ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม >>

หอพระไตร


บทสวดมนต์ต่างๆ

พระคาถาธรรมบรรยาย

สัพเพ สัตตา มะริสสันติ, สัตว์ทั้งหลายทั้งสิ้นจักตาย,
มะระณัง ตังหิชีวิตัง, เพราะชีวิตมีความตายเป็นที่สุด,
ชะรังปิ ปัตฺวา มะระณัง, แม้อยู่ได้ถึงชราก็ต้องตาย,
เอวัง ธัมมา หิ ปาณิโน. เพราะสัตว์ทั้งหลายมีอย่างนี้เป็นธรรมดา
ยะมะกัง นามะรูปัญจะ, ก็นามและรูปเป็นของคู่กัน,
อุโภ อัญโญญะนิสสิตา, ต่างอาศัยกันและกันทั้งสอง,
เอกัสฺมิง ภิชชะมานัสฺมิง, เมื่อฝ่ายหนึ่งแตกสลาย,
อุโภ ภิชชันติ ปัจจะยา, ทั้งสองฝ่ายอันอาศัยกันก็ต้องสลาย
ยะถาปิ อัญญะตะรัง พีชัง, เปรียบเหมือนพืชชนิดใดชนิดหนึ่ง,
เขตเต วุตตัง วิหูระติ, ที่หว่านลงในนาแล้วย่อมงอกได้,
ปะฐะวีสัญจะ อากัมมะ, เพราะอาศัยรสแห่งแผ่นดิน,
สิเนหัญจะ ตะทูภะยัง, และยางในพืชเป็นสองประการนั้น
เอวัง ขันธา จะ ธาตุโย ฉะจะ อายะตะนะ อิเม
ขันธ์ห้าและธาตุทั้งหลาย ทั้งอายตนะ 6 เหล่านี้ก็เหมือนกัน

เหตุง ปะฎิจจะ สัมภูตา, อาศัยเหตุจึงเกิดขึ้นได้,
เหตุภังคา นิรุชฌะเร, เพราะเหตุแตกสลายก็ย่อมดับไป
ยะถา หิ อังคะสัมภารา, เปรียบเหมือนการคุมสัมภาระเครื่องรถเข้าได้
โหติ สัทโท ระโถ อิติ, เสียงเรียกว่ารถก็มีได้,
เอวัง ขันเธสุ สันเตสุ เมื่อขันธ์ห้ายังมีอยู่ก็เหมือนกัน
โหติ สัตโตติ สัมมะติ, การสมมุติว่าสัตว์ก็มีได้
อุโภ ปุญญัญจะ ปาปัญจะ, ยัง มัจโจ กุรุเต อิธะ,
อันผู้จะต้องตายทำบุญและบาปทั้งสองอย่าง, อย่างใดไว้ในโลกนี้

ตัญหิ ตัสสะ สะกัง โหติ, บุญและบาปนั้นคงเป็นของๆ ผู้นั้นแท้
ตัญจะ อาทายะ คัจฉะติ, ผู้นั้นก็ต้องรับรองบุญและบาปนั้นไป
ตัญจัสสะ อะนุคัง โหติ, บุญและบาปนั้นก็ย่อมติดตามผู้นั้นไป
ฉายาวา อะนุปายินี, เหมือนเงาอันติดตามผู้นั้นไปฉะนั้น
สัทธายะ สีเลนะ จะโย ปะวัฑฒะติ, ผู้ใดเจริญด้วยศรัทธาและศีล
ปัญญายะ จาเคนะ สุเตนะ จูภะยัง, และปัญญา การบริจาค การสดับศึกษาทั้งสองฝ่าย
โส ตาทิโส สัปปุริโส วิจักขะโณ, ผู้นั้นเป็นสัตบุรุษเฉียบแหลมเช่นนั้น
อาทียะติ สาระมิเธวะ อัตตะโน, ย่อมถือไว้ได้ซึ่งสาระประโยชน์ของตนในโลกนี้แท้
อัชเชวะ กิจจะมาตัปปัง, ความเพียรเผากิเลส, พึงเร่งรีบทำเสีย แต่ในวันที่มีชีวิตเป็นอยู่นี้ทีเดียว.
โก ชัญญา มะระณัง สุเว, ใครจะรู้ว่าความตายจะมีมาในวันพรุ่งนี้
นะหิ โน สังคะรันเตนะ, มะหาเสเนนะ มัจจุนา, เราทั้งหลายจะผัดเพี้ยนด้วยมัจจุราช ผู้มีเสนาใหญ่นั้นไปไม่ได้เลย

เอวัม ภูเตสุ เปยเตสุ เมื่อสังขารเหล่านั้นต้องเป็นอย่างนี้แน่แท้แล้ว,
สาธุ ตัตถาชฌุเปกขะนา, การวางอุเบกขาในสังขารเหล่านั้นได้เป็นดี.
อะปิ เตสัง นิโรธายะ ปะฎิปัตติยาติสาธุกัง, อนึ่ง การปฏิบัติเพื่อความสงบสังขารเหล่านั้นได้ ก็ยิ่งเป็นความดี,

สัพพัง สัมปาทะนียัญหิ อัปปะมาเทนะ สัพพะทาติ.
กิจทั้งสิ้นนี้ควรบำเพ็ญให้บริบูรณ์, ด้วยความไม่ประมาทในกาลทุกเมื่อ แล

» ธาตุปฏิกูลปัจจะเวกขะณะปาฐะ

» พระคาถาธรรมบรรยาย

» อารักขะกัมมัฎฐาน

» อะริยะสัจจะคาถา

» คาราวะคาถา

» เทวะตาทิปัตติทานะคาถา

» อะริยะธะนะคาถา

» มนัสการรอยพระพุทธบาท 5 สถาน

» อุณหัสสวิชัยสูตร

» ปัจฉิมะคาถา

» พระพุทธภาษิต

» ขันติกถา

» อานิสงส์การเจริญเมตตา

» ปราภวสุตตปาฐะ

» ปรมกัลยาณมิตตคาถา

» เทวทูตสุตตปาฐะ

» พุทธอุทานคาถา

» ปฐมพุทธภาษิตคาถา

» ปัจฉิมพุทโธวาทวาทะปาฐะ

» ภัทเทกะรัตตะคาถา

» ติลักขะณาทิคาถา

» สังวราสังวรคาถา

» บทพิจารณาตนเองในไตรลักษณ์

» ธัมมปหังสนสูตร

» ธัมมคารวาทิคาถา

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย