ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม >>
ทุกขสัจ-ทุกขทุกข์
ความสุขในชั้นกรรม
ความสุขในชั้นกรรมนั้น ก็เพราะได้ทรงชี้แจงแสดงสอน
ว่าอะไรเป็นกรรมดี อะไรเป็นกรรมชั่ว ตรัสสอนให้ละกรรมชั่ว ให้กระทำกรรมดี
และยังได้ตรัสสอนไว้ด้วยว่า ทุกคนสามารถที่จะละกรรมชั่ว ที่จะกระทำกรรมดีได้
ถ้าหากว่าไม่สามารถพระองค์ก็จะไม่ตรัสสอน แต่เพราะสามารถที่จะละกรรรมชั่ว
พระองค์จึงตรัสสอนให้ละกรรมชั่ว
สามารถที่จะทำกรรมดี พระองค์จึงตรัสสอนให้กระทำกรรมดี อนึ่ง
เพราะเหตุที่ละกรรมชั่วนั้น เป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข
พระองค์จึงตรัสสอนให้ละชั่ว เพราะเหตุที่กระทำกรรมดีนั้น
เป็นไปให้ได้ประโยชน์และความสุข พระองค์จึงตรัสสอนให้กระทำกรรมดี
ถ้าหากว่าละกรรมชั่วไม่เป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลและความสุข
แต่เป็นไปเพื่อความทุกข์เดือดร้อน พระองค์ก็จะไม่ตรัสสอนให้ละกรรมชั่ว
ถ้าหากว่ากระทำกรรมดีจะไม่เป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลและความสุข
แต่เป็นไปเพื่อความทุกข์เดือดร้อน พระองค์ก็จะไม่ตรัสสอนให้กระทำดี ฉะนั้น
การที่พระองค์ทรงสั่งสอนให้ละกรรมชั่ว กระทำกรรมดี
ก็เพราะเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลและความสุข ดังนี้
ในพระโอวาทปาติโมกข์ ก็ได้ทรงวางหลักพระพุทธศาสนา
อันเป็นหลักปฏิบัติธรรม อันนับว่าเป็นหัวใจของการปฏิบัติธรรมในพุทธศาสนาไว้ 3
ประการ คือละอกุศลความชั่ว ทำกุศลความดีให้ถึงพร้อม
และชำระจิตใจของตนให้บริสุทธิ์ผ่องใส ดั่งนี้ เพราะฉะนั้น
จึงสมควรที่จะน้อมรับปฏิบัติตามที่ทรงสั่งสอนนี้
พระญาณ 3
พุทธศาสนาสอนให้พ้นทุกข์
ความสุขในชั้นกรรม
วิธีกำหนดรู้ทุกขสัจจะ
ข้อว่าขันธ์ 5 เป็นทุกข์โดยย่อ