ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม >>

คู่มือพระสังฆาธิการ

ส่วนที่ ๕ คำพิพากษาศาลฎีกา ที่น่ารู้ สำหรับพระสังฆาธิการ

คำพิพากษาศาลฎีกาเกี่ยวกับมรดกของพระภิกษุ

ฎีกาที่ ๔๓๙/๒๔๗๙ พระภิกษุถึงแก่มรณภาพโดยไม่มีพินัยกรรมก่อนที่มรดกตกเป็นของวัดจะต้องใช้หนี้แก่เจ้าหนี้ของผู้มรณภาพเสียให้สิ้นเชิงก่อน

ฎีกาที่ ๒๗๓/๒๔๗๕ พระภิกษุได้รับมรดกที่ดินก่อนอุปสมบทแต่มาโอนใส่ชื่อในโฉนดเมื่ออุปสมบทแล้ว เมื่อพระภิกษุมรณะลงที่ดินหาตกเป็นของพระอาราม

ฎีกาที่ ๗๗๙/๒๔๘๔ โจทก์เป็นพระภิกษุฟ้องว่า ได้รับมรดกที่ดินพิพาทมาจากบิดา บัดนี้จำเลยบุกรุกเข้าทำนา ขอให้ขับไล่ จำเลยตัดฟ้องว่า โจทก์เป็นพระภิกษุฟ้องเรียกมรดกโดยไม่สึกเสียก่อนไม่ชอบด้วยมาตรา ๑๖๒๒ ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า คดีนี้เป็นเรื่องที่โจทก์ได้รับที่ดินครอบครองเป็นเจ้าของมาก่อนแล้ว จึงฟ้องจำเลยผู้บุกรุก ไม่ใช่เรื่องทายาทฟ้องเรียกมรดกของผู้ตาย โจทก์ไม่จาต้องสึกก็ฟ้องจำเลยได้ พิพากษาให้ขับไล่จำเลย

ฎีกาที่ ๓๔๑/๒๔๙๕ โจทก์ฟ้องเรียกที่ดินและบ้าน จากจำเลยซึ่งเป็นพระภิกษุ อ้างว่า มารดายกให้โจทก์ จำเลยเพียงอยู่อาศัย ทางพิจารณาได้ความว่า ที่ดินและบ้านพิพาทเป็นมรดกได้แก่โจทก์จำเลย ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า แม้โจทก์ฟ้องขอให้แสดงว่า ที่ดินและบ้านเรือนเป็นของโจทก์ผู้เดียวเมื่อได้ความว่า เป็นมรดกอันควรแบ่ง ศาลอาจแบ่งให้ได้ พิพากษาให้แบ่งที่ดินบ้านเรือนให้โจทก์จำเลยตามส่วน ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า คดีไม่มีประเด็นทางมรดก ทั้งจำเลยเป็นพระภิกษุ การให้แบ่งมรดกจึงไม่สมควรและอาจขัดกับมาตรา ๑๖๒๒ พิพากษายกฟ้อง ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า แม้โจทก์จะมิฟ้องขอแบ่งมรดก แต่กล่าวฟ้องว่า เป็นที่ดินของมารดาโจทก์และบิดามารดาจำเลย ซึ่งตายไปแล้ว จำเลยก็รับในข้อนี้ คงเถียงกันว่าเป็นของตนฝ่ายเดียว หากทางพิจารณาฟังได้ว่า เป็นมรดกอันควรแบ่ง ศาลพิพากษาให้โจทก์ได้รับแต่ส่วนแบ่ง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๑๔๒ ส่วนข้อที่ผู้มีส่วนควรได้รับมรดกอาจมีอยู่นั้นเป็นเรื่องของผู้นั้นจะร้องเข้ามาเอง หาใช่เป็นหน้าที่ของศาลไม่ ส่วนข้อที่ว่าจำเลยเป็นพระภิกษุนั้น จำเลยไม่ใช่ผู้เรียกร้องเอาทรัพย์มรดก แต่ถูกฟ้องเป็นจำเลยจึงไม่ขัดกับมาตรา ๑๖๒๒ พิพากษากลับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ให้บังคับคดีตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น

ฎีกาที่ ๑๒๖๕/๒๔๙๕ พระภิกษุมรณภาพในขณะที่เป็นพระภิกษุอยู่ โดยมิได้ทำพินัยกรรมยกทรัพย์มรดกให้ใคร มรดกของพระภิกษุนั้นย่อมตกได้แก่วัดที่พระภิกษุนั้นสังกัดอยู่ แม้ทายาทจะครอบครองที่ดินมรดกของพระภิกษุนั้นเกิน ๑๐ ปี นับแต่วันมรณภาพ ทายาทจะเอาที่ดินมรดกนั้นไม่ได้ เพราะที่ดินมรดกนั้นเป็นของวัดจะใช้อายุความ ๑๐ ปี ยันวัดให้เสียสิทธิหาได้ไม่

ฎีกาที่ ๔๐๖/๒๕๑๐ เจ้ามรดกมีบุตร ๖ คน ๆ หนึ่งบวชเป็นพระภิกษุก่อนเจ้ามรดกตายมาเป็นเวลา ๒๐ ปี ไม่ได้ร่วมครอบครองทรัพย์มรดกคงมีแต่โจทก์ จำเลยและทายาทอื่นครอบครองร่วมกันแล้วฟ้องขอแบ่งมรดกกัน ศาลฎีกาโดยที่ประชุมใหญ่ให้แบ่งมรดกออกเป็น ๕ ส่วน ให้โจทก์จำเลยและทายาทอื่นรวม ๕ คน ๆ ละส่วน ตามฎีกานี้ทายาทที่เป็นพระภิกษุ ไม่ได้ส่วนแบ่ง เพราะไม่ได้สึกออกมาเรียกร้อง

ฎีกาที่ ๓๗๑๒/๒๕๒๖ ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์สินที่ ผ.จดทะเบียนยกให้พระภิกษุ ฮ. ระหว่างเวลาที่อยู่ในสมณเพศ เมื่อพระภิกษุ ฮ. ถึงแก่มรณภาพที่ดินพิพาทจึงตกเป็นสมบัติของวัดโจทก์ซึ่งเป็น
ภูมิลาเนาของพระภิกษุ ฮ. ตามมาตรา ๑๖๒๓

ฎีกาที่ ๑๐๖๔/๒๕๓๒ บิดามารดายกที่นาให้แก่พระภิกษุ ข. ภายหลังที่พระภิกษุ ข. บวชเป็นพระภิกษุ เมื่อพระภิกษุ ข. ขายที่นาแปลงดังกล่าวและนาเงินที่ขายได้ไปฝากธนาคาร เงินที่นำไปฝากธนาคารรวมทั้งดอกเบี้ยที่ได้รับถือว่าเป็นทรัพย์ที่ได้มาในระหว่างที่อยู่ในสมณเพศ เมื่อพระภิกษุ ข.ถึงแก่มรณภาพ เงินฝากดังกล่าวย่อมตกเป็นของวัดโจทก์ ซึ่งเป็นภูมิลาเนาของพระภิกษุ ข.

ฎีกาที่ ๕๖๔/๒๕๓๖ หนังสือสุทธิสำหรับพระภิกษุ ใบมรณบัตร ใบแต่งตั้งเป็นพระครูคำขอรับมรดกของมรดกของมารดา และบัญชีเงินฝากต่างระบุว่าผู้ตายอยู่วัดผู้ร้อง แสดงว่าผู้ตายถือเอาวัดผู้ร้องเป็นสถานที่อยู่ เป็นแหล่งสำคัญ
 ทรัพย์สินของผู้ตายที่ได้มาในระหว่างเวลาที่อยู่ในสมณเพศ จึงตกเป็นสมบัติของวัด

ฎีกาที่ ๙๐๓/๒๕๓๖ ก่อนพระภิกษุ ช. มรณภาพ พระภิกษุ ช. ได้จดทะเบียนรับโอนที่พิพาทที่เช่าซื้อมาในระหว่างเวลาที่อยู่ในสมณเพศ แต่พระภิกษุ ช. ได้เช่าซื้อที่ดินและชาระค่าเช่าซื้อจนครบถ้วนแล้วก่อนที่มาบวชเป็นพระภิกษุ จึงต้องถือว่าพระภิกษุ ช. ได้ที่ดินพิพาทมาก่อนที่จะบวชเป็นพระภิกษุ การจดทะเบียนการได้มาในภายหลังเป็นแต่เพียงการทำให้การได้มาบริบูรณ์ ที่พิพาทจึงไม่ตกเป็นสมบัติวัด แต่เป็นทรัพย์มรดกตกแก่บรรดาทายาท

<< ย้อนกลับ | หน้าถัดไป>>

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย