วรรณกรรม สุภาษิต ข้อคิด คำคม สำนวน โวหาร งานเขียน >>
(ร่าย กาพย์ กลอน โคลง ฉันท์)
เครื่องประกอบอื่น
นอกจากจะเข้าใจเรื่องสระและพยัญชนะดีแล้ว ควรได้รู้เครื่องประกอบอื่น อันจะเป็นประโยชน์ต่อการประพันธ์ ขอนำมากล่าวแบบเกร็ดความรู้ ดังนี้
๑. วรรณยุกต์
วรรณยุกต์นั้น เป็นเครื่องหมายสำหรับบังคับเสียงภาษาไทยให้ครบทั้ง ๕ เสียง เพราะเสียงภาษาไทยมีถึง ๕ เสียงคือ เสียงสามัญ เสียงเอก เสียงโท เสียงตรี และเสียงจัตวา ลำพังพยัญชนะและสระหรือมาตรา ผสมกันแล้ว จะมีได้เพียง ๓ เสียงคือ เสียงสามัญ เสียงเอก และเสียงจัตวา เสียงโทและเสียงตรี หายไป เรียกสั้น ๆ ว่า ไม้เอก ไม้โท ไม้ตรี ไม้จัตวา อักษรกลางลงได้ทั้ง ๔ ไม้ เช่น กา ก่า ก้า ก๊า ก๋า เฉพาะไม้จัตวา (+) เรียกว่า กากบาท บ้าง ไม้ตีนกา ใช้บังคับเสียงให้เป็นเสียงจัตวาบ้าง แต่ในที่อื่นใช้เป็นเครื่องหมายผิด + คู่กับเครื่องหมายถูกบ้าง ให้เป็นเครื่องหมายว่าใช้ได้คือใช้ในการเลือกตั้งบ้าง
๒. ทัณฑฆาด
เป็นเครื่องฆ่าอักษรมิให้อ่าน อยู่บนอักษรตัวใด ตัวนั้นจะไม่ต้องอ่าน ลงในกลางพยางค์หรือคำสุดท้ายก็ได้ เช่น สาส์น ธรรม์ ฐาน์ คำที่จะลงนั้นต้องเป็นสระเสียงสั้น ถ้าเป็นสระเสียงยาว ต้องรัสสะให้เป็นสระเสียงสั้นก่อน เช่น กตัญญู ต้องรัสสะ อู เป็น อุ เป็น กตัญญุ์ ทัณฑฆาตกับการันต์ โดยรูปศัพท์และความกว้างแคบกว่ากัน
๓. วิสรรชนีย์
เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า นมนางทั้งคู่ ได้แก่สระอะที่มีรูปเป็น ะ สำหรับลงต่อท้ายพญัชนะ เรียกว่าลงประวิสรรชนีย์ เช่น กะจะ ปะทะ เพราะสระอะ ในภาษาไทยมีทั้งรูป ะ ทั้งลดรูป เช่น กรณียะ ภารกิจ ธุรการ จึงควรศึกษาคำนี้และให้เข้าใจชัดแจ้ง
๔. ยมก (ไม้ยมก)
รูปแบบ ๆ เป็นเครื่องหมายบอกข้อความที่ต้องอ่านช้ำ เช่น ดี ๆ, เรื่องนั้น ๆ ในภาษาธรรมดาใช้ได้ ในภาษากวีห้ามใช้ ต้องเขียนให้เต็ม เช่น ดีดี, เรื่องนั้นนั้น
๕. ยัติภังค์
เครื่องหมาย ทั่วไปใช้สำหรับแยกคำพูดจากปลายบรรทัดหนึ่งไปอีกต้นบรรทัดหนึ่ง
แต่ในคำประพันธ์ ให้แยกได้ ถ้าเป็นร่ายจากวรรคหนึ่งไปอีกวรรคหนึ่งซึ่งต่อกัน กาพย์
กลอน โคลง และฉันท์ แยกได้ในบทเดียวกัน จากวรรคหนึ่งไปอีกวรรคหนึ่ง ห้ามแยกไปต่างบท
๖. ไปยาล
มีเครื่องหมายดังนี้ ฯ สำหรับไปยาลน้อย ใช้นำคำที่ต่อคำนั้น ซึ่งเป็นคำที่รู้กันโดยทั่วไป เช่น กรุงเทพฯ ใครก็ต้องรู้คำเต็มว่า กรุงเทพมหานคร, ฯลฯ หรือ ฯเปฯ สำหรับไปยาลใหญ่ นำข้อความที่ยืดยาว ซึ่งเคยมีมาก่อนแล้ว ไปยาลทั้ง ๒ ชนิด ห้ามใช้ในบทประพันธ์ทุกประเภท
๗. ไม้ไต่คู้
หรือไม้ตายคู้เครื่องหมายคือ อยู่บนอักษรที่มีเสียงยาว บังคับให้มีเสียงสั้น มีเสียงพอกับไม้โท เช่น แขง เป็น แข็ง, เหมง เป็น เหม็ง มีใช้มากโดยทั่วไป ต้องเข้าใจให้ชัดแจ้ง
๘. โคมูตร
เครื่องหมาย ๛ ใช้สำหรับขั้นประโยคเมื่อจบลง
๙. ฟองมัน
หรือตาไก่เครื่องหมาย ๐ สำหรับขึ้นประโยคใหม่ หรือขึ้นต้นคำประพันธ์
๑๐. มหัพภาค
เครื่องหมายภาคใหญ่ รูปเครื่องหมาย . เป็นคู่กับ จุลภาค (จุดลูกน้ำ) เป็นเครื่องหมายวรรคตอนของข้อความ รูปเครื่องหมาย ,
๑๑. ฤ
ซึ่งเป็นสระในสายสันสกฤต ใช้เป็นสระ อิ อึ เอิ ได้ เช่น สัมฤทธิ์, ดาวฤกษ์, ชัยพฤกษ์, ดวงฤกษ์
๑๒. ฤ ฤา
สระในสายสันสฤต ใช้เป็นคำถามในบทประพันธ์ได้
๑๓. ไม้หันอากาศ
หรือไม้ผัด หรือหางกังหัน รูปแบบ ใช้วางบนอักษรแทน ะ ได้ เช่น กัน กัง บัง จัง
๑๔. สระไอ
มี ๔ รูปแบบ คือ สระใอไม้ม้วน สระไอไม้มลาย สระไอย และสระอัย การใช้ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ เฉพาะไม้ม้วนมี ๒๐ คำ ต้องศึกษาไว้ ขอผูกเป็นคำกลอนเพื่อจำง่ายกว่า
ใช้ให้ถูกลูกสะใภ้ในการกิจ
ใจใคร่ชิดชมงามดุจน้ำใส
การของเราใครเล่าจะเอาใด
ทั้งเหนือใต้ใฝ่ฝันอันใหม่มา
ทั้งเล็กใหญ่อยู่ใกล้ใส่ความคิด
หลงใหลผิดติดใบ้ใช่กล่าวหา
ดูยองใยใบโพธิ์ช่างโสภา
หลักภาษาหนังสือชื่อสูตรใอ
โวหาร
ประเภทกวีนิพนธ์
ฉันทลักษณ์
สระ
พยัญชนะ
เครื่องประกอบอื่น
การอ่านคำประพันธ์
ร่าย
กาพย์
กลอน
โคลง
ฉันท์