วรรณกรรม สุภาษิต ข้อคิด คำคม สำนวน โวหาร งานเขียน >>

กวีนิพนธ์

(ร่าย กาพย์ กลอน โคลง ฉันท์)

โวหาร

ถ้อยคำที่ใช้ในการประพันธ์นั้น จัดตามลักษณะการใช้เพื่อให้เกิดอารมณ์แก่ผู้อ่านและผู้ฟัง ท่านเรียกว่า โวหาร แยกตามลักษณะที่ใช้เป็น ๑๐ คือ

  1. บรรยายโวหาร ได้แก่ การบรรยายความอย่างละเอียดลออ เช่น การเล่าประวัติหรือตำนาน หรือเล่าเรื่องที่พบเห็น
  2. พรรณนาโวหาร ได้แก่ การแยกยกประเด็นใดประเด็นหนึ่ง เพื่อสอดแทรก หรือเพื่อให้เห็นส่วนที่เด่นชัดเจน เช่น การกล่าวสดุดี การชมความงามความดี
  3. เทศนาโวหาร ได้แก่ การบรรยายในหลักธรรม หรือการให้โอวาท หรือการบรรยาย แบบขยายความ
  4. สาธกโวหาร ได้แก่ การบรรยายแบบมีตัวอย่างเปรียบเทียบเพื่อให้ความชัดเจน
  5. อุปลักษณโวหาร ได้แก่ การพรรณนาที่ยกสิ่งนี้เทียบกับสิ่งนั้น
  6. อุปมาโวหาร ได้แก่ การพรรณนาเปรียบเทียบสิ่งที่เหมือนกันให้เห็นชัดเจน เรียกว่าอุปมาอุปไมย
  7. บุคคลวัต ได้แก่ การพรรณนาแบบยกบุคคลเปรียบเทียบกับสิ่งที่มีชีวิต เรียกว่า บุคคลาธิษฐาน
  8. อธิพจน์ ได้แก่ การพรรณนาเกินความจริง เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อติพจน์
  9. ปฏิพากย์ ได้แก่ การพรรณนาที่ใช้ถ้อยคำสำนวนที่มีความตรงกันข้าม หรือขัดกัน เพื่อให้มองอีกมุม
  10. สัญลักษณ์ ได้แก่ การพรรณนาที่ใช้ศัพท์หรือคำหนึ่งแทนอีกศัพท์หรือคำหนึ่ง

โวหาร
ประเภทกวีนิพนธ์
ฉันทลักษณ์
สระ
พยัญชนะ
เครื่องประกอบอื่น
การอ่านคำประพันธ์
ร่าย
กาพย์
กลอน
โคลง
ฉันท์

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย