ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม

หอพระไตร

» พระวินัยปิฎก

» พระสุตตันตปิฎก

» พระอภิธรรมปิฎก

» พระสูตร

พระไตรปิฎกฉบับประชาชน

พระอภิธรรมปิฎก เล่ม ๖

เล่มที่ ๓๙

๑. จิตตยมก

ธรรมเป็นคู่คือจิต

หัวข้อใหญ่ของจิตยมก คือ อุทเทส หรือบทตั้ง กับ นิทเทส หรือบทอธิบาย แล้วมีหัวข้อย่อยที่บทตั้ง และคำอธิบายเกี่ยวข้องด้วย ๔ วาระ คือ

๑. ปุคคลวาร วาระว่าด้วยบุคคล
๒. ธัมมวาร
วาระว่าด้วยธรรม
๓. ปุคคลธัมมวาร
วาระว่าด้วยบุคคลและธรรม
๔. มิสสกวาร
วาระว่าด้วยจิตที่ผสมด้วยกิเลส.

ก. อุทเทสหรือบทตั้ง

๑. ปุคคลวาร วาระว่าด้วยบุคคล จิตของบุคคลใดย่อมเกิดขึ้น ยังไม่ดับ จิตของบุคคลนั้นจักดับ จักไม่เกิดขึ้น อนึ่ง จิตของบุคคลใดจักดับ จักไม่เกิดขึ้น จิตของบุคคลนั้นย่อมเกิดขึ้น ยังไม่ดับ ฯ ล ฯ

๒. ธัมมวารวาระว่าด้วยธรรม จิตย่อมเกิดขึ้นยังไม่ดับ จิตนั้นจักดับ จักไม่เกิดขึ้น อนึ่ง จิตใด จักดับ จักไม่เกิดขึ้น จิตนั้นย่อมเกิดขึ้น ยังไม่ดับฯ ล ฯ

๓. ปุคคลธัมมวารวาระว่าด้วยบุคคลและธรรม จิตใดของบุคคลใดย่อมเกิดขึ้น ยังไม่ดับ จิตนั้นของบุคคลนั้นจักดับ จักไม่เกิดขึ้น อนึ่ง จิตใดของบุคคลใดจักดับ จักไม่เกิดขึ้น จิตนั้นของบุคคลนั้น ย่อมเกิด ยังไม่ดับ . ฯลฯ

๔. มิสสกวารวาระว่าด้วยจิตที่ผสมด้วยกิเลส จิตอันมีราคะของผู้ใดย่อมเกิดขึ้น ; จิตปราศจากราคะของผู้ใดย่อมเกิดขึ้น ; ฯ ล ฯ จิตนั้น ๆ ของผู้นั้นจักดับ จักไม่เกิดขึ้น อนึ่ง จิตนั้น ๆ ของผู้ใดจักดับ จักไม่เกิดขึ้น จิตนั้น ๆ ของผู้นั้นย่อมเกิดขึ้น ยังไม่ดับ ฯ ล ฯ

ข. นิทเทส หรือบทอธิบาย

๑. บทนำตั้งในปุคคลวารมาตั้งคำถามว่า เป็นเช่นนั้นใช่หรือไม่ แล้วตอบว่า ในขณะเกิดขึ้น แห่งจิตสุดท้าย จิตของผู้นั้นย่อมเกิดขึ้น ยังไม่ดับ ( แต่ ) จักดับ จักไม่เกิดขึ้น. ในขณะเกิดขึ้นแห่งจิตของบุคคลนอกนี้ จิตของเขาย่อมเกิดขึ้น ยังไม่ดับ ( แต่ ) จักดับด้วย จักเกิดขึ้นด้วย ฯ ล ฯ

๒. บทนำตั้งในธัมมวารมาตั้งเป็นคำถามว่า เป็นเช่นนั้นใช่หรือไม่ แล้วตอบว่า ใช่ แต่ในกรณีที่ว่าจิตใดย่อมไม่เกิดขึ้น ย่อมดับ จิตนั้นจักไม่ดับ จักเกิดขึ้น ดังนี้ ตอบว่า ไม่ใช่อย่างนั้น และในกรณีที่ว่าจิตใด จักไม่ดับ จักเกิดขึ้น จิตนั้นย่อมไม่เกิด ( แต่ ) ย่อมดับ ดังนี้ ตอบว่า ไม่มี .

๓. นำบทตั้งในปุคคลธัมมวารมาตั้งเป็นคำตอบแล้วตอบเช่นเดียวกับในธัมมวาร.

๔. บทอธิบายในมิสสกวาร มิได้ตั้งเป็นคำถามตอบ แต่กล่าวว่า เมื่ออธิบายถึงจิตของบุคคลใดโดยภาวะของตน เมื่ออธิบายถึงจิตใดและจิตของบุคคลใด โดยอรรถอันเดียวกัน ( กล่าวย้อนไปถึงวารทั้งสามข้างต้น ) บุคคลใดมีจิตประกอบด้วยราคะ ฯ ล ฯ มีธรรมอันไม่มีข้าศึก ธรรมที่เป็นคู่ ( ยมก ) ๓ ประการ คือ มูลยมก ( ธรรมที่เป็นคู่อันเป็นมูล ) จิตตตยมก ( ธรรมที่เป็นคู่คือจิต ) ธัมมยมก ( ธรรมที่เป็นคู่คือธรรม ) ย่อมเป็นไป จนถึงธรรมที่มีข้าศึกและไม่มีข้าศึก ( คือเมื่อกล่าวถึงจิตของบุคคลมีราคะ จนถึงไม่มีข้าศึก ย่อมเข้าในลักษณะยมก ๓ ประการ )

<< ย้อนกลับ  ||  หน้าถัดไป  >>

- จิตตยมก
- ธัมมยมก
- อินทริยยมก


» พระอภิธรรมปิฎก เล่ม ๑

» พระอภิธรรมปิฎก เล่ม ๒

» พระอภิธรรมปิฎก เล่ม ๓

» พระอภิธรรมปิฎก เล่ม ๔

» พระอภิธรรมปิฎก เล่ม ๕

» พระอภิธรรมปิฎก เล่ม ๖

» พระอภิธรรมปิฎก เล่ม ๗

» พระอภิธรรมปิฎก เล่ม ๘

» พระอภิธรรมปิฎก เล่ม ๙

» พระอภิธรรมปิฎก เล่ม ๑๐

» พระะอภิธรรมปิฎก เล่ม ๑๑

» พระอภิธรรมปิฎก เล่ม ๑๒

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย