ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม >>
คู่มือพระสังฆาธิการ
ส่วนที่ ๑ พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ ๒ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕
ส่วนที่ ๓ กฎมหาเถรสมาคม
ส่วนที่ ๔ ระเบียบ คำสั่ง ประกาศ และมติมหาเถรสมาคม
ส่วนที่ ๓ กฎมหาเถรสมาคม
กฎมหาเถรสมาคม
ฉบับที่ ๑๔ (พ.ศ. ๒๕๓๕)
ว่าด้วยจำนวนและเขตปกครองคณะสงฆ์ส่วนภูมิภาค
---------------------
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๕ ตรี แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ และมาตรา ๒๑ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ มหาเถรสมาคมตรากฎมหาเถรสมาคมไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ กฎมหาเถรสมาคมนี้เรียกว่า กฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ ๑๔ (พ.ศ. ๒๕๓๕) ว่าด้วยจำนวนและเขตปกครองคณะสงฆ์ส่วนภูมิภาค
ข้อ ๒ กฎมหาเถรสมาคมนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในแถลงการณ์คณะสงฆ์เป็นต้นไป
ข้อ ๓ ตั้งแต่วันใช้กฎมหาเถรสมาคมนี้ ให้ยกเลิก
(๑) กฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ ๓ (พ.ศ. ๒๕๐๖) ว่าด้วยจำนวนและเขตปกครองคณะสงฆ์ส่วนภูมิภาค
(๒) กฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ ๓ แก้ไขเพิ่มเติม (พ.ศ. ๒๕๑๕)
(๓) กฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ ๓ แก้ไขเพิ่มเติม (พ.ศ. ๒๕๑๕)
(๔) กฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ ๓ แก้ไขเพิ่มเติม (พ.ศ. ๒๕๒๐)
(๕) กฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ ๓ แก้ไขเพิ่มเติม (พ.ศ. ๒๕๒๑)
(๖) กฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ ๓ แก้ไขเพิ่มเติม (พ.ศ. ๒๕๒๖)
บรรดากฎ ข้อบังคับ ระเบียบ คำสั่ง มติ หรือประกาศอื่นใดในส่วนที่กำหนดไว้แล้วในกฎมหาเถรสมาคมนี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับกฎมหาเถรสมาคมนี้ ให้ใช้กฎมหาเถรสมาคมนี้แทน
ข้อ ๔ ให้มีจำนวนภาค ๑๘ ภาค และให้รวมเขตปกครองจังหวัดต่างๆ เป็นเขตปกครองภาคดังต่อไปนี้
ภาค ๑ มีจังหวัด ๔ จังหวัด คือ กรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี จังหวัดปทุมธานีและจังหวัดสมุทรปราการ
ภาค ๒ มีจังหวัด ๓ จังหวัด คือ จังหวัด พระนครศรีอยุธยา จังหวัดอ่างทอง และจังหวัดสระบุรี
ภาค ๓ มีจังหวัด ๔ จังหวัด คือ จังหวัดลพบุรี จังหวัดสิงห์บุรี จังหวัดชัยนาท และจังหวัดอุทัยธานี
ภาค ๔ มีจังหวัด ๔ จังหวัด คือ จังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดกาแพงเพชร จังหวัดพิจิตรและจังหวัดเพชรบูรณ์
ภาค ๕ มีจังหวัด ๔ จังหวัด คือ จังหวัดพิษณุโลก จังหวัดสุโขทัย จังหวัดตาก และจังหวัดอุตรดิตถ์
ภาค ๖ มีจังหวัด ๕ จังหวัด คือ จังหวัดลาปาง จังหวัดพะเยา จังหวัดเชียงราย จังหวัดแพร่และจังหวัดน่าน
ภาค ๗ มีจังหวัด ๓ จังหวัด คือ จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดลาพูน และจังหวัดแม่ฮ่องสอน
ภาค ๘ มีจังหวัด ๖ จังหวัด คือ จังหวัดอุดรธานี จังหวัดหนองคาย จังหวัดเลย และจังหวัดสกลนคร จังหวัดหนองบัวลาภู และจังหวัดบึงกาฬ
ภาค ๙ มีจังหวัด ๔ จังหวัด คือ จังหวัดขอนแก่น จังหวัดมหาสารคาม จังหวัดกาฬสินธุ์และจังหวัดร้อยเอ็ด
ภาค ๑๐ มีจังหวัด ๖ จังหวัด คือ จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดศรีสระเกษ จังหวัดนครพนมจังหวัดยโสธร จังหวัดมุกดาหาร และจังหวัดอำนาจเจริญ
ภาค ๑๑ มีจังหวัด ๔ จังหวัด คือ จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดชัยภูมิ จังหวัดบุรีรัมย์และจังหวัดสุรินทร์
ภาค ๑๒ มีจังหวัด ๔ จังหวัด คือ จังหวัดปราจีนบุรี จังหวัดนครนายก จังหวัดฉะเชิงเทราและจังหวัดสระแก้ว
ภาค ๑๓ มีจังหวัด ๔ จังหวัด คือ จังหวัดชลบุรี จังหวัดระยอง จังหวัดจันทบุรี และจังหวัดตราด
ภาค ๑๔ มีจังหวัด ๔ จังหวัด คือ จังหวัดนครปฐม จังหวัดสุพรรณบุรี จังหวัดกาญจนบุรีและจังหวัดสมุทรสาคร
ภาค ๑๕ มีจังหวัด ๔ จังหวัด คือ จังหวัดราชบุรี จังหวัดเพชรบุรี จังหวัดสมุทรสงครามและจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
ภาค ๑๖ มีจังหวัด ๓ จังหวัด คือ จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดสุราษฎร์ธานี และจังหวัดชุมพร
ภาค ๑๗ มีจังหวัด ๕ จังหวัด คือ จังหวัดภูเก็ต จังหวัดตรัง จังหวัดพังงา จังหวัดกระบี่และจังหวัดระนอง
ภาค ๑๘ มีจังหวัด ๖ จังหวัด คือ จังหวัดสงขลา จังหวัดพัทลุง จังหวัดสตูล จังหวัดปัตตานีจังหวัดยะลา และจังหวัดนราธิวาส
ข้อ ๕ จำนวนและเขตปกครองคณะสงฆ์ส่วนภูมิภาค ในชั้นจังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานครและจังหวัดนอกจากกรุงเทพมหานครก็ดี ชั้นอำเภอ ได้แก่ เขตในกรุงเทพมหานคร และอำเภอในจังหวัดนอกจากกรุงเทพมหานครก็ดี ชั้นตำบล ได้แก่ แขวงในกรุงเทพมหานคร และตำบลในจังหวัดนอกจากกรุงเทพมหานครก็ดี ให้อนุโลมตามจำนวนและเขตบริหารราชการ แห่งราชอาณาจักรแต่ละชั้น แล้วแต่กรณี แต่ถ้ามีกรณีพิเศษจะกำหนดให้เป็นอย่างอื่นย่อมทาได้โดยระเบียบมหาเถรสมาคม
ตราไว้ ณ วันที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๓๕
(สมเด็จพระญาณสังวร)
สมเด็จพระสังฆราช ประธานกรรมการมหาเถรสมาคม
หมายเหตุ : - เหตุผลในการประกาศใช้กฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ ๑๔ (๒๕๐๕) คือเนื่องจากมาตรา ๑๘ แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ ซึ่งให้อำนาจมหาเถรสมาคม ตรากฎมหาเถรสมาคม ออกข้อบังคับวางระเบียบ หรือออกคำสั่งมหาเถรสมาคม ได้ถูกยกเลิกและได้บัญญัติอำนาจหน้าที่ของมหาเถรสมาคมดังกล่าวขึ้นใหม่เป็นมาตรา ๑๕ ตรี แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคณะสงฆ์(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ จึงจำเป็นต้องตรากฎมหาเถรสมาคม
กฎมหาเถรสมาคม
-
ว่าด้วยจำนวนและเขตปกครองคณะสงฆ์ส่วนภูมิภาค