ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม >>

ความหมาย การเรียกชื่อย่อ การจัดหมวดหมู่

๒. การเรียกชื่อย่อคัมภีร์พระวินัยปิฎก

คัมภีร์ชื่อ วชิรสารัตถสังคหะ ที่พระรัตนปัญญาเถระรจนาที่ชียงใหม่เมื่อ พ.ศ. ๒๐๗๘ แบ่ง

พระวินัยปิฎกออกเป็น ๒ แบบ ดังนี้

แบบที่ ๑ ปรากฏในคัมภีร์วชิรสารัตถสังคหะข้อ ๒๒ ว่า “ อาปามจุปอาทิกา ” แปลว่า พระวินัยมีคำว่า อาปามจุป เป็นต้น ท่านแบ่งพระวินัยปิฎกออกเป็น ๕ คัมภีร์ มีคำย่อหรือหัวใจว่า

อา ปา ม จุ ป โดยมีคำเต็มดังนี้

๑. อา คือ อาทิกัมมิกะ ว่าด้วยสิกขาบทที่เกี่ยวกับอาบัติหนัก คือตั้งแต่ปาราชิกถึงอนิยต
๒. ปา คือ ปาจิตตีย์ ว่าด้วยสิกขาบทที่เกี่ยวกับอาบัติเบาตั้งแต่นิสสัคคิยปาจิตตีย์ถึงเสขิยะ รวมตลอดถึงภิกขุนีวิภังค์ทั้งหมด
๓. ม คือ มหาวรรค ว่าด้วยสิกขาบทที่มานอกพระปาฏิโมกข์ตอนต้น มี ๑๐ ขันธกะ
๔. จุ คือ จุลวรรค ว่าด้วยสิกขาบทที่มานอกพระปาฏิโมกข์ตอนหลัง มี ๑๒ ขันธกะ
๕. ป คือ ปริวาร ว่าด้วยคู่มือถามตอบเรื่องพระวินัย

แบบที่ ๒ ปรากฏในคัมภีร์วชิรสารัตถสังคหะข้อ ๓๙๘ ว่า “ ปาปามจุปิติ ปญฺจวิธํ วินยปิฏกํ ” แปลว่า พระวินัยปิฎกมี ๕ คัมภีร์ คือ ปา ปา ม จุ ป ท่านแบ่งพระวินัยปิฎกออกเป็น ๕ คัมภีร์ มีคำย่อหรือหัวใจว่า ปา ปา ม จุ ป โดยมีคำเต็มดังนี้
๑. ปา คือ ปาราชิก
๒. ปา คือ ปาจิตตีย์
๓. ม คือ มหาวรรค
๔. จุ คือ จุลวรรค
๕. ป คือ ปริวาร

ยังมีชื่อย่อที่สำคัญที่คัมภีร์วชิรสารัตถสังคหะมิได้กล่าวถึง แต่นักวิชาการศาสนานิยมใช้เรียกชื่อย่อตามชื่อคัมภีร์หลักทั้ง ๕ คัมภีร์ คือ ม ภิ ม จุ ป ซึ่งมีคำเต็มดังนี้

๑. ม คือ มหาวิภังค์ ว่าด้วยสิกขาบทของพระภิกษุ มีจำนวน ๒๒๗ สิกขาบท เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สิกขาบทในพระปาติโมกข์ (ภิกขุปาติโมกข์)
๒. ภิ คือ ภิกขุนีวิภังค์ ว่าด้วยสิกขาบทของภิกษุณี หรือภิกขุนีปาติโมกข์ มีจำนวน ๓๑๑ สิกขาบท
๓. ม คือ มหาวรรค
๔. จุ คือ จุลวรรค
๕. ป คือ ปริวาร

ส่วนพระไตรปิฎกที่สมาคมบาลีปกรณ์พิมพ์ขึ้นในประเทศอังกฤษ แบ่งวินัยปิฎกออกเป็น ๓ หมวด คือ

๑. สุตตวิภังค์ คือ การรวมมหาวิภังค์และภิกขุนีวิภังค์เข้าด้วยกัน
๒. ขันธกะ คือ การรวมมหาวรรคและจุลวรรคเข้าด้วยกัน
๓. ปริวาร คือ คัมภีร์ถาม-ตอบ ซึ่งตรงกับคัมภีร์ที่ ๕ ข้างต้นดังกล่าวแล้ว

๑. ความหมายของพระวินัยปิฎก
๒. การเรียกชื่อย่อคัมภีร์พระวินัยปิฎก
๓. การจัดหมวดหมู่พระวินัยปิฎก
๔. โครงสร้างและเนื้อหาของพระวินัยปิฎก

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย

» ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพระไตรปิฎก
» ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพระวินัยปิฎก
» ความหมาย การเรียกชื่อย่อ การจัดหมวดหมู่
» ประเภทและลำดับชั้นคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา

บรรณานุกรม

  • กลุ่มวิชาการพระพุทธศาสนาและจริยศึกษา กองศาสนศึกษา กรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ.
  • อธิบายวินัย สำหรับนักธรรมชั้นตรี. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์การศาสนา, ๒๕๔๑.
  • กองวิชาการ สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. เก็บเพชรจากคัมภีร์พระไตรปิฎก. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๔๕.
  • พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). รู้จักพระไตรปิฎกเพื่อเป็นชาวพุทธที่แท้. กรุงเทพฯ : บริษัทสหธรรมิก จำกัด, ๒๕๔๓.
  • พระเมธีธรรมาภรณ์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). การปกครองคณะสงฆ์ไทย. กรุงเทพฯ : บริษัทสหธรรมิกจำกัด, ๒๕๓๙.
  • พระราชธรรมนิเทศ (ระแบบ ฐิตญาโณ). พระวินัยปิฎกย่อ เล่ม ๑. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย, ๒๕๔๐.
  • _______________. พระวินัยปิฎกย่อ เล่ม ๒. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย, ๒๕๔๐.
  • พระอมรมุนี (จับ ฐิตธมฺโม ป. ๙). นำเที่ยวในพระไตรปิฎก. กรุงเทพฯ : สภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย, ๒๕๓๕.
  • สุชีพ ปุญญานุภาพ. พระไตรปิฎก ฉบับสำหรับประชาชน. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย, ๒๕๓๙.
  • เสถียรพงษ์ วรรณปก. คำบรรยายพระไตรปิฎก. กรุงเทพฯ : ธรรมสภา, ๒๕๔๓.
  • สมเด็จพระวันรัต (ทับ พุทฺธสิริ เปรียญ ๙). พระวินัยแปล. กรุงเทพฯ : หจก. โรงพิมพ์ชวนพิมพ์,๒๕๓๙.
  • อุทัย บุญเย็น. พระไตรปิฎกสำหรับผู้เริ่มศึกษา. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์โพธิ์เนตร, ๒๕๔๘.
  • Sayagyi U ko Lay. Guide to Tipitaka. Selangor Buddhist Vipassana Meditation Society : Selangor Malaysia, ๒๐๐๐.