ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม >>
ความหมาย การเรียกชื่อย่อ การจัดหมวดหมู่
๑. ความหมายของพระวินัยปิฎก
คัมภีร์สมันตปาสาทิกา (สามนต์) ได้ให้ความหมายของคำว่า วินัยปิฎก ไว้ดังนี้
คำว่า วินัย มาจากคำว่า วิ + นัย มีความหมาย ๓ อย่าง ได้แก่
๑. วินัย หมายถึง นัยต่าง ๆ (วิวิธ + นัย) เพราะมีปาติโมกข์ ๒ คือ
ภิกขุปาติโมกข์และภิกขุนีปาติโมกข์ และเพราะมีวิภังค์ ๒ คือ
ภิกขุวิภังค์และภิกขุนีวิภังค์
๒. วินัย หมายถึง นัยพิเศษ (วิเสส + นัย) เพราะมีอนุบัญญัติเพิ่มเติม
เพื่อทำให้สิกขาบทรัดกุมยิ่งขึ้น หรือผ่อนผันให้เพลาความเข้มงวดลง
๓. วินัย หมายถึง กฎสำหรับฝึกอบรมกายวาจา (วินยโต เจว กายวาจานํ)
เพราะเป็นเครื่องป้องกันความประพฤติที่ไม่เหมาะสมทางกายและทางวาจา
คำว่า ปิฎก มีความหมาย ๒ อย่าง ได้แก่
๑. ปิฎก หมายถึง ปริยัติ เช่น ในข้อความว่า มา ปิฏกสมฺปทาเนน แปลว่า
อย่างปลงใจเชื่อด้วยการอ้างปริยัติ
๒. ปิฎก หมายถึง ภาชนะ เช่น ในข้อความว่า อถ ปุริโส อาคจฺเฉยฺย กุทฺทาลปิฏกมาทาย
แปลว่า บุรุษถือจอบและกระบุงเดินมา
เมื่อรวมคำว่า วินัย เข้ากับคำว่า ปิฏก เข้าด้วยกันเป็น วินัยปิฎก จึงหมายถึงคัมภีร์ที่ประมวลกฎสำหรับฝึกอบรมกายและวาจา หรือภาชนะที่รวบรวมกฎสำหรับฝึกอบรมกายและวาจา
๑. ความหมายของพระวินัยปิฎก
๒. การเรียกชื่อย่อคัมภีร์พระวินัยปิฎก
๓. การจัดหมวดหมู่พระวินัยปิฎก
๔. โครงสร้างและเนื้อหาของพระวินัยปิฎก
» ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพระไตรปิฎก
» ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพระวินัยปิฎก
» ความหมาย การเรียกชื่อย่อ การจัดหมวดหมู่
» ประเภทและลำดับชั้นคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา
บรรณานุกรม
- กลุ่มวิชาการพระพุทธศาสนาและจริยศึกษา กองศาสนศึกษา กรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ.
- อธิบายวินัย สำหรับนักธรรมชั้นตรี. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์การศาสนา, ๒๕๔๑.
- กองวิชาการ สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. เก็บเพชรจากคัมภีร์พระไตรปิฎก. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๔๕.
- พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). รู้จักพระไตรปิฎกเพื่อเป็นชาวพุทธที่แท้. กรุงเทพฯ : บริษัทสหธรรมิก จำกัด, ๒๕๔๓.
- พระเมธีธรรมาภรณ์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). การปกครองคณะสงฆ์ไทย. กรุงเทพฯ : บริษัทสหธรรมิกจำกัด, ๒๕๓๙.
- พระราชธรรมนิเทศ (ระแบบ ฐิตญาโณ). พระวินัยปิฎกย่อ เล่ม ๑. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย, ๒๕๔๐.
- _______________. พระวินัยปิฎกย่อ เล่ม ๒. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย, ๒๕๔๐.
- พระอมรมุนี (จับ ฐิตธมฺโม ป. ๙). นำเที่ยวในพระไตรปิฎก. กรุงเทพฯ : สภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย, ๒๕๓๕.
- สุชีพ ปุญญานุภาพ. พระไตรปิฎก ฉบับสำหรับประชาชน. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย, ๒๕๓๙.
- เสถียรพงษ์ วรรณปก. คำบรรยายพระไตรปิฎก. กรุงเทพฯ : ธรรมสภา, ๒๕๔๓.
- สมเด็จพระวันรัต (ทับ พุทฺธสิริ เปรียญ ๙). พระวินัยแปล. กรุงเทพฯ : หจก. โรงพิมพ์ชวนพิมพ์,๒๕๓๙.
- อุทัย บุญเย็น. พระไตรปิฎกสำหรับผู้เริ่มศึกษา. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์โพธิ์เนตร, ๒๕๔๘.
- Sayagyi U ko Lay. Guide to Tipitaka. Selangor Buddhist Vipassana Meditation Society : Selangor Malaysia, ๒๐๐๐.