ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม >>
มิลินทปัญหา
ฉบับแปลในมหามกุฏราชวิทยาลัย
วรรคที่หก
6 ฆฏีการปัญหา
พระราชาตรัสถามว่า "พระผู้เป็นเจ้านาคเสน แม้พระพุทธพจน์นี้
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงภาสิตแล้วว่า 'โรงของนายช่างหม้อชื่อฆฏีการ
ได้เป็นโรงมีอากาศเป็นหลังคา ตั้งอยู่แล้วตลอดไตรมาสทั้งปวง และฝนไม่รั่วได้'
ดังนี้ และทรงภาสิตแล้วอีกว่า 'กุฎีของพระตถาคตทรงพระนามว่ากัสสป ฝนรั่วได้'
พระผู้เป็นเจ้านาคเสนกุฎีของพระตถาคตผู้มีกุศลมูลอันหนาขึ้นแล้วอย่างนี้
รั่วได้ เพื่อเหตุอะไร ธรรมดาอานุภาพของพระตถาคตอันบัณฑิตพึงปรารถนา
พระผู้เป็นเจ้านาคเสน
ถ้าว่าโรงของนางช่างหม้อชื่อฆฏีการอันฝนรั่วไม่ได้ได้เป็นโรงมีอากาศเป็นหลังคา
ตั้งอยู่แล้ว, ถ้าอย่างนั้น คำที่ว่า 'กุฎีของพระตถาคตอันฝนรั่วได้' ดังนี้
นั้นผิด ถ้าว่ากุฎีของพระตถาคตอันฝนรั่วได้, ถ้าอย่างนั้น คำที่ว่า
'โรงของนายช่างหม้อชื่อฆฏีการอันฝนรั่วไม่ได้ มีอากาศเป็นหลังคา' ดังนี้
แม้นั้นก็ผิด ปัญหาแม้นี้สองเงื่อน มาถึงพระผู้เป็นเจ้าแล้ว
พระผู้เป็นเจ้าพึงแก้ไขขยายออกให้แจ้งชัดเถิด"
ถ
ขอถวายพระพร แม้พระพุทธพจน์นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วว่า
'โรงของนายช่างหม้อชื่อฆฏีการ ได้เป็นโรงมีอากาศเป็นหลังคา
ตั้งอยู่แล้วตลอดไตรมาสทั้งหวง และฝนได้รั่วได้' ดังนี้ และทรงภาสิตแล้วอีกว่า
'กุฎีของพระตถาคตทรงพระนามว่า กัสสปฝนรั่วได้' ดังนี้
ขอถวายพระพร นายช่างหม้อชื่อฆฏีการเป็นคนมีศีล มีธรรมอันงาม
มีกุศลมูลอันหนาหนักแล้ว เลี้ยงมารดาและบิดาทั้งหลายแก่แล้ว เป็นผู้บอดอยู่,
ชนทั้งหลายไม่บอกกล่าวแล้วเทียว นำหญ้าในเรือนของนายช่างหม้อนั้น
ลับหลังของนายช่างหม้อไปมุงกุฎีของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น,
นายช่างหม้อชื่อฆฏีการนั้น กลับได้ปีติอันไม่หวั่นไหวแล้ว ไม่เขยื้อนแล้ว
ตั้งมั่นด้วยดีแล้ว ไพบูลย์แล้ว ไม่มีวัตถุอันใดเสมอ เพราะอันนำหญ้านั้นไป
และยังโสมนัสยิ่งอันใคร ๆ ชั่งไม่ได้ให้เกิดขึ้นแล้วว่า 'โอหนอ
พระผู้มีพระภาคเจ้าของเรา เป็นผู้สูงสุดในโลก เป็นผู้คุ้นเคยด้วยดีแล้ว' ดังนี้
เพราะเหตุนั้น วิบากเป็นไปในทิฏฐธรรมเกิดขึ้นแล้ว แก่นายช่างหม้อชื่อฆฏีการนั้น
พระตถาคตย่อมไม่หวั่นไหว เพราะวิการเท่านั้นเลย พญาเขาชื่อสิเนรุ
ย่อมไม่หวั่นไหวไม่กระเทือน เพราะลมมีแสนมิใช่แสนเดียวประหารบ้าง,
สาครอันบวรประเสริฐทรงน้ำใหญ่ไว้ ย่อมไม่เต็ม ย่อมไม่วิการ
แม้ด้วยแสนแห่งคงคาใหญ่ มีร้อนแห่งนหุตมิใช่ร้อยเดียว ฉันใด;
พระตถาคตย่อมไม่เขยื้อนเพราะวิการมีประมาณเท่านั้น ฉันนั้นนั่นเทียว
กุฎีของพระตถาคตอันฝนรั่วได้ ด้วยเหตุใด เหตุนั้นเป็นไปแล้ว
ด้วยความไหวตามแก่หมู่แห่งชนใหญ่ พระตถาคตทั้งหลาย
เมื่อพิจารณาเห็นอำนาจแห่งประโยชน์ทั้งหลายสองเหล่านี้
ไม่ส้องเสพปัจจัยที่พระองค์นิรมิตแล้วเอง ด้วยทรงดำริว่า
'พระศาสดานี้เป็นทักขิเณยยบุคคลอันเลิศ' ดังนี้
เทพดาและมนุษย์ทั้งหลายถวายแล้วซึ่งปัจจัยแก่พระผู้มีพระภาคเจ้าจะพ้นจากทุคติทั้งปวง;
บุคคลทั้งหลายอื่นอย่าพึงติเตียนว่า 'พระตถาคตทั้งหลายแสดงปาฏิหาริย์
แสวงหาเครื่องเลี้ยงชีพ' ดังนี้
พระตถาคตทั้งหลายทรงพิจารณาเห็นอำนาจแห่งประโยชน์สองประการเหล่านี้
ย่อมไม่ส้องเสพปัจจัยที่พระองค์นิรมิตแล้วเอง ถ้าว่า
ท้าวสักกะหรือพรหมหรือพระองค์เอง พึงกระทำกุฎีนั้นให้ฝนรั่วไม่ได้
เหตุนั้นเป็นสาวัชชะเป็นไปกับโทษอันบุคคลพึงเว้น เหตุนั้นนั่นแล
เป็นไปกับด้วยโทษ เป็นไปกับด้วยนิคคหะว่า 'พระตถาคตทั้งหลาย
กระทำกรรมอันหยาบยังโลกให้หลงพร้อม ย่อมกระทำกรรมอันบุคคลกระทำยิ่งแล้ว'
เพราะเหตุนั้น เหตุนั้นอันพระตถาคตทั้งหลายพึงเว้น
พระตถาคตทั้งหลายย่อมไม่ขอพัสดุ
พระตถาคตทั้งหลายย่อมเป็นบุคคลไม่ควรบริภาษเพราะไม่ขอพัสดุนั้น"
ร "ดีละ
พระผู้เป็นเจ้านาคเสน ข้อวิสัชนาปัญหานั้นสมอย่างนั้น,
ข้าพเจ้ายอมรับรองอย่างนั้น"
วรรคที่ 1
วรรคที่ 2
วรรคที่ 3
วรรคที่ 4
วรรคที่ 5
วรรคที่ 6
ปฏิปทาโทสปัญหา
นิปปปัญจปัญหา
คิหิอรหัตตปัญหา
โลมกัสสปปัญหา
ฉันททันตโชติปาลอารัพภปัญหา
ฆฏีการปัญหา
ภควโต ราชปัญหา
ทวินนัง พุทธานัง โลเก นุปปัชชนปัญหา
คิหิปัพพชิตสัมมาปฏิปัตติปัญหา
วรรคที่ 7
วรรคที่ 8
วรรคที่ 9