ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม >>
มิลินทปัญหา
ฉบับแปลในมหามกุฏราชวิทยาลัย
วรรคที่หก
9 คิหิปัพพชิตสัมมาปฏิปัตติปัญหา
พระราชาตรัสถามว่า "พระผู้เป็นเจ้านาคเสน พระพุทธพจน์นี้อันพระผู้มีพระภาค
แม้ทรงภาสิตแล้วว่า 'ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราผู้ตถาคตย่อมสรรเสริญสัมมาปฏิบัติ
ของคฤหัสถ์บ้าง ของบรรพชิตบ้าง, ภิกษุทั้งหลาย คฤหัสถ์ก็ดี บรรพชิตก็ดี
เป็นผู้ปฏิบัติชอบแล้วเป็นผู้ยังญายธรรมเป็นกุศลให้บริบูรณ์
มีสัมมาปฏิบัติเป็นเหตุ' ดังนี้
พระผู้เป็นเจ้านาคเสน ถ้าคฤหัสถ์นุ่งขาวบริโภคกามครอบครองที่เป็นที่นอน
มีความคับแคบด้วยลูกและเมีย เสวยอยู่ซึ่งจันทน์ในเมืองกาสี
ทรงระเบียบและของหอมและเครื่องลูบไล้อยู่ ยินดีเงินและทองอยู่
ผูกเกล้าอันวิจิตรด้วยแก้วมณีและทองคำ ปฏิบัติชอบแล้ว
ยังญายธรรมเป็นกุศลให้บริบูรณ์, แม้บรรพชิตเป็นผู้โล้น
นุ่งผ้าอันบุคคลย้อมแล้วด้วยน้ำฝาด เข้าอาศัยบิณฑาหารแห่งบุคคลอื่น
ผู้ทำให้บริบูรณ์ในศีลขันธ์ทั้งหลายสี่โดยชอบ
สมาทานประพฤติอยู่ในสิกขาบททั้งหลายร้อยห้าสิบ
ประพฤติอยู่ในธุดงคคุณทั้งหลายสิบสามไม่เหลือปฏิบัติชอบแล้ว
เป็นผู้ยังญายธรรมเป็นกุศลให้บริบูรณ์
พระผู้เป็นเจ้า ในข้อนั้นใครจะวิเศษกว่ากัน คฤหัสถ์หรือบรรพชิตกรรม คือ
ความเพียร ย่อมเป็นของไม่มีผล บรรพชาไม่มีผล ความรักษาสิกขาบทเป็นหมัน
ความสมาทานคุณธรรมกำจัดกิเลสเป็นของเปล่า;ประโยชน์อะไรด้วยความประพฤติตามเป็นทุกข์ในบรรพชานั้นสุขอันบุคคลพึงได้โดยง่ายทีเดียวไม่ใช่หรือ"
พระเถรเจ้าทูลว่า "ขอถวายพระพร พระพุทธพจน์นี้
พระผู้มีพระภาคเจ้าแม้ภาสิตแล้วว่า 'ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เราผู้ตถาคตย่อมสรรเสริญสัมมาปฏิบัติ ของคฤหัสถ์บ้าง ของบรรพชิตบ้าง,
คฤหัสถ์ก็ดี บรรพชิตก็ดี เป็นผู้ปฏิบัติชอบแล้ว
เป็นผู้ยังญายธรรมเป็นกุศลให้บริบูรณ์ มีสัมมาปฏิบัติเป็นเหตุ'
ข้อนั้นสมอย่างนั้น บุคคลผู้ปฏิบัติชอบแล้วทีเดียว เป็นผู้ประเสริฐสุด
แม้บรรพชิตมาคิดเสียว่า 'เราเป็นบรรพชิต' ดังนี้แล้ว ไม่พึงปฏิบัติโดยชอบ,
บรรพชิตนั้นเป็นผู้ห่างเหินจากความเป็นสมณะเทียว
เป็นผู้ห่างเหินจากความเป็นพราหมณ์เทียว;จะป่วยกล่าวอะไรถึงคฤหัสถ์ที่นุ่งผ้าขาว
แม้คฤหัสถ์เป็นผู้ปฏิบัติชอบแล้ว เป็นผู้ยังญายธรรมเป็นกุศลให้บริบูรณ์ได้
แม้บรรพชิตเป็นผู้ปฏิบัติชอบแล้ว ย่อมเป็นผู้ยังญายธรรมเป็นกุศลให้บริบูรณ์ได้
เออก็ บรรพชิตเทียว เป็นอิสระ เป็นอธิบดีของสามัญ, บรรพชามีคุณมาก
มีคุณเป็นอเนก มีคุณไม่มีประมาณ คุณของบรรพชาอันใคร ๆ
ไม่อาจเพื่อจะกระทำปริมาณได้
เปรียบเหมือนราคาของแก้วมณี ซึ่งให้ความสมประสงค์อันใคร ๆ
ไม่อาจเพื่อจะกระทำปริมาณด้วยทรัพย์ได้ว่า 'มูลค่าของแก้วมณีมีประมาณเท่านี้ ๆ'
ดังนี้ ฉันใด; บรรพชามีคุณมาก มีคุณเป็นอเนก มีคุณไม่มีประมาณ
คุณของบรรพชาอันใคร ๆ ไม่อาจเพื่อจะกระทำปริมาณได้ ฉันนั้น
อีกประการหนึ่ง เปรียบด้วยคลื่นในมหาสมุทร อันใคร ๆ
ไม่อาจเพื่อจะกระทำปริมาณว่า 'คลื่นทั้งหลายในมหาสมุทรเท่านี้' ดังนี้ ฉันใด;
บรรพชามีคุณมาก มีคุณเป็นอเนก มีคุณไม่มีประมาณ คุณทั้งหลายของบรรพชาอันใคร ๆ
ไม่อาจเพื่อจะกระทำปริมาณได้ ฉันนั้น กิจอันใดอันหนึ่งของบรรพชิต
ที่บรรพชิตจำต้องกระทำ กิจทั้งปวงนั้นย่อมสำเร็จฉับพลันไม่ช้า;
ข้อนั้นมีอะไรเป็นเหตุ บรรพชิตมีความปรารถนาน้อย เป็นผู้สันโดษ
เป็นผู้วิเวกแล้ว เป็นผู้ไม่คลุกคลีแล้ว เป็นผู้ปรารภความเพียรแล้ว
เป็นผู้ไม่มีอาลัย เป็นผู้ไม่มีเรือนเป็นที่กำหนด มีศีลบริบูรณ์แล้ว
มีอาจาระเป็นไปเพื่อสัลเลข เป็นผู้ฉลาดในความปฏิบัติกำจัดกิเลส; เพราะเหตุนั้น
กิจอันใดอันหนึ่งของบรรพชิต ที่บรรพชิตจะต้องกระทำ กิจทั้งปวงนั้น
ย่อมสำเร็จฉับพลันไม่ช้า เปรียบเหมือนลูกศรที่ไม่มีปมเรียบขัดดีแล้ว ตรง
ปราศมลทิน อันบุคคลยิงถนัดดีแล้ว ย่อมแล่นสะดวก ฉะนั้น"
ร "ดีละ
พระผู้เป็นเจ้านาคเสน ข้อวิสัชนาปัญหาของพระผู้เป็นเจ้านั้นสมอย่างนั้น,
ข้าพเจ้ายอมรับรองอย่างนั้น"
วรรคที่ 1
วรรคที่ 2
วรรคที่ 3
วรรคที่ 4
วรรคที่ 5
วรรคที่ 6
ปฏิปทาโทสปัญหา
นิปปปัญจปัญหา
คิหิอรหัตตปัญหา
โลมกัสสปปัญหา
ฉันททันตโชติปาลอารัพภปัญหา
ฆฏีการปัญหา
ภควโต ราชปัญหา
ทวินนัง พุทธานัง โลเก นุปปัชชนปัญหา
คิหิปัพพชิตสัมมาปฏิปัตติปัญหา
วรรคที่ 7
วรรคที่ 8
วรรคที่ 9