ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ บุคคลสำคัญ ประเทศและทวีป >>
หลักสูตรและหนังสือเรียนภาษาไทย
นางสาวนิจสุดา อภินันทาภรณ์
หัวหน้าสถาบันภาษาไทย สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
การศึกษายังคงเป็นลักษณะเดียวกับสมัยกรุงศรีอยุธยา มีวัดเป็นสถานที่ให้ความรู้แก่ประชาชน การเรียนการสอนสุดแล้วแต่พระอาจารย์และภูมิปัญญาของศิษย์ หนังสือที่ใช้เรียนปรากฏจากหนังสือโบราณศึกษาว่ามี ๕ เล่ม คือ ประถม ก กา สุบินทกุมาร ประถมมาลา ประถม จินดามณี เล่ม ๑ และประถม จินดามณี เล่ม ๒
หนังสือดังกล่าว ต้องเรียนเป็นชั้น ๆ เริ่มต้นด้วย ประถม ก กา ก่อน แล้วจึงอ่านสุบินทกุมาร และเรียนประถมมาลา ต่อจากนั้นเรียนประถมจินดามณี เล่ม ๑ ประถมจินดามณี เล่ม ๒ นอกจากนี้ ยังมีหนังสืออ่านประกอบอีกหลายเล่ม เช่น เสือโค จันทโครพ อนิรุท สมุทรโฆษ เพชรมงกุฎ สังข์ทอง กากี พระยาฉัททันต์ สวัสดิรักษา เป็นต้น
หนังสือประถมจินดามณี เล่ม ๑ แต่งโดยพระโหราธิบดี ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
ส่วนหนังสือประถมจินดามณี เล่ม ๒ แต่งโดยพระบรมวงศ์เธอกรมหลวงวงษาธิราชสนิท
ในสมัยรัชกาลที่ ๓
แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ (พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว)
ซึ่งเลียนแบบจากจินดามณี เล่ม ๑ โดยปรับแก้ไขให้กะทัดรัด
เหมาะแก่สมัยและมีคำอธิบายง่ายขึ้น ในหนังสือประวัติการศึกษา เรียกว่า
ประถมจินดามณี เล่ม ๑ และประถมจินดามณี เล่ม ๒
จากหนังสือประวัติกระทรวงศึกษาธิการกล่าวว่า แบบเรียนภาษาไทยเล่มแรก คือ หนังสือจินดามณี
ผู้แต่งโดยพระโหราธิบดี เล่มต่อมา คือ ประถม ก กา ไม่ปรากฏนามผู้แต่ง พระวรเวทย์พิสิฐกล่าวว่า แบบเรียนประถม ก กา เป็นหนังสือแบบเรียนในสมัยรัชกาลที่ ๑ ถึง ๕ เล่าเรียนกันก่อนมีแบบเรียนมูลบทบรรพกิจ เป็นแบบเรียนว่าด้วย กฎเกณฑ์การอ่านและเขียน แต่งเป็นคำกลอนและกาพย์ เริ่มตั้งแต่แม่ ก กา ไปจนถึงแม่เกย และแบบเรียนเล่มที่ ๓ คือ ประถมมาลา ผู้แต่งคือ พระเทพโมลี (นามเดิม ผึ้ง หรือ พึ่ง) แห่งวัดราชบูรณะ เข้าใจว่าแต่งในสมัยรัชกาลที่ ๓ แต่งเป็นกลอนที่ไพเราะมาก
- สมัยสุโขทัย
- สมัยกรุงศรีอยุธยา
- สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
- สมัยรัตนโกสินทร์ ตั้งแต่ปลายรัชกาลที่ ๔ ถึงสมัยรัชกาลที่ ๕
- กรมศึกษาธิการ (พ.ศ. ๒๔๓๐)
- กระทรวงธรรมการ (พ.ศ. ๒๔๓๕ – ๒๔๕๓)
- หลังเปลี่ยนแปลงการปกครองถึงปัจจุบัน
- หนังสือเรียนภาษาไทยฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๓๓
- หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๔๔
- หนังสือสาระการเรียนรู้พื้นฐาน
- หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑
- หนังสือเรียนภาษาไทยที่ควรรู้จัก
อ้างอิง
- วิชาการ,กรม, ๒๕๒๐ ความเป็นมาของแบบเรียนไทย. ห้างหุ้นส่วนจำกัด จงเจริญการพิมพ์.
- วิชาการและมาตรฐานการศึกษา,สำนัก,๒๕๕๒. ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้
- ภาษาไทย ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
- วิชาการและมาตรฐานการศึกษา,สำนัก, ๒๕๔๔.หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๔๔.
- โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.ศึกษาธิการ,กระทรวง, ๒๕๔๕. วิชาการวิจักษณ์ สำนักพิมพ์องค์การค้าของคุรุสภา.