ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม >>
ประเภทและลำดับชั้นคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา
๗. คัมภีร์คัณฐิ
คัมภีร์คัณฐิ ได้แก่ คัมภีร์ที่ชี้เงื่อน หรือชี้ปมสำคัญ มีรายชื่อคัมภีร์ ดังนี้
๑. จูฬคัณฐิปทะ พระโชติปาละ แต่งที่ลังกา
๒. มัชฌิมคัณฐิปทะ พระโชติปาละ แต่งที่ลังกา
๓. มหาคัณฐิปทะ พระโชติปาละ แต่งที่ลังกา คัณฐิ ๓ คัมภีร์นี้
ไม่เคยออกจากประเทศลังกาเลย
๔. สุตตสีลขันธปาลิคัณฐิ พระสารทัสสี หรืปุพพารามสยาดอ แต่ง
๕. สุตตสีลขันธวรรคกถาคัณฐิ อำมาตย์ผู้หนึ่งแต่งที่เมืองอมรปุระ
๖. สุตตมหาวรรคกถาคัณฐิ ซุงทา สยาดอ แต่ง
๗. สุตตปาเถยยอรรถกถาคัณฐิ ซุงทา สยาดอ แต่ง
๘. ปัญจวินยอรรถกถาคัณฐิ ปฐมสินแต สยาดอ แต่ง
๙. กังวิตรณีอรรถกถาคัณฐิ พระสัทธัมมทีปนี แต่งที่ประเทศพม่า
๑๐. อัฏฐสาลินีอรรถกถาคัณฐิ ปฐมจอ อองซาย สยาดอ แต่งที่เมืองหงสาวดี
๑๑. สัมโมหวิโนทนีอรรถกถาคัณฐิ พระคุณาจาระ หรือชเวดอง สยาดอ แต่ง
๑๒.มาติกาคัณฐิ พระสังฆราชญาณะ แต่งที่เมืองอมรปุระ
๑๓.ธาตุกถาคัณฐิ พระสังฆราชญาณะ แต่ง
๑๔. ยมกคัณฐิ พระสังฆราชญาณะ แต่ง
๑๕. อภิธัมมัตถสังคหคัณฐิ ๓ คัมภีร์ คือคัมภีร์ที่ ๑ เรียกว่า สังคหคัณฐิ พญาจี
พระชาคระ แต่งที่เมืองมัณฑเล พระชาคระนั้นภาษาพม่าเรียกว่า พญาจีสดายอ
คัมภีร์ที่ ๑ นี้ ดีที่สุด
คัมภีร์ที่ ๒ เรียกว่า สังคหคัณฐิ เยสะโจ พระวรสัมโพธิ แต่งที่เมืองมัณฑเล
พระวรสัมโพธินั้น ภาษาพม่าเรียกว่า เยสะโจสดายอ
คัมภีร์ที่ ๓ เรียกว่า สังคหคัณฐิ จอออง สันถา พระชินจักกาภิวังสะ แต่งที่เมือง
มัณฑเล พระชินจักกาภิวังสะ ภาษาพม่าเรียกว่า จอออง สันถาสยาดอ
อภิธัมมัตถสังคหคัณฐิ ๓ คัมภีร์ เรียกว่า อภิธัมมัตถสังคหคัณฐิคัมภีร์เก่า และ
อภิธัมมัตถสังคหคัณฐิคัมภีร์ใหม่ก็ได้
๑๖. ปาราชิกกัณฑคัณฐิ พระสังราชญาณะ แต่ง
๑๗. วินยสารคัณฐิ พระมุนินทสาระ หรือปฐมญองกันสยาดอ แต่งที่เมืองอมรปุระ
๑๘. ปฏิสัมภิทามัคคอรรถกถาคัณฐิ พระเถระลังกา แต่งที่เมืองอนุราธปุระ
๑๙. อภิธรรมคัณฐิ พระมหากัสสปะ แต่งที่เมืองอรนุราธปุระ
๒๐. วิสุทธิมัคคัณฐิ พระชาคระ หรือชเว จินสยาดอ และพระสัทธัมมโชติปาละ แต่ง
๒๑. สมาสคัณฐิ พระชาคระหรือชเว จินสยาดอ แต่ง (ชเว แปลว่า ทองคำ จิน แปลว่าเว้นรับ)
๒๒. พาลาวตารคัณฐิ พระจักกปาละ แต่งที่เมืองมะละแหม่ง
๒๓. สัททัตถเภทจินดาคัณฐิปทะ พระวิสุทธาจาระ และพระจันทิมา แต่ง
๒๔. สัททัตถคัณฐิ พระวิจาระ หรือมินจอง แต่ง (มินจอง แปลว่า วัดหลวง )
๒๕. อภิธัมมัตถสังคหคัณฐิ พระวิจาระ แต่ง
๒๖. ทุฎฐักขรคัณฐิ พระญาณวระ แต่ง
๑. คัมภีร์พระไตรปิฎก
๒. คัมภีร์อรรถกถา
๓. คัมภีร์ฎีกา
๔. คัมภีร์อนุฎีกา
๕. คัมภีร์มธุ
๖. คัมภีร์กนิฏฐคันถะ
๗. คัมภีร์คัณฐิ
๘. คัมภีร์คันถันตระ
๙. คัมภีร์โยชนา
» ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพระไตรปิฎก
» ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพระวินัยปิฎก
» ความหมาย การเรียกชื่อย่อ การจัดหมวดหมู่
» ประเภทและลำดับชั้นคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา
บรรณานุกรม
- กลุ่มวิชาการพระพุทธศาสนาและจริยศึกษา กองศาสนศึกษา กรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ.
- อธิบายวินัย สำหรับนักธรรมชั้นตรี. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์การศาสนา, ๒๕๔๑.
- กองวิชาการ สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. เก็บเพชรจากคัมภีร์พระไตรปิฎก. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๔๕.
- พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). รู้จักพระไตรปิฎกเพื่อเป็นชาวพุทธที่แท้. กรุงเทพฯ : บริษัทสหธรรมิก จำกัด, ๒๕๔๓.
- พระเมธีธรรมาภรณ์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). การปกครองคณะสงฆ์ไทย. กรุงเทพฯ : บริษัทสหธรรมิกจำกัด, ๒๕๓๙.
- พระราชธรรมนิเทศ (ระแบบ ฐิตญาโณ). พระวินัยปิฎกย่อ เล่ม ๑. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย, ๒๕๔๐.
- _______________. พระวินัยปิฎกย่อ เล่ม ๒. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย, ๒๕๔๐.
- พระอมรมุนี (จับ ฐิตธมฺโม ป. ๙). นำเที่ยวในพระไตรปิฎก. กรุงเทพฯ : สภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย, ๒๕๓๕.
- สุชีพ ปุญญานุภาพ. พระไตรปิฎก ฉบับสำหรับประชาชน. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย, ๒๕๓๙.
- เสถียรพงษ์ วรรณปก. คำบรรยายพระไตรปิฎก. กรุงเทพฯ : ธรรมสภา, ๒๕๔๓.
- สมเด็จพระวันรัต (ทับ พุทฺธสิริ เปรียญ ๙). พระวินัยแปล. กรุงเทพฯ : หจก. โรงพิมพ์ชวนพิมพ์,๒๕๓๙.
- อุทัย บุญเย็น. พระไตรปิฎกสำหรับผู้เริ่มศึกษา. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์โพธิ์เนตร, ๒๕๔๘.
- Sayagyi U ko Lay. Guide to Tipitaka. Selangor Buddhist Vipassana Meditation Society : Selangor Malaysia, ๒๐๐๐.