ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม >>

หอพระไตร

รวมธรรมบรรยายของ หลวงพ่อชา สุภัทโท

บ้านที่แท้จริง

2

            น้ำมันก็ไหลเชี่ยวไปทางใต้แต่บุรุษคนนั้นมีความคิดผิด อยากจะให้น้ำนั้นมันไหลขึ้นไปทางทิศเหนือ อย่างนี้มันก็เป็นทุกข์ บุรุษคนนั้นจะไม่มีความสงบเลย ถึงแม้จะยืน จะเดิน จะนั่ง จะนอน ก็ไม่มีความสงบเพราะอะไร เพราะบุรุษคนนั้นคิดผิด คิดทวนกระแสน้ำ คิด อยากจะให้น้ำไหลขึ้นไปทางเหนือความเป็นจริงนั้นน้ำจะไหลขึ้นไปทางเหนือนั้นไม่ได้ไม่สมควรแล้ว มันก็ต้องไหลไปตามกระแสของน้ำเป็นธรรมดาของมันอย่างนั้น

            เมื่อมันเป็นอย่างนี้บุรุษนั้นก็ไม่สบายใจ ทำไมถึงไม่สบายใจ เพราะบุรุษนั้นคิดไม่ถูก พิจารณาไม่ถูก ดำริไม่ถูก พิจารณาไม่ถูก เพราะว่าความเห็นผิดเป็นมิจฉาทิฏฐิ สัมมาทิฏฐิแล้วก็ต้องเห็นว่าน้ำมันก็ต้องไหลไปตามกระแสของน้ำทางใต้จะให้น้ำไหลไปทางเหนือมันไปไม่ได้ ที่จะให้น้ำไหลไปทางเหนือนั้นมีความเห็นผิด มันก็กระทบกระทั่งตะขิดตะขวง ในใจอยู่อย่างนั้น จนกว่าว่าบรุษคนนั้นจะมาพิจารณาคิดกลับเห็นแล้วว่า น้ำ ธรรมดามันก็ต้องไหลไปอย่างนั้น มันก็ต้องไหลไปทางใต้อย่างนี้ เป็นเรื่องของมันอยู่อย่างนี้

           อันนี้เป็นสัจธรรมอันหนึ่ง ซึ่งเราจะเอามาพิจารณาว่า เออ...อันนี้ก็เป็นความจริงอย่างนั้นเมื่อหากว่าเห็นความจริงอย่างนั้น บรุษคนนั้นก็ปล่อย บุรุษคนนั้นก็วาง วางน้ำให้มันเชี่ยว ให้มันไหลไปตามกระแสของมันอย่างนั้น ปัญหาที่ตะขิดดะขวงของโยมของบุรุษคนนั้นก็หายไป เมื่อปัญหาหายไป ก็ไม่มีปัญหา เมื่อไม่มีปัญหาก็ไม่ต้องเป็นทุกข์ อันนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน แม่น้ำที่มันไหลไปทิศใต้ มันก็เหมีอนชีวิตร่างกายของยายอยู่เดี๋ยวนี้แหละ เมื่อมันหนุ่มแล้วมันก็แก่ เมื่อมันแก่แล้วก็วนไปตามเรื่องมัน อันนี้เป็นสัจธรรมอย่าไปคิดว่าไม่อยากให้มันเป็นอย่างนั้น อย่าไปคิดอย่างนั้น ไม่อยากให้มันเป็นอย่างนั้น อย่าไปคิดอย่างนั้น เรื่องอันนี้ไม่ใช่เราจะมีอำนาจไปแก้ไขมัน

            พระพุทธเจัาให้มองตามรูปมัน มองตามเรื่องของมัน เห็นตามสภาพของมันเสียว่า มันเป็นอย่างนั้นเท่านั้น เราก็ปล่อยมันเสีย เราก็วางมันเสีย เอาความรู้สึกนี้เองเป็นตนเป็นที่พึ่ง ให้ภาวนาว่า พุทโธ พุทโธ พุทโธ ถึงแม้ว่าจะเหน็ดจะเหนื่อยก็จริงเถอะ ให้โยมทำจิตให้อยู่กับลมหายใจ หายใจออกยาวๆ สูดลมเข้ามายาวๆหายใจออกไปยาวๆ แล้วก็ตั้งจิตขึ้นใหม่ แล้วก็กำหนดลมพุทโธ พุทโธ โดยปกติถึงแม้ว่ามันจะเหนื่อยมากเท่าไรก็ยิ่งกำหนดจิตกำหนดอารมณ์ของเราให้ละเอียดเข้าไปให้ละเอียดเข้าไปเท่านั้นทุกครั้ง เพื่ออะไรเพื่อจะต่อสู้กับเวทนา เมื่อกำลังมันเหน็ดมันเหนื่อยให้โยมหยุดคิดทั้งหลาย ให้โยมหยุดคิดอะไรทั้งปวงเสีย ให้เอาจิตมารวมอยู่ที่จิต แล้วเอาจิตกับลม รู้จักลม ภาวนา พุทโธ พุทโธ ปล่อยวางข้างนอกให้หมด อย่าไปเกาะกับลูก อย่าไปเกาะกับหลาน อย่าไปเกาะกับสิ่งทั้งหลายทั้งปวงทั้งนั้น ให้ปล่อย ให้เป็นอันเดียว รวมจิตลงที่อันเดียว ดูลม ให้กำหนดลม เอาจิตนั่นแหละไปรวมอยู่ที่ลม คือใหรู้ที่ลมในเวลานั้น ไม่ต้องให้รู้อะไรมากมาย กำหนดให้จิตมันน้อยไปๆ ละเอียดไปๆ เรื่อยๆไป จนกว่าจะมีความรู้สึกน้อยๆ แต่มีความตื่นอยู่ในใจมากที่สุด เป็นต้น

            อันนี้เวทนาที่มันเกิดขึ้นมันจะค่อยๆระงับไปๆผลที่สุดเราก็ดูลมเหมือนกับญาติมาเยี่ยมบ้านเราเราจะตามไปส่งญูาติขึ้นรถลงเรือ เราก็ตามไปถึงท่าเรือ ตามไปถึงรถ เราก็ส่งญาติเราขึ้นบนรถเราก็ส่งญาติเราลงเรือ เขาก็ติดเครื่องเรือ เครื่องรถไปลิ่ว เท่านั้นแหละ เราก็มองไปเถอะ ญาติเราไปแล้ว เราก็กลับบ้านเรา เราดูลมก็เหมือนกันฉันนั้น เมื่อลมมันหยาบเราก็รู้จัก เมื่อลมมันละเอียดเราก็รู้จัก เมื่อมันละเอียดไปเรื่อยๆ เราก็มองไปๆ ตามไป น้อยไปๆ ทำจิตให้มันตื่นขึ้น ทำลมให้มันละเอียดเขาไปเรื่อยๆไป ผลที่ลุดแล้ว จนกว่าลมหายใจมันน้อยลงๆ จนกว่าลมหายใจไม่มี มีแต่ความรู้ลึกเท่านั้นตี่นอยู่ นั้นก็เรียกว่า เราพบพระพุทธเจ้าแล้ว เรามีความ รู้ ต อยู่ ที่เรียกว่า พุทโธ พุทโธ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ถ้าเป็นเช่นนั้น เราได้อยู่กับพระพุทธเจ้าแล้ว เราพบพระพุทธเจ้าแล้วเราพบความรู้แล้ว เราพบความสว่างแล้ว ไม่ส่งจิตไปทางอื่น มันรวม อยู่ที่นั่น นั้นเรียกว่าเข้าถึงพระพทธเจ้าของเรา ถึงแม้ว่าท่านปรินิพพานไปแล้ว นั่นก็เป็นพระพุทธรูป เป็นรูปกาย มีรูปแต่พระพุทธเจ้าอย่างแท้จริงนั้นก็คือความรู้อันสว่างไสว อันเบิกอันบานอย่างนี้ พบเช่นนี้เราก็มีอันเดียวเท่านี้ ใหมารวมลงที่นี้

            ฉะนั้น ให้วาง ให้วางทั้งหมด เหลือแต่ความรู้อันเดียว แต่อย่าให้หลงนะ อย่าให้ลืม ถ้าเกิดเป็นนิมิตเป็นรูปเป็นเสียงอะไรมา ก็ให้ปล่อยวางทั้งหมด ไม่ต้องเอาอะไรทั้งนั้นแหละ ไม่ต้องเอาอะไร เอาความรู้อันเดียว ให้มันรู้สึกกับความรู้อันเดียวเท่านั้น ไม่ห่วงข้างหน้า ไม่ห่วงข้างหลังหยุดอยู่กับที่ ผลที่สุดจนกว่าว่าข้างหน้าก็ไม่ไป เดินไปก็ไม่ใช่ ถอยกลับก็ไม่ใช่ หยุดอยู่ก็ไม่ไช่ ไม่มีที่ยึด ไม่มีที่หมาย เพราะอะไร เพราะว่าไม่มีตัวเพราะไม่มีตน ไม่มีเราและไม่มีของของเรา...หมด นี่คือคำสอนพระพุทธเจ้า สอนให้เรา "หมด" ไม่ให้เราคว้าเอาอะไรไป ให้เรารู้อย่างนี้รู้แล้วก็ปล่อย รู้แล้วก็วาง

            บัดนี้มันเป็นภาระของเราคนเดียวเสียแล้วให้เข้าถึงธรรมะอย่างนั้น อันนี้เป็นทางที่เราจะพ้นจากวัฎฏสงสาร พยายามปล่อยวาง ให้เข้าใจ ให้ตั้งอกตั้งใจ พินิจ พิจารณา
อย่าไปห่วงคนโน้น อย่าไปห่วงคนนี้ ลูกก็ดีหลานก็ดี ญาติก็ดี อะไรทั้งหลายทั้งปวงอย่างนั้นอย่าไปห่วงเลย ที่เขายังเป็นอยู่เขาก็เป็นอยู่อนาคตต่อไปเขาก็จะเป็นอย่างนี้ เป็นอย่างคุณยายที่เป็นอยู่อย่างนี้ไม่มีใครจะเหลืออยู่ในโลกนี้ จะต้องเป็นอย่างนั้น อันนี้เป็นสภาวะคือความเป็นจริงที่พระพุทธเจ้าท่านสอน มิฉะนั้น ของที่ไม่มีความจริงอย่างนี้

<< ย้อนกลับ | หน้าถัดไป >>

» การปล่อยวาง

» จิตที่ตื่นรู้

» ตามดูจิต

» สมถวิปัสสนา

» บัว 4 เหล่า

» ธาตุ 4

» มรรค 8

» ทางพ้นทุกข์

» บ้านที่แท้จริง

» ฝึกจิตให้มีกำลัง

» ตุจโฉโปฏฐิละ

» การทำจิตให้สงบ

» อ่านใจธรรมชาติ

» สองหน้าของสัจธรรม

» ทางสายกลาง

» ธรรมะกับธรรมชาติ

» นอกเหตุเหนือผล

» อยู่กับงูเห่า

» ภาวนาพุทโธ

» อยู่เพื่ออะไร

» อยากเกิดแต่ไม่อยากตาย

» ไม่มีอะไรได้ไม่มีอะไรเสีย

» ปลาไม่เห็นน้ำ

» สงบจิตได้ปัญญา

» สมาธิภาวนา

» ธรรมะเชิงอุปมาอุปมัย

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย