ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม >>
สู่ความเป็นพระพุทธบุตร
เมื่อท่านอายุครบบวชแล้ว โยมบิดามารดาได้สอบถามความสมัครใจของท่านในการจะอุปสมบทท่านไม่ขัดข้อง โยมบิดามารดาจึงจัดเตรียมอัฐบริขารการอุปสมบท นำไปอุปสมบทหลวงพ่อเข้าเป็นพระภิกษุในพระบวรพุทธศาสนา ท่านได้เข้าอุปสมบท ณ พัทธสีมา วัดเขาแก้ว อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์ เมื่อวันอาทิตย์ แรม 13 ค่ำ เดือน 11 ปีมะโรง โทศก ตรงกับวันที่ 31ตุลาคม พ.ศ. 2423 โดยมี
- หลวงพ่อแก้ว วัดอินทราราม (วัดใน) เป็นอุปัชฌาย์
- หลวงพ่อเงิน(พระครูพยุหาอนุศาสน์)วัดพระปรางค์เหลือง ตำบลท่าน้ำอ้อย อำเภอพยุหะคีรี (ครูสวด)
- หลวงพ่อเทศ วัดสระทะเล ตำบลสระทะเล อำเภอพยุหะคีรี (คู่สวด) ได้รับฉายาทางพระพุทธศาสนาก็คือ พุทฺธสโร
เมื่ออุปสมบทแล้วได้เดินทางกลับมาจำพรรษาอยู่ ณ วัดหนองโพ
เพื่อศึกษาเล่าเรียนตามทางที่พระนวกะ
จะพึ่งได้รับความยิ่งยงแห่งพระอุปัชฌาย์และคู่สวดของทาง
1. หลวงพ่อแก้ว วัดอินทราราม (วัดใน)
เป็นพระเถระที่มีความคงขลังเป็นที่เคารพนับถือ ของชาวจังหวัดนครสวรรค์
เชี่ยวชาญพระเวทย์วิทยาการ การวิปัสสนากรรมฐาน อิทธิปาฏิหาริย์มากมาย
หลวงพ่อเดิมไปศึกษากับทางหลายอย่าง (โดยเฉพาะ นะ ปัดตลอด)
2. หลวงพ่อเงิน วัดพระปรางค์เหลือง เป็นเจ้าคณะอำเภอพยุหะคีรี
เป็นผู้มีความยิ่งยงในพุทธาคมเป็นอันมากเป็นลูกศิษย์องค์หนึ่งของหลวงพ่อเฒ่า ( รอด)
วัดหนองโพ เชี่ยวชาญทางด้านอาคม ทางวิปัสสนา มีวิชาที่ยอดเยี่ยมเป็นเอกคือ
น้ำมนต์จินดามณีสารพัดนึก ใครได้รดน้ำมนต์จากท่านแล้วจะมีโชคชัย เคราะห์ร้ายหายดี
ปรารถนาทุกประการได้ดั้งประสงค์ เมื่อคราวล้นเกล้ารัชกาลที่ 5
เสด็จประภาสหัวเมืองเหนือ ได้แวะที่วัดพระปรางค์เหลือง และโปรดให้รดน้ำมนต์ถวาย
ดังมีพระราชหัตถ์จดหมายเหตุประภาสต้น เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2449
3.
หลวงพ่อเทศ วัดสระทะเล เป็นพระเถระที่เป็นอมตะ อาคมขลัง วาจาสิทธิ์
เป็นที่ยำเกรงดีทางวิปัสสนา และน้ำมนต์ ตลอดจนมหาอุตม์
ไม่เคยออกของมงคลเป็นรูปท่านนอกจากพระเครื่องบ้างเป็นครั้ง
ว่ากันว่าเมื่อท่านมรณภาพไปแล้ว รูปหล่อก็ถ่ายรูปไม่ติด
และมีการแห่รูปของท่านไปดูงิ้วในงานประจำปีนครสวรรค์เป็นประจำ มีเกร็ดว่า
ทางกรรมการวัดทำเหรียญของท่านไปให้หลวงพ่อเดิมปลุกเสกเพื่อให้เกิดความขลัง
เอาใส่ห่อผ้าขาววางไว้บนพานนำไปถวายท่านหลวงพ่อเดิมรับมาแล้วไม่ได้แก้ห่อออกยกขึ้นเหนือศีรษะของท่าน
แล้วส่งคืนกำชับว่า ของดีแล้วไม่ต้องปลุกเสก ดีอยู่ที่ตัว
ทั้งที่กรรมการวัดก็ได้บอกท่านเลยว่าเป็นของหลวงพ่อเทศ วัดสระทะเล
กรรมการวัดไม่เชื่อเอากลับไปลองยิงปรากฏว่าปืนด้านหมด
การศึกษาหาความรู้ของหลวงพ่อเดิม
ตั้งแต่วัยเด็กมาจนกระทั่งรุ่นหนุ่ม
หลวงพ่อมิเคยได้รับการศึกษาเป็นชิ้นเป็นอันมาก่อนจนกระทั่งได้บวชเรียน
และนำมาจำพรรษาอยู่ที่วัดหนองโพ ท่านจึงมาเรียนเป็นล่ำเป็นสัน
ท่าในมีความมานะพยายามเล่าเรียนศึกษาดังได้เล่าให้ผู้ใกล้ชิดฟังว่า
1. เล่าเรียนคัมภีร์พระธรรมวินัยและท่องคัมภีร์พระธรรมวินัย 10 ผูก
อันเป็นหลักสำคัญของพระนวกะ ในสมัยนั้นจะต้องเรียน
เป็นรากฐานการศึกษาต่อไปในการเป็นนักเทศนา
แตกฉานในภาษาบาลีอันเป็นแกนไปสู่การกระทำวิปัสสนากรรมฐานต่อไป
ท่านเล่าเรียนวิชาการนี้กับหลวงตาชม เจ้าอาวาสวัดหนองโพ
ซึ่งเป็นศิษย์เอกของหลวงพ่อเฒ่ารอด หลวงตาชมชื่นชอบความมานะพยายามของหลวงพ่อเดิมมาก
ได้ทุ่มเทพลังการอบรมวิชาความรู้ที่มีอยู่ให้หลวงพ่อเดิม อย่างหมดไส้หมดพุง
และยังแนะนำสถานศึกษาที่จะเพิ่มเติมให้อีกด้วย รวมเวลาเรียน 7 พรรษา
นับแต่บวชพรรษาแรก
2. เล่าเรียนพระปริยัติธรรมและคาถาอาคมเบื้องต้น
นอกจากจะศึกษากับหลวงตาชมแล้วหลวงพ่อยังได้ไปมอบตัวเป็นศิษย์ของอาจารย์พันธ์
ชูพันธ์ ซึ่งเป็นฆราวาส
เป็นลูกศิษย์สายตรงของหลวงพ่อเฒ่าดังกล่าวแล้วเบื้องต้นอาจารย์พันธ์
เชี่ยวชาญมากทางปริยัติในสมัยนั้นในละแวกใกล้เคียง หาตัวจับยาก
เมื่อหลวงพ่อได้รับการศึกษาจากอาจารย์พันธ์(ฆราวาส) เป็นบันไดก้าวแรก
และก็ทำให้หลวงพ่อเดิมแตกฉานยิ่งขึ้นแต่เป็นที่น่าเสียด้ายว่า
เมื่อหลวงพ่อเดิมได้เล่าเรียนได้ไม่นานนัก
อาจารย์พันธ์ก็ถึงแก่กรรมหลวงพ่อจึงคงเล่าเรียนกับหลวงตาชม
จนในที่สุดก็ได้รับการแนะนำให้ไปเรียนกับ
3. หลวงพ่อมี วัดบ้านบน ต.ม่วงหัก อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์
ท่านได้เล่าเรียนต่อทางพระปริยัติต่อกับหลวงพ่อมี
ได้รับการถ่ายทอดจนก้าวหน้าแตกฉานออกไปอีกจนสิ้น
ความรู้ของหลวงพ่อมีท่านก็ไม่ละความพยายาม ได้เสาะแสวงหาสำนักเรียนต่อ
หลังจากเรียนกับอาจารย์มี 2 พรรษา ได้ย้ายต่อไป
4. อาจารย์แย้ม (ฆราวาส) วัดสระทะเล
ได้เข้าเรียนพระปริยัติขั้นสูงต่อไปกับอาจารย์แย้ม (ฆราวาส)
ซึ่งหลวงพ่อได้ตั้งอกตั้งใจเรียนจนเข้าใจแจ่มแจ้ง
สามารถแปลเข้าสอบเปรียญในสนามหลวงได้ทีเดียว
แต่ท่านกลับหลีกเลี่ยงการแปลธรรมในสนามหลวง
ท่านได้เรียนเพื่อศึกษาหาความรู้เท่านั้นมิได้หวังเปรียญ หรือเป็นมหาแต่อย่างใด
เมื่อเรียนพระปริยัติได้สมบูรณ์แล้ว ท่านรับการแนะนำให้ไปเรียนการเทศนา
เพื่อเผยแพร่ความรู้ที่ท่านได้เรียนมาให้ญาติโยมสาธุชน พ่อแม่ พี่ป้า น้าอา
ได้สดับท่านได้ไปศึกษาวิชาการเป็นนักเทศน์กับ
5. พระอาจารย์นุ่ม วัดเขาทอง
เมื่อได้รับมอบตัวเป็นศิษย์ของพระอาจารย์นุ่ม
วัดเขาทองแล้วก็ได้รับการสั่งสอนถึงการเทศน์
การอ่านใบลานเทศน์และทำนองเทศน์อันเป็นอักขระภาษาบาลี
เป็นหลักสำคัญเนื่องจากท่านมีรากฐานความมั่นคงอยู่แล้วทำให้ง่ายแก่การเรียน
ท่านเล่าเรียนอย่างเอาใจใส่จนหมดความรู้ของหลวงพ่อนุ่ม
ท่านจึงเดินทางกลับสู่วัดหนองโพตามเดิม
6. หลวงพ่อเทศ วัดสระทะเล เมื่อหลวงพ่อเรียนปริยัติแล้ว
ได้ไปศึกษาหาความรู้ทางวิปัสสนากรรมฐานกับหลวงพ่อเทศ วัดสระทะเล
อันเป็นพระคู่สวดของท่าน ได้รับการถ่ายทอดวิชาการทางวิปัสสนาคาถาอาคม
การปลุกเสกเครื่องรางของขลัง ตามที่หลวงพ่อเทศ ถนัดทุกประการ จะเรียนอะไรบ้างนั้น
หลวงพ่อมีได้บอกไว้ละเอียด คงรู้แต่เพียงว่าท่านเรียนกับหลวงพ่อเทศ วัดสระทะเล
7. หลวงพ่อเงิน วัดพระปรางค์เหลือง
ทางวิปัสสนากรรมฐานและการเจริญกษิน และที่แน่นอนคือ
วิชาน้ำมนต์จินดามณีสารพันนึก
เพราะน้ำมนต์ของหลวงพ่อเดิมต่อมาก็คล้ายกับหลวงพ่อเงินวัดพระปรางค์เหลือง
8. หลวงพ่อวัดเขาห่อ อ.ชนแดน บรรพตพิสัย จ.นครสวรรค์
ไม่ทราบชื่อหลวงพ่อแน่นอนแต่ท่านได้ศึกษาวิชาด้วย วิชาใดไม่ปรากฏ
เพียงแต่ท่านพูดถึงอยู่เสมอ
9. หลวงพ่อขำ วัดเขาแก้ว
ได้ยินมาจากบางที่ว่าท่านไปเรียนวิชามีดหมอกับหลวงพ่อขำ วัดเขาแก้ว
เพราะต่อมาท่านชำนาญในเรื่องมีดหมอและมีชื่อเสียงมาก
พอท่านเรียนสำเร็จหลวงพ่อขำก็มรณภาพขาดทายาทสืบต่อไประยะหนึ่ง ต่อมาหลวงพ่อกัน
วัดเขาแก้วจึงตามมาเรียนกับหลวงพ่อเดิม และกลับไปทำมีดหมอที่วัดเขาแก้ว
การเรียนวิชาของหลวงพ่อนับแต่ปริยัติ คาถาอาคม วิปัสสนา และการทำของขลัง
สรุปรวมแล้วกินเวลาถึง 12 ปี นับแต่บวชมาทำให้ท่านมีความรู้มากมาย
เป็นที่เคารพรักของชาวหนองโพทุกคน ซึ่งผู้เฒ่าผู้แก่มักจะคิดกันว่า หลวงพ่อเฒ่ารอด
กับชาติมาเกิดเพื่อดูแลวัดของท่าน
ชีวิตเมื่อเยาว์วัยของหลวงพ่อเดิม
ชีวิตในวัยรุ่นของหลวงพ่อเดิม
สู่ความเป็นพระพุทธบุตร
การศึกษาหาความรู้ของหลวงพ่อเดิม
ปฏิปทา วัตรปฏิบัติของหลวงพ่อเดิม
ล่วงรู้วาระสุดท้าย
มรณะสัญญาณมาถึงหลวงพ่อเดิม
หลวงพ่อเดิมมรณภาพ
อภินิหารครั้งสุดท้ายของหลวงพ่อเดิม
จีวรไม่พอครองศพหลวงพ่อเดิม
น้ำอาบศพเป็นน้ำมนต์ศักดิ์สิทธิ์
อัฐิเถ้าอังคารคนแย่งกันทั้งยังร้อนระอุ