ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม

หอพระไตร

» พระวินัยปิฎก

» พระสุตตันตปิฎก

» พระอภิธรรมปิฎก

» พระสูตร

พระไตรปิฎกฉบับประชาชน

พระอภิธรรมปิฎก เล่ม ๓

เล่มที่ ๓๖

ธาตุกถา

ธาตุกถาแบ่งออกเป็น ๒ ส่วน คือเป็น มาติกาหรือบทตั้ง ส่วนหนึ่ง, เป็น นิทเทสหรือคำอธิบายบทตั้ง อีกส่วนหนึ่ง เนื่องจากบทตั้งพูดไว้รวม ๆ ในบทอธิบาย จึงพยายามจัดหัวข้อของบทตั้ง เพื่อสะดวกในการอธิบายไว้ ๑๔ บทดังต่อไปนี้

๑. บทว่าด้วยการสงเคราะห์เข้ากันได้ กับสงเคราะห์เข้ากันไม่ได้ ( สังคหาสังคหาบท )

๒. บทว่าด้วยธรรมที่เข้ากับอย่างหนึ่งได้แล้ว แต่เข้ากับอย่างอื่นไม่ได้( สังคหิเตน อสังคหิตบท )

๓. บทว่าด้วยธรรมที่เข้ากับอย่างหนึ่งไม่ได้ แต่เข้ากับอย่างอื่นได้( อสังคหิเตน สังคหิตบท )

๔. บทว่าด้วยธรรมที่เข้ากับอย่างหนึ่งได้แล้ว ยังเข้ากับอย่างอื่นได้ด้วย( สังคหิเตน สังคหิตบท )

๕. บทว่าด้วยธรรมที่เข้ากับอย่างหนึ่งไม่ได้ ทั้งยังเข้ากับอย่างอื่นไม่ได้ด้วย( อสังคหิเตน อสังคหิตบท )

๖. บทว่าด้วยการประกอบกันได้ กับประกอบกันไม่ได้( สัมปโยควิปปโยคบท )

๗. บทว่าด้วยธรรมที่ประกอบกับอย่างหนึ่งได้แล้ว แต่ประกอบกับอย่างอื่นไม่ได้ ( สัมปยุตเตน อสัมปยุตตบท)

๘. บทว่าด้วยธรรมที่ประกอบกับอย่างหนึ่งไม่ได้ แต่ประกอบกับอย่างอื่นได้ ( อสัมปยุตเตน สัมปยุตตบท)

๙. บทว่าด้วยธรรมที่ประกอบกับอย่างหนึ่งได้แล้ว ยังประกอบกับอย่างอื่นได้ด้วย ( สัมปยุตเตน อสัมปยุตตบท)

๑๐. บทว่าด้วยธรรมที่ประกอบกับอย่างหนึ่งไม่ได้ ทั้งยังประกอบกับอย่างอื่นไม่ได้ด้วย (อสัมปยุตเตน อสัมปยุตตบท)

๑๑. บทว่าด้วยธรรมที่ เข้ากันได้ กับอย่างหนึ่งแล้ว ประกอบกันได้หรือ ประกอบกันไม่ได้ กับอะไร( สังคหิเตน- สัมปยุตตวิปปยุตตบท )

๑๒. บทว่าด้วยธรรมที่ ประกอบกันได้ กับอย่างหนึ่งแล้ว เข้ากันได้หรือ เข้ากันไม่ได้ กับอะไร( สัมปยุตเตน สังค-หิตาสังคหิตบท )

๑๓. บทว่าด้วยธรรมที่ เข้ากันไม่ได้ กับอย่างหนึ่งแล้ว ประกอบกันได้หรือ ประกอบกันไม่ได้ กับอะไร( อสังคหิเตน สัมปยุตตวิปปยุตตบท )

๑๔. บทว่าด้วยธรรมที่ ประกอบกันไม่ได้ กับอย่างหนึ่งแล้ว เข้ากันได้หรือ เข้ากันไม่ได้ กับอะไร( อสัมปยุตเตน สังคหิตาสังคหิตบท )

จากบทตั้ง ๑๔ ข้อเหล่านี้ ถ้าท่านผู้อ่านพยายามเข้าใจความหมายของคำว่า เข้ากันได้ ( คือเป็นประเภทเดียวกัน ) ประกอบกันได้( คือเกิดดับพร้อมกัน ) ให้ดีแล้ว ก็จะเห็นว่าเป็นการวิเคราะห์อย่าง ละเอียดลออเพียงไร ต่อไปนี้จะแสดงตัวอย่างประกอบเพียง ๖ ข้อเป็นลำดับไป.

ตัวอย่างข้อที่ ๑
( การเข้ากันได้กับการเข้ากันไม่ได้ )

กองรูป ( รูปขันธ์ ) เข้ากันได้ กับขันธ์หนึ่ง ( คือรูปขันธ์ ), เข้ากันได้ กับอายตนะ ๑๑ ( เว้นอายตนะคือใจ ), เข้ากันได้ กับธาตุ ๑๑ ( เว้นมโนธาตุ กับวิญญาณธาตุทั้งหก ) ; เข้ากันไม่ได้ กับขันธ์ ๔ ( เวทนา, สัญญา, สังขาร, วิญญาณ, ซึ่งเป็นนาม ) เข้ากันไม่ได้ กับอายตนะ ๑ ( อายตนะคือใจ ) เข้ากันไม่ได้กับธาตุ ๗ ( มโนธาตุกับวิญญาณธาตุทั้งหก ).

ตัวอย่างข้อที่ ๒
( เข้ากับอย่างหนึ่งได้ แต่เข้ากับอย่างอื่นไม่ได้ )

ธรรมที่เข้ากันได้กับอายตนะ คือ ตา, รูป ; หู, เสียง ; จมูก, กลิ่น ; ลิ้น, รส ; กาย, สิ่งที่ถูก ต้องได้ด้วยกาย ( โผฏฐัพพะ ). ธรรมที่เข้ากันได้กับธาตุ คือ ตา, รูป ; หู, เสียง ; จมูก, กลิ่น ; ลิ้น, รส ; กาย. โผฏฐัพพะ โดย การสงเคราะห์เข้ากันได้โดยขันธ์ สงเคราะห์เข้ากันไม่ได้ โดยอายตนะและโดยธาตุ ธรรมเหล่านั้นสงเคราะห์เข้ากันไม่ได้กับขันธ์ ๔ ( เวทนา, สัญญา, สังขาร, วิญญาณ ). เข้ากันไม่ได้กับอายตนะ ๒ ( อายตนะคือใจ, อายตนะคือธรรม ) เข้ากันไม่ได้กับธาตุ ๘ ( วิญญาณธาตุ ๖, มโนธาตุ, ธัมมธาตุ ).

ตัวอย่างข้อที่ ๓
เข้ากันไม่ได้กับสิ่งหนึ่ง แต่เข้ากันได้กับสิ่งอื่น ๆ

ธรรมที่เข้ากันไม่ได้กับเวทนาขันธ์, สัญญาขันธ์, สังขารขันธ์ ; ธรรมที่เข้ากันไม่ได้กับ สมุทยสัจจ์, มัคคสัจจ์ โดยขันธสงเคราะห์ ( โดยการจัดประเภทเข้ากันทางขันธ์ ) แต่เข้ากันได้ โดยอายตนสงเคราะห์ และ โดยธาตุสงเคราะห์ ( โดยการจัดประเภทเข้ากันทางอายตนะและทางธาตุ ). ธรรมเหล่านั้นเว้นอสังขตะ ( พระนิพพาน ) ซึ่งเข้ากัน ไม่ได้โดยขันธ์ ย่อมเข้ากันไม่ได้กับขันธ์ ๓ เข้ากันได้กับอายตนะ ๑ ( ธัมมายตนะ ), เข้ากันได้กับธาตุ ๑ ( ธัมมธาตุ ).

ตัวอย่างข้อที่ ๔
( เข้ากันได้กับสิ่งหนึ่ง ทั้งเข้ากันได้กับสิ่งอื่นด้วย )

ก. ธรรมเหล่าใด เข้ากันได้กับสมุทยสัจจ์ เข้ากันได้กับมัคคสัจจ์ โดยขันธสงเคราะห์ โดย อายตนสงเคราะห์ โดยธาตุสงเคราะห์ ( โดยการจัดประเภทเข้ากันทางขันธ์, อายตนะ, ธาตุ ).

ข. ธรรมเหล่าใด เข้ากันได้กับธรรมเหล่านั้น ( ที่กล่าวในข้อ ก. ) โดยจัดประเภทเข้ากับทาง ขันธ์, อายตนะ, ธาตุ.

ค. ธรรมเหล่านั้น ( ทั้งข้อ ก. และข้อ ข. ) เข้ากันได้กับขันธ์ ๑, อายตนะ ๑, ธาตุ ๑.

(หมายเหตุ : อรรถกถาอธิบายว่า เป็นการยกเอาส่วนใดส่วนหนึ่ง ที่เข้ากันได้ทั้งใน ฐานะเป็นขันธ์ เป็นอายตนะ เป็นธาตุ เพราะฉะนั้น จึงพึงเข้าใจว่าในข้อ ก. ธรรมที่เข้ากันได้กับสมุทยสัจจ์ กับธรรมที่เข้ากันได้ กับมรรคสัจจ์ เป็นต่างฝ่ายกัน )

ตัวอย่างข้อที่ ๕
( เข้ากันไม่ได้กับสิ่งหนึ่ง เข้ากันไม่ได้กับสิ่งอื่นด้วย )

ก. ธรรมเหล่าใด เข้ากันไม่ได้กับรูปขันธ์ โดยการจัดประเภทเข้ากันทางขันธ์, ทางอายตนะ, ทางธาตุ.

ข. ธรรมเหล่าใด เข้ากันไม่ได้กับธรรมเหล่านั้น ( ในข้อ ก. ) โดยจัดประเภทเข้ากันทางขันธ์, ทางอายตนะ, ทางธาตุ.

ค. ธรรมเหล่านั้น เข้ากันไม่ได้กับขันธ์ ๑, เข้ากันไม่ได้อายตนะ ๑, เข้ากันไม่ได้กับธาตุ ๗.

(หมายเหตุ : อรรถกถาอธิบายข้อความข้างบนนี้เป็น ๒ นัย ได้ผลคือคำตอบตรงกัน กล่าวคือนัยที่ ๑ ขันธ์ ๔ ( เว้นรูปขันธ์ ) และนิพพาน เข้ากันไม่ได้กับรูปขันธ์ โดยการจัดประเภทเข้ากันทางขันธ์ แต่ ธรรมเหล่านั้น เว้นวิญญาณ เข้ากันได้ ( กับรูป ) โดยการจัดประเภทเข้ากันทางอายตนะและธาตุ เพราะฉะนั้น วิญญาณจึงเข้า กันไม่ได้ ( กับรูป ) โดยการจัดประเภททั้งทางขันธ์อายตนะและธาตุ. ขันธ์ ๔ ( เว้นวิญญาณ ) และนิพพาน เข้าไม่ได้กับ วิญญาณ โดยการจัดประเภททางขันธ์ เป็นต้น อนึ่ง ธรรมเหล่านั้นทั้งหมด เข้ากันไม่ได้กับวิญญาณอย่างเดียว โดยการจัด ประเภททางขันธ์ เป็นต้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าเข้ากันไม่ได้กับขันธ์ ๑ ( คือวิญญาณขันธ์ ), เข้ากันไม่ได้กับอายตนะ ๑ ( คือ มนายตนะ ) เข้ากันไม่ได้กับธาตุ ๗ ( คือวิญญาณธาตุ ๖ มโนธาตุ ๑ ). นัยที่ ๒ วิญญาณเข้ากันไม่ได้กับรูปขันธ์ โดย การสงเคราะห์ทั้งสามประเภท, รูปธรรมจึงเข้ากันไม่ได้กับวิญญาณธรรม โดยการสงเคราะห์ทั้งสามประเภท. วิญญาณเป็นขันธ์ เดียว คือวิญญาณขันธ์เป็นอายตนะเดียว คือมนายตนะ กล่าวโดยธาตุ เป็นวิญญาณธาตุ ๗ ).

ตัวอย่างข้อที่ ๖
( การประกอบกัน และการไม่ประกอบกัน )

รูปขันธ์ ที่ประกอบกับขันธ์, อายตนะ, ธาตุใด ๆ ไม่มี ( ไม่เกิดกันกับพร้อมกับอะไร ), ไม่ ประกอบกับขันธ์ ๔ ( เว้นรูปขันธ์ ), ไม่ประกอบกับอายตนะ ๑ ( คือมนายตนะ ), ไม่ประกอบกับธาตุ ๗ ( วิญญาณธาตุ ๖ มโนธาตุ ๑ หรือจะเรียกว่าวิญญาณธาตุทั้งเจ็ดก็ได้ ), ไม่ประกอบกับธรรมใด ๆ ที่เนื่องด้วยอยาตนะ ๑ เนื่องด้วยธาตุ ๑ (คือไม่ ประกอบด้วยเวทนา, สัญญา, สังขาร, ที่เนื่องด้วยธัมมายตนะและธัมมธาตุ ),

ได้แสดงให้เห็นตัวอย่างในธาตุกถามาพอสมควรแล้ว อีก ๘ ข้อ ที่เหลือพึงทราบโดยพิจารณา จากตัวอย่างที่กล่าวมาแล้ว.

<< ย้อนกลับ  ||  หน้าถัดไป  >>

- ธาตุกถา
- ปุคคลบัญญัติ


» พระอภิธรรมปิฎก เล่ม ๑

» พระอภิธรรมปิฎก เล่ม ๒

» พระอภิธรรมปิฎก เล่ม ๓

» พระอภิธรรมปิฎก เล่ม ๔

» พระอภิธรรมปิฎก เล่ม ๕

» พระอภิธรรมปิฎก เล่ม ๖

» พระอภิธรรมปิฎก เล่ม ๗

» พระอภิธรรมปิฎก เล่ม ๘

» พระอภิธรรมปิฎก เล่ม ๙

» พระอภิธรรมปิฎก เล่ม ๑๐

» พระะอภิธรรมปิฎก เล่ม ๑๑

» พระอภิธรรมปิฎก เล่ม ๑๒

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย