ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม

หอพระไตร

» พระวินัยปิฎก

» พระสุตตันตปิฎก

» พระอภิธรรมปิฎก

» พระสูตร

พระไตรปิฎกฉบับประชาชน

พระอภิธรรมปิฎก เล่ม ๑

ก. แม่บทหรือบทตั้งฝ่ายอภิธรรม

(อภิธัมมมาติกา)

๑. แม่บท ว่าด้วยการจัดธรรมะเป็นหมวดละ ๓ ข้อ รวม ๒๒ หมวด ( พาวี- สติติกมาติกา ) คือ :-

(๑) ธรรมที่เป็นกุศล ( คือฝ่ายดี ), ธรรมที่เป็นอกุศล ( คือฝ่ายชั่ว ), ธรรมที่เป็นอัพยากฤต ( คือพระผู้มีพระภาคไม่ตรัสชี้ลงไปว่า เป็นฝ่ายดีหรือฝ่ายชั่ว จะว่าเป็นกลาง ๆ ก็ได้ ) .

(๒) ธรรมที่ประกอบด้วยเวทนา ( คือความรู้สึกอารมณ์ ) ที่เป็นสุข, ที่เป็นทุกข์, ที่ไม่ ทุกข์ไม่สุข.

(๓) ธรรมที่เป็นวิบาก ( คือเป็นผล ) ธรรมที่มีผลเป็นธรรมดา ( คือเป็นเหตุ ), ธรรมที่ ไม่เป็นทั้ง ๒ อย่างข้างต้น ( คือไม่ใช่ผล ไม่ใช่เหตุ ),

(๔) ธรรมที่ถูกยึดถือและเป็นที่ตั้งแห่งความยึดถือ, ธรรมที่ไม่ถูกยึดถือ แต่เป็นที่ตั้ง แห่งความยึดถือ, ธรรมที่ไม่ถูกยึดถือและไม่เป็นที่ตั้งแห่งความยึดถือ.

(๕) ธรรมที่เศร้าหมองและเป็นที่ตั้งแห่งความเศร้าหมอง, ธรรมที่ไม่เศร้าหมอง แต่เป็น ที่ตั้งแห่งความเศร้าหมอง, ธรรมที่ไม่เศร้าหมองและไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเศร้าหมอง.

(๖) ธรรมที่มีวิตก ( ความตรึก ) และมีวิจาร ( ความตรอง ), ธรรมที่ไม่มีวิตก ( ความ ตรึก ) มีแต่ เพียงวิจาร ( ความตรอง ), ธรรมที่ไม่มีทั้งวิตก ไม่มีทั้งวิจาร.

(๗) ธรรมที่ประกอบด้วยปีติ ( ความอิ่มใจ ), ธรรมที่ประกอบด้วยความสุข, ธรรมที่ ประกอบด้วยอุเบกขา ( ความวางเฉย ).

(๘) ธรรมที่ละได้ด้วยทัสสนะ ( =การเห็น, คือธรรมที่ละได้ด้วยโสดาปัตติมรรค ), ธรรมที่ละได้ด้วยภาวนา( =การอบรม, คือธรรมที่ละได้ด้วยสกทาคามิมรรค, อนาคามิมรรค, อรหัตตมรรค ), ธรรมที่ละไม่ได้ด้วย ทัสสนะ ละไม่ได้ด้วยภาวนา.

(๙) ธรรมที่มีเหตุอันพึงละได้ด้วยทัสสนะ ( ละได้ด้วยโสดาปัตติมรรค ), ธรรมที่มีเหตุ อันพึงละได้ด้วยภาวนา ( ละได้ด้วยอริยมรรคทั้งสามเบื้องบน ), ธรรมที่มีเหตุอันพึงละไม่ได้ทั้งด้วยทัสสนะทั้งด้วยภาวนา.

(๑๐) ธรรมที่ไปสู่ความสั่งสมกิเลส, ธรรมที่ไม่ไปสู่ความสั่งสมกิเลส, ธรรมที่ไม่เป็น ทั้งสองอย่างนั้น.

(๑๑) ธรรมที่เป็นของพระอริยบุคคลผู้ยังศึกษา (ท่านผู้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติมรรคจนถึง อรหัตตมรรค รวม ๗ ประเภท ), ธรรมที่เป็นของพระอริยบุคคลผู้ไม่ต้องศึกษา ( ผู้บรรลุอรหัตตผลแล้ว ), ธรรมที่ไม่เป็นทั้งสอง อย่างนั้น.

(๑๒) ธรรมที่เป็นของเล็กน้อย ( =ปริตตะ คือเป็นกามาวจร ยังท่องเที่ยวอยู่ในกาม ), ธรรมที่เป็นของใหญ่ ( =มหัตคตะ คือเป็นรูปฌานหรืออรูปฌาน ), ธรรมที่ไม่มีประมาณ ( คือเป็นโลกุตตรธรรม ได้แก่ มรรค, ผล, นิพพาน ).

(๑๓) ธรรมที่มีอารมณ์เล็กน้อย, ธรรมที่มีอารมณ์ใหญ่, ธรรมที่มีอารมณ์ไม่ประมาณ.

(๑๔) ธรรมอันเลว ( อกุศลธรรม ), ธรรมอันปานกลาง ( ธรรมที่เป็นกุศลและอัพยากฤต ที่ยังมีอาสวะ ), ธรรมอันประณีต ( โลกุตตรธรรม ).

(๑๕) ธรรมที่เป็นฝ่ายผิดและแน่นอน, ธรรมที่เป็นฝ่ายถูกและแน่นอน, ธรรมที่ไม่แน่ นอน.

(๑๖) ธรรมที่มีมรรคเป็นอารมณ์, ธรรมที่มีมรรเป็นเหตุ, ธรรมที่มีมรรคเป็นใหญ่ ( อธิบดี ).

(๑๗) ธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว, ธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้น, ธรรมที่จักเกิดขึ้น.

(๑๘) ธรรมที่เป็นอดีต, ธรรมที่เป็นอนาคต, ธรรมที่เป็นปัจจุบัน.

(๑๙) ธรรมที่มีอารมณ์เป็นอดีต, ธรรมที่มีอารมณ์เป็นอนาคต, ธรรมที่มีอารมณ์เป็น ปัจจุบัน.

(๒๐) ธรรมที่เป็นภายใน, ธรรมที่เป็นภายนอก, ธรรมที่เป็นภายในและภายนอก.

(๒๑) ธรรมที่มีอารมณ์ภายใน, ธรรมที่มีอารมณ์ภายนอก, ธรรมที่มีอารมณ์ภายใน และภายนอก.

(๒๒) ธรรมที่เห็นได้และถูกต้องได้, ธรรมที่เห็นไม่ได้ แต่ถูกต้องได้, ธรรมที่เห็น ไม่ได้และถูกต้องไม่ได้.

๒. แม่บทหรือบทตั้ง ว่าด้วยกลุ่มเหตุ ( เหตุโคจฉกะ )

มี ๖ คู่ คือ ๑. ธรรมที่เป็นเหตุ, ธรรมที่มิใช่เหตุ ; ๒. ธรรมที่มีเหตุ, ธรรมที่ไม่มีเหตุ เป็นต้น.

๓. แม่บทหรือบทตั้งหมวดสองข้อไม่สัมพันธ์กัน คู่น้อย ( จูฬันตรทุกะ)

มี ๗ คู่ คือ ๑. ธรรมที่มีปัจจัย, ธรรมที่ไม่มีปัจจัย ; ๒. ธรรมที่เป็นสังขตะ ( ถูก ปัจจัยปรุงแต่ง ) ; ธรรมที่เป็นอสังขตะ ( ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง ) เป็นต้น.

๔. แม่บทหรือบทตั้ง ว่าด้วยกลุ่มอาสวะ ( อาสวโคจฉกะ )

มี ๖ คู่ คือ ๑. ธรรมที่เป็นอาสวะ ( กิเลสที่ดองสันดาน ), ธรรมที่มิใช่อาสวะ ; ๒. ธรรมที่อาสวะ, ธรรมที่ไม่มีอาสวะ เป็นต้น.

๕. แม่บทหรือบทตั้ง ว่าด้วยกลุ่มสัญโญชน์ ( สัญโญชนโคจฉกะ )

มี ๖ คู่ คือ ๑. ธรรมที่เป็นสัญโญชน์ ( กิเลสเครื่องผูกมัด ), ธรรมที่ไม่เป็นสัญโญชน์ ; ๒. ธรรมที่เป็นที่ตั้งแห่งสัญโญชน์, ธรรมที่ไม่เป็นที่ตั้งแห่งสัญโญชน์ เป็นต้น.

๖. แม่บทหรือบทตั้ง ว่าด้วยกลุ่มคันถะ ( คันถโคจฉกะ )

มี ๖ คู่ คือ ๑. ธรรมอันเป็นคันถะ ( กิเลสเครื่องร้อยรัด ), ธรรมที่ไม่เป็นคันถะ ; ๒. ธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งคันถะ, ธรรมอันไม่เป็นที่ตั้งแห่งคันถะ เป็นต้น.

๗. แม่บทหรือบทตั้ง ว่าด้วยกลุ่มโอฆะ ( โอฆโคจฉกะ )

มี ๖ คู่ คือ ๑. ธรรมอันเป็นโอฆะ ( กิเลสเครื่องทำสัตว์ให้จมลงในวัฏฏะ คือความ เวียนว่ายตายเกิด ), ธรรมอันไม่เป็นโอฆะ ; ๒. ธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งโอฆะ, ธรรมอันไม่เป็นที่ตั้งแห่งโอฆะ เป็นต้น.

๘. แม่บทหรือบทตั้ง ว่าด้วยกลุ่มโยคะ ( โยคโคจฉกะ )

มี ๖ คู่ คือ ๑. ธรรมอันเป็นโยคะ ( กิเลสเครื่องประกอบหรือผูกสัตว์ไว้ในวัฏฏะ), ธรรมที่ไม่เป็นโยคะ ; ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งโยคะ, ธรรมอันไม่เป็นที่ตั้งแห่งโยคะ เป็นต้น.

๙. แม่บทหรือบทตั้ง ว่าด้วยกลุ่มนีวรณ์ ( นีวรณโคจฉกะ )

มี ๖ คู่ คือ ๑. ธรรมอันเป็นนีวรณ์ ( กิเลสเครื่องกั้นจิตรัดรึงจิต ), ธรรมอันไม่เป็น นีวรณ์ ; ๒. ธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งนีวรณ์, ธรรมอันไม่เป็นที่ตั้งแห่งนีวรณ์ เป็นต้น.

๑๐. แม่บทหรือบทตั้ง ว่าด้วยกลุ่มปรามาส ( ปรามาสโคจฉกะ )

มี ๕ คู่ คือ ๑. ธรรมอันเป็นปรามาส ( กิเลสเครื่องจับต้องในทางที่ผิดความจริง ), ธรรมอันไม่เป็นปรามาส เป็นต้น.

๑๑. แม่บทหรือบทตั้งหมวดสองข้อที่ไม่สัมพันธ์กัน คู่ใหญ่ ( มหันตรทุกะ )

มี ๑๔ คู่ คือ ๑. ธรรมที่มีอารมณ์, ธรรมที่ไม่มีอารมณ์ ; ๒. ธรรมที่เป็นจิต, ธรรมที่ มิใช่จิต เป็นต้น. ( ได้แปลคำอธิบายธรรมเหล่านี้ไว้เพียง ๙ คู่ ในหน้าในข้อความน่ารู้จากไตรปิฎก หมายเลข ๘๖-๙๔ เป็นการแปลตามคำ อธิบายแบบสั้น จากอัตถุทธารกัณฑ์ เล่มที่ ๓๔ นี้เอง ).

๑๒. แม่บทหรือบทตั้ง ว่าด้วยอุปาทาน ( อุปาทานโคจฉกะ )

มี ๖ คู่ คือ ๑. ธรรมอันเป็นอุปาทาน ( เป็นเหตุยึดถือ ), ธรรมอันไม่เป็นอุปาทาน ; ๒. ธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน, ธรรมอันไม่เป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน เป็นต้น.

๑๓. แม่บทหรือบทตั้ง ว่าด้วยกิเลส ( กิเลสโคจฉกะ )

มี ๘ คู่ คือ ๑. ธรรมอันเป็นกิเลส ( เครื่องทำใจให้เศร้าหมอง ), ธรรมอันไม่เป็นกิเลส ; ๒. ธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งกิเลส, ธรรมอันไม่เป็นที่ตั้งแห่งกิเลส.

๑๔. แม่บทหรือบทตั้ง ว่าด้วยหมวด ๒ อันรั้งท้าย ( ปิฏฐิทุกะ )

มี ๑๘ คู่ คือ ๑. ธรรมที่พึงละด้วยทัสสนะ ( ละด้วยการเห็น คือละด้วยโสดาปัตติ มรรคอันเห็นนิพพาน ), ธรรมที่ไม่พึงละด้วยทัสสนะ ; ๒. ธรรมที่พึงละด้วยการเจริญ ( ละด้วยการเจริญ คืออริยมรรคทั้งสาม เบื้องบน, ธรรมที่ไม่พึงละด้วยการเจริญ เป็นต้น.

( จบแม่บทฝ่ายอภิธรรม )

<< ย้อนกลับ  ||  หน้าถัดไป  >>

- อภิธรรม ๗ คัมภีร์
- ธัมมสังคณี
- แม่บทหรือบทตั้งฝ่ายอภิธรรม
- แม่บทหรือบทตั้งฝ่ายพระสูตร
- คำอธิบายเรื่องจิตเกิด
- การนับจำนวนจิต
- ธรรมะประกอบกับจิต
- อกุศลจิต ๑๒
- อัพยากตจิต ๕๖
- วิบากจิตฝ่ายอกุศล
- กิริยาจิต ๒๐
- คำอธิบายเรื่องรูป
- คำอธิบายบทตั้งอย่างย่อ


» พระอภิธรรมปิฎก เล่ม ๑

» พระอภิธรรมปิฎก เล่ม ๒

» พระอภิธรรมปิฎก เล่ม ๓

» พระอภิธรรมปิฎก เล่ม ๔

» พระอภิธรรมปิฎก เล่ม ๕

» พระอภิธรรมปิฎก เล่ม ๖

» พระอภิธรรมปิฎก เล่ม ๗

» พระอภิธรรมปิฎก เล่ม ๘

» พระอภิธรรมปิฎก เล่ม ๙

» พระอภิธรรมปิฎก เล่ม ๑๐

» พระะอภิธรรมปิฎก เล่ม ๑๑

» พระอภิธรรมปิฎก เล่ม ๑๒

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย