ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม >>
พุทธธรรมขั้นพื้นฐาน
วันสำคัญทางพระพุทธศาสนากับพิธีสำคัญทางพระพุทธศาสนา
ความสำคัญของพระพุทธศาสนาที่มีต่อสังคมไทย
การนับถือพระพุทธศาสนาของชาวไทย
พระมหากษัตริย์ไทยกับพระพุทธศาสนา
พระพุทธศาสนาในฐานะเป็นเอกลักษณ์และมรดกของชาติไทย
การปฏิบัติตนในฐานะพุทธมามกะ
การนับถือพระพุทธศาสนาของชาวไทย
ชาติไทยนับถือพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติมาตั้งแต่สมัยที่อยู่อาณาจักรอ้ายลาว ดังปรากฏในจดหมายเหตุของจีน ว่าพระจักรพรรดิมิ่งตี่ของจีนโปรดให้แต่งฑูตไปสืบพระพุทธศาสนาในประเทศอินเดีย คณะทูตชุดนี้ได้กลับมาสู่ราชสำนักจีนเมื่อ พ.ศ ๖๐๔ พร้อมกับนำเอาพระพุทธรูป คัมภีร์พระธรรมและพระสงฆ์มาเฝ้าพระเจ้ากรุงจีนอีกด้วย พระองค์มีศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนายิ่งนัก จึงได้ปฏิญญาณพระองค์เป็นพุทธมามกะ นับถือพระพุทธศาสนาตั้งแต่นั้นมา ทำให้รัฐประศาสโนบายของจีนเปลี่ยนจากแสนยานุภาพและในโอกาสนี้เอง ขุนหลวงเม้าองค์ประมุขของอาณาจักรอ้ายลาวทรงเห็นว่าพระพุทธศาสนานี้เหมาะสมยิ่งแก่อัธยาศัยใจคอของคนไทย จึงได้ยอมรับเอาพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติไทยเมื่อ พ.ศ. ๖๑๒ ปรากฏว่าคนไทยได้ประกาศตนเป็นพุทธมามกะในโอกาสนั้นมากมาย นอกจากพระองค์ผู้เป็นประมุขแล้ว ยังมีหัวหน้า ๗๗ คน พลเมืองหรือราษฎรอีก ๕๑,๘๙๐ ครอบครัว นับเป็นจำนวนประชากรถึง ๕๕๓,๗๑๑ คน ที่ได้ประกาศตนเป็นพุทธมามกะด้วย แม้จะอพยพลงมาในดินแดนปัจจุบัน คนไทยก็ยังนับถือพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ แต่คนไทยลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยายุคนั้น บางกลุ่มก็มีการนับถือศาสนาอื่น ๆ ประกอบด้วยเช่นกัน
เมื่อพ่อขุนบางกลางท่าวได้ปราบดาภิเษกเป็นปฐมกษัตริย์ต้นราชวงศ์สุโขทัย ทรงพระนามว่าศรีอินทราทิตย์ ครองกรุงสุโขทัยราว พ.ศ. ๑๘๐๐ ในสมัยนั้นประชาชนนับถือพระพุทธศาสนาทั้งสองฝ่ายคือหินยานหรือเถรวาทและฝ่ายมหายานปะปนกับศาสนาพราหมณ์และการนับถือผี จนถึงสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ผู้ครองราชย์ในระหว่างปี พ.ศ. ๑๘๒๒-๑๘๔๑ พุทธศาสนาฝ่ายหินยานลัทธิลังกาวงค์จึงได้รับการนับถืออย่างเป็นทางการจากวัง แล้วแพร่หลายไปในหมู่ประชาชนจนมีฐานะเด่นเป็นศาสนาประจำชาติเลื่อยมาจนกระทั่งทุกวันนี้