ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม >>

คู่มือพระสังฆาธิการ

ส่วนที่ ๓ กฎมหาเถรสมาคม

บันทึกหลักการและเหตุผล

ประกอบกฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ ๒๗ (พ.ศ ๒๕๔๖)
แก้ไขเพิ่มเติม กฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ ๒๓ (พ.ศ. ๒๕๔๑)

ว่าด้วยระเบียบการปกครองคณะสงฆ์

---------------------

หลักการ

ยกเลิกข้อความในข้อ ๒๙ แห่งกฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ ๒๓ (พ.ศ. ๒๕๔๑) ว่าด้วยระเบียบการปกครองคณะสงฆ์

เหตุผล

เพื่อยกย่องเชิดชูพระสังฆาธิการทุกระดับ ให้เป็นที่ปรึกษาของเจ้าคณะทุกชั้น ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค

กฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ ๒๗ (พ.ศ. ๒๕๔๖)
แก้ไขเพิ่มเติมกฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ ๒๓ (พ.ศ. ๒๕๔๑)

ว่าด้วยระเบียบการปกครองคณะสงฆ์

----------------------------

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๕ ตรี และมาตรา ๒๐ แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์พ.ศ. ๒๕๐๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ มหาเถรสมาคม
ตรากฎมหาเถรสมาคมไว้ดังต่อไปนี้

ข้อ ๑ กฎมหาเถรสมาคมนี้ เรียกว่า “กฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ ๒๗ (พ.ศ.๒๕๔๖)แก้ไขเพิ่มเติมกฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ ๒๓ (พ.ศ. ๒๕๔๑) ว่าด้วยระเบียบการปกครองคณะสงฆ์”

ข้อ ๒ กฎมหาเถรสมาคมนี้ ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในแถลงการณ์คณะสงฆ์เป็นต้นไป

ข้อ ๓ ให้ยกเลิกข้อความในข้อ ๒๙ แห่งกฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ ๒๓ (พ.ศ.๒๕๔๑)ว่าด้วยระเบียบการปกครองคณะสงฆ์ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

“เพื่อยกย่องเชิดชูพระสังฆาธิการผู้ปฏิบัติหน้าที่มาโดยความเรียบร้อย มหาเถรสมาคมจะให้มีที่ปรึกษาของเจ้าคณะในชั้นใด ๆ ก็ได้ให้ที่ปรึกษามีหน้าที่ให้คำปรึกษาแก่เจ้าคณะชั้นนั้น ๆ”

ตราไว้ ณ วันที่ ๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๖

(สมเด็จพระญาณสังวร)
สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
ประธานกรรมการมหาเถรสมาคม

<< ย้อนกลับ | หน้าถัดไป>>

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย

กฎมหาเถรสมาคม