ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม >>
พุทธธรรมขั้นพื้นฐาน
วันสำคัญทางพระพุทธศาสนากับพิธีสำคัญทางพระพุทธศาสนา
ความสำคัญของพระพุทธศาสนาที่มีต่อสังคมไทย
การนับถือพระพุทธศาสนาของชาวไทย
พระมหากษัตริย์ไทยกับพระพุทธศาสนา
พระพุทธศาสนาในฐานะเป็นเอกลักษณ์และมรดกของชาติไทย
การปฏิบัติตนในฐานะพุทธมามกะ
ความสำคัญของพระพุทธศาสนาที่มีต่อสังคมไทย
ความสำคัญของวัดต่อสังคม
วัดจะเป็นหน่วยหลักของหมู่บ้าน วัดในประเทศไทยมีประมาณ ๓๐,๐๐๐ กว่าวัด
และวัดเหล่านี้ได้ทำหน้าที่ให้บริการหลายอย่างต่อชุมชน เช่น
๑.
เป็นแหล่งหรือศูนย์กลางของชุมชน เช่น การประกอบพิธีกรรม กิจกรรม งานบุญ เป็นต้น
๒. เป็นโรงเรียน ความรู้วิชาชีพ จะเห็นว่าในวัดต่าง ๆ จะมีโรงเรียนอยู่เป็นจำนวนมาก
๓. เป็นสถานที่ให้คำแนะนำ คำปรึกษา และการปลอบใจ ปัญหาภายในบ้าน ธุรกิจ การงาน
และคลายความทุกข์กังวล
๔. เป็นสถานพยาบาลและสถานที่จ่ายยา คนเจ็บป่วย คนพิการ
คนทุพพลภาพหรือวิกลจริตจะถูกนำไปรักษาที่วัด
๕.
เป็นสถานสงเคราะห์และที่พักพิงสำหรับผู้ยากจน คนเดินทาง คนที่ถูกทอดทิ้ง
คนชราและเด็กกำพร้า
๖. เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจและเป็นศูนย์กลางการเล่นกีฬา
การมีการละเล่น งานรื่นเริงหรืองานฉลอง
๗. เป็นที่ทำการธุรกิจ
ชาวบ้านเช่าที่ปลูกบ้านในวัดราคาถูก
เป็นสถานที่ให้ยืมเงินและเครื่องใช้ในกรณีฉุกเฉินหรือเกิดความทุกข์ความเดือดร้อน
ยิ่งไปกว่านั้นวัดยังเป็นหอนาฬิกาอีกด้วย โดยมีกลองและระฆังเป็นสัญญาณ
๘.
เป็นแหล่งจ่ายน้ำดื่มน้ำใช้ให้แก่ประชาชน วัดอาจมีบ่อน้ำ สระน้ำ
หรือถังเก็บน้ำที่ให้แก่ชุมชนอยู่รอบ ๆ วัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฤดูแล้ง
๙.
เป็นแหล่งข่าวหรือศูนย์รวมข่าว เป็นที่ปิดประกาศแจ้งข่าวของทางราชการ
เจ้าอาวาสกับชาวบ้านมีการแลกเปลี่ยนข่าวสารต่าง ๆ กันเป็นประจำ
วัดเป็นสโมสรที่ประชาชนมีโอกาสพบปะสังสรรค์กันในวันทำบุญ
ในเทศกาลและวันนักขัตฤกษ์อื่น ๆ
๑๐. เป็นฌาปนกิจสถานและเป็นที่เก็บศพ
จะเห็นได้ว่า วัด เป็นหน่วยงานสวัสดิการที่ใหญ่ที่สุดในชนบทที่ช่วยแก้ปัญหาต่าง ๆ
ของครอบครัว ของชุมชน และของสังคมในส่วนรวมได้เป็นอย่างดี
ลักษณะของสังคม
อิทธิพลของศาสนาต่อสังคม
ความสำคัญของวัดต่อสังคม
บทบาทและความสำคัญของพระภิกษุสงฆ์
คุณค่าของสถาบันพระพุทธในด้านการศึกษาอบรม
บทบาทในด้านการช่วยเหลือเยาวชนและการเป็นที่พึ่งทางใจ