมรับการทำสังคายนาบางครั้ง เช่น ประเทศพม่า ยอมรับว่าตั้งแต่เริ่มแรกมีการทังคายนามารวม ๖ ครั้ง โดยเฉพาะครั้งที่ ๖ พม่าจัดทำเป็นการใหญ่ ในโอกาสใกล้เคียงกับงานฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษ แล้วฉลองพร้อมกันทีเดียว ทั้งการทำสังคายนาครั้งที่ ๖ และงานฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษ แต่ตามหลักฐานของพระเถระฝ่ายไทยผู้รจนาหนังสือเรื่องสังคีติยวงศ์ หรือประวัติศาสตร์การสังคายนา กล่าวว่า สังคายนามี ๙ ครั้ง รวมทั้งครั้งที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงกระทำในรัชสมัยของพระองค์ คือการสอบทานแก้ไขพระไตรปิฎก แล้วจารลงในใบลานเป็นหลักฐาน
โดยเหตุที่ความรู้เรื่องการสังคายนาเป็นเรื่องที่สำคัญ
เพราะเป็นที่มาแห่งพระไตรปิฎก ดังนั้น จะได้รบรวมมติของประเทศต่าง ๆ
เกี่ยวกับการทำสังคายนา และปัญหาเรื่องการนับครั้งมารวมเป็นหลักฐานไว้ในที่นี้
รวมเป็น ๕ หัวข้อ คือ
๑. การนับครั้งสังคายนาที่รู้กันทั่วไป
๒. การนับครั้งสังคายนาของลังกา
๓. การนับครั้งสังคายนาของพม่า
๔. การนับครั้งสังคายนาของไทย
๕. การนับครั้งสังคายนาของฝ่ายมหายาน
ในการจัดทำเอกสารประกอบการสอนเนื้อหาการนับครั้งสังคายนานี้ ผู้เขียนได้ศึกษาจากเอกสารชื่อพระไตรปิฎกฉบับสำหรับประชาชน ของอาจารย์สุชีพ ปุญญานุภาพ ซึ่งท่านได้อ้างอิงหลักฐานจากวินัยปิฎก เล่มที่ ๗ พร้อมทั้งอรรถกถาจากหนังสือมหาวงศ์ สังคีติยวงศ์ และบทความของท่าน B. Jinananda ในหนังสือ 2500 Years of Buddhism ซึ่งพิมพ์ในโอกาสฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษในอินเดียและหนังสืออื่น ๆ
๑. การนับครั้งสังคายนาที่รู้กันทั่วไป
๒. การนับครั้งสังคายนาของลังกา
๓. การนับครั้งสังคายนาของพม่า
๔. การนับครั้งสังคายนาของไทย
๕. การสังคายนาของฝ่ายมหายาน
๖. การสังคายนาของนิกายสัพพัตถิกวาท
๗. การสังคายนานอกประวัติศาสตร์
๑. ความหมายของพระไตรปิฎก
๒. ประเภทของพระไตรปิฎก
๓. ความเป็นมาของพระไตรปิฎก
๔. พระเถระที่เกี่ยวข้องกับพระไตรปิฎก
๕. การสังคายนาเป็นเหตุให้เกิดพระไตรปิฎก
๖. การสวดปาติโมกข์ต่างจากการสังคายนา
๗. การนับครั้งในการทำสังคายนา
๘. ลำดับอาจารย์ผู้ทรงจำพระไตรปิฎก
๙. คำอธิบายพระไตรปิฎกอย่างย่อของพระอรรถกถาจารย์
๑๐. ประวัติพระอรรถกถาจารย์
๑๑. การชำระและจารึกกับการพิมพ์พระไตรปิฎกในประเทศไทย
๑๒. พระมหากษัตริย์ไทยกับพระไตรปิฎก
» ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพระไตรปิฎก
» ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพระวินัยปิฎก
» ความหมาย การเรียกชื่อย่อ การจัดหมวดหมู่
» ประเภทและลำดับชั้นคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา
บรรณานุกรม
- กลุ่มวิชาการพระพุทธศาสนาและจริยศึกษา กองศาสนศึกษา กรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ.
- อธิบายวินัย สำหรับนักธรรมชั้นตรี. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์การศาสนา, ๒๕๔๑.
- กองวิชาการ สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. เก็บเพชรจากคัมภีร์พระไตรปิฎก. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๔๕.
- พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). รู้จักพระไตรปิฎกเพื่อเป็นชาวพุทธที่แท้. กรุงเทพฯ : บริษัทสหธรรมิก จำกัด, ๒๕๔๓.
- พระเมธีธรรมาภรณ์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). การปกครองคณะสงฆ์ไทย. กรุงเทพฯ : บริษัทสหธรรมิกจำกัด, ๒๕๓๙.
- พระราชธรรมนิเทศ (ระแบบ ฐิตญาโณ). พระวินัยปิฎกย่อ เล่ม ๑. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย, ๒๕๔๐.
- _______________. พระวินัยปิฎกย่อ เล่ม ๒. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย, ๒๕๔๐.
- พระอมรมุนี (จับ ฐิตธมฺโม ป. ๙). นำเที่ยวในพระไตรปิฎก. กรุงเทพฯ : สภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย, ๒๕๓๕.
- สุชีพ ปุญญานุภาพ. พระไตรปิฎก ฉบับสำหรับประชาชน. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย, ๒๕๓๙.
- เสถียรพงษ์ วรรณปก. คำบรรยายพระไตรปิฎก. กรุงเทพฯ : ธรรมสภา, ๒๕๔๓.
- สมเด็จพระวันรัต (ทับ พุทฺธสิริ เปรียญ ๙). พระวินัยแปล. กรุงเทพฯ : หจก. โรงพิมพ์ชวนพิมพ์,๒๕๓๙.
- อุทัย บุญเย็น. พระไตรปิฎกสำหรับผู้เริ่มศึกษา. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์โพธิ์เนตร, ๒๕๔๘.
- Sayagyi U ko Lay. Guide to Tipitaka. Selangor Buddhist Vipassana Meditation Society : Selangor Malaysia, ๒๐๐๐.