ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม >>
ธรรมธาตุ 7
หมายถึง ระบบการทำงานของนามธาตุ คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ มโน จิต และ ภวังค์ องค์ประกอบ
- จิต พระพุทธเจ้าตรัสว่าเป็นอัสนีธาตุ จิตเกิดจากกระบวนการทำงานอย่างเป็นระบบของนามธาตุ มีลักษณะเป็นตัวเชื่อมต่อกระบวนการทำงานต่างๆ เช่น เชื่อมรูปธาตุและนามธาตุให้สัมพันธ์กันได้ นามธาตุเกิดจากการสั่นสะเทือน คือ ทุกข์เท่านั้นที่เกิดขึ้น (ไตรลักษณ์) ทุกข์เท่านั้นที่ดับไป (นิพพาน)
- มโน หมายถึง หมายถึงสิ่งที่ใจน้อมไป มาจาก นะมะ (ความนอบน้อม) เช่นเราเพ่งความสนใจไปที่ใดอาการที่ใจเราไปสนใจนั้นคือมโน มีลักษณะน้อมไป ยึดไว้ เคลื่อนย้าย มโนคือกฎอนิจจังแห่งธรรมนิยามของนามธาตุ เกิดจากการที่นามธาตุมีความสัมพันธ์ต่อรูปธาตุและเกิดจากกระบวนการภายในของนามธาตุเอง คือการให้ความสนใจไปในสิ่งใดสิ่งสิ่งหนึ่งที่จิตเหนี่ยวรั้งมาพิจารณา และจิตเกิดการสนใจหรือย้ายความสนใจในสิ่งที่พิจารณาอยู่
- ภวังค์ จิตใต้สำนึก เป็นสิ่งที่ไม่มีตัวตน มีแต่สภาวะเกิดขึ้นจากกฎแห่งเหตุและผลของธรรมชาติอย่างละเอียด (หรือเรียกว่ากฎแห่งกรรม) อธิบายเช่นต้นไม้แต่ก่อนมีเพียงเมล็ดกิ่ง ก้าน ราก ดอก ผล ใบย่อมมีมาแต่ไหน เพราะในเมล็ดย่อมมีเพียงข้อมูล แล้วอาศัยอาศัยปัจจัยเพิ่มปริมาณสสารขึ้น อาศัยข้อมูลในเมล็ดทำให้มีลักษณะต่างๆ ถ้าเป็นสัตว์ก็คือ DNA ภวังค์ก็มีลักษณะเช่นนั้น คือเป็นข้อมูลของจิต ทำให้สัตว์มีลักษณะนิสัย สันดานแตกต่างกัน เมื่อจิตออกจากร่างภวังคะจะจดจำข้อมูลสร้างร่างจากจิตตะอันเป็นอัสนีธาตุหรือธาตุพลังงานทำให้มีรูปร่างตามแต่ปัจจัยกำหนด ที่มักเรียกกันว่าผี ภวังค์คือกฎวัฏฏตาแห่งพีชนิยามของนามธาตุ ทำให้เกิดวัฏจักรการเวียนว่ายตายเกิดขึ้น
- เวทนา หมายถึงธรรมชาติรับรู้อารมณ์
ทางกายคือ
1.สุขํ สุข
2.ทุกขํ ทุกข์
3.อทุกขมสุขํ ไม่สุขไม่ทุกข์
ทางใจ 3คือ
1. โสมนัส สุขใจ
2.โทมนัส ทุกข์ใจ
3. อุเบกขา วางเฉย เวทนา
คือกฎทุกขังแห่งธรรมนิยามของนามธาตุ คือการแปรปรวนผันผวนของนามธาตุ ทุกขเวทนาเพียงดังน้ำที่ถูกต้มให้เดือด
- สัญญา
หมายถึง ความทรงจำมี 6 คือ
1. จักขุสัญญา สิ่งที่ทรงจำทางตา (ภาพ)
2. โสตสัญญา (เสียง) สิ่งที่ทรงจำทางหู
3. ฆานะสัญญา สิ่งที่ทรงจำทางจมูก (กลิ่น)
4. ชิวหาสัญญา สิ่งที่ทรงจำทางลิ้น (รสชาติ)
5. กายสัญญา สิ่งที่ทรงจำทางกาย (ประสาทสัมผัส)
6. มนสัญญา สิ่งที่ทรงจำทางใจ
สัญญา คือกฎสมตาแห่งพีชนิยามของนามธาตุ อย่างเช่น ภูมิคุ้มกันของร่างกายที่เกิดจากการจดจำทุกขังและปรับสมดุลด้วยสมตา สัญญาก็เป็นดุจภูมิคุ้มกันของจิต ที่เกิดจากการจดจำทุกขังและปรับสมดุลด้วยสมตา - สังขาร
หมายถึงสิ่งที่ปรุงแต่ง มี 3 คือ
- กายสังขาร (การบังคับร่างกาย)
- วจีสังขาร (ความคิดตรึก ตรอง)
- จิตตะสังขาร (อารมณ์ที่จรเข้ามาในใจ)
1. กายสังขาร (สิ่งที่ปรุงแต่งกายอัสสาสะ ลมหายใจเข้า ปัสสาสะ ลมหายใจออก)อัสนีธาตุของจิตตะ จะเชื่อมกับ อัสนีธาตุของกายสังขาร ที่เกิดขึ้นจากลมหายใจเข้าออกอันเป็นเหตุให้หทยวัตถุ (หัวใจ) เต้น เหมือนเขื่อนเปลี่ยนพลังงานกลเป็นพลังงานไฟฟ้า ทำให้จิตสามรถสั่งการให้ร่างกายเคลื่อนไหวได้
2.วจีสังขาร (สิ่งที่ปรุงแต่งวาจาหรือภาษานั้นคือ วิตก (ตรึก) วิจาร (ตรอง ) อันเรียกว่าความคิด )
3.จิตตสังขาร (สิ่งที่ปรุงแต่งจิต มี 2 คือเวทนา สัญญา)
จิตตะเป็นปภัสสรคือบริสุทธิ์ว่างเปล่าราวกับอากาศไม่สว่างหรือมืด แต่เพราะ เวทนาและสัญญา ที่จรเข้ามาทำให้จิตมีอารมณ์เป็นไปตามเวทนาและสัญญานั้น เช่น เวลาหลับเราเมื่อย เวทนาก็เป็นอิริยาบถให้เราหายเมื่อย เราเดินเองโดยอัตตโนมัติเพราะร่างกายเราจดจำสัญญาในการเดินไว้ทำให้บางที่เดินไปในที่เคยชิน และสัญญาที่เกิดจากวิตก (ตรึก) วิจาร (ตรอง) การตรึก คือการน้อมไปในการใช้สัญญา เช่น สิ่งนี้คือต้นไม้ ต้นไม้นี้ชื่อต้นไผ่ วิจารทำให้เกิดการเปรียบเทียบ เช่น คนนี้สวยกว่าคนนี้ ชีวิตเราสำคัญน้อยกว่าความรัก เงินสำคัญที่สุดเป็นต้น ทำให้เกิดจิตสังชารที่ทำให้ยึดมั่นและเกิดอารมณ์ต่างๆตามมามากมาย เช่นรัก โลภ โกรธตระหนี่ ริษยา อิจฉา อันเป็นเจตสิกต่างๆ ที่เกิดขึ้นพร้อมกับจิต สังขารคือกฎชีวิตาแห่งพีชนิยามของนามธาตุ ได้แก่นามธาตุชนิดต่างๆทั้ง50ชนิด(เจตสิก) ที่ทำมีหน้าที่ต่อกัน ทำงานเป็นกระบวนการ - วิญญาณ หมายถึงการรับรู้ มี6คือ จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ
ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ มโนสิ่งที่รับรู้ทางใจ มี 3 คือ
- รับรู้เวทนา
- รับรู้สัญญา
- รับรู้สังขาร
วิญญาณคือกฎอนัตตาแห่งธรรมนิยามของนามธาตุ ทำให้เกิดความว่างเพื่อเป็นทางผ่านเจตสิกทำให้เกิดการรับรู้ขึ้น