ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม

หอพระไตร

» พระวินัยปิฎก

» พระสุตตันตปิฎก

» พระอภิธรรมปิฎก

» พระสูตร

พระไตรปิฎกฉบับประชาชน

พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗

เล่มที่ ๒๕

ชื่อขุททกนิกาย

๔.อิติวุตตกะ

ทุกนิบาต

ชุมนุมธรรมะที่มี ๒ ข้อ

๑. " ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๒ อย่างแล้ว ย่อมอยู่เป็นทุกข์ ข้องขัดเดือดร้อนในปัจจุบัน ตายไปแล้วก็หวังทุคคติ ( ที่ไปอันชั่ว ) ได้.

ธรรม ๒ อย่าง คือ ความไม่สำรวมอินทรีย์ กับ ความไม่รู้ประมาณในโภชนะ คืออาหารที่กินเข้าไป. " ( ฝ่ายดีคือที่ตรงกันข้าม ).

๒. " ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ธรรมะ ๒ อย่างเหล่านี้ ทำความเดือดร้อนให้ คือบุคคลบางคนในโลกนี้ ไม่ทำความ ดี, ทำความชั่วไว้ ผู้นั้นย่อมเดือดร้อนว่า เรามิได้ทำความดีไว้, ย่อมเดือดร้อนว่า เราได้ทำความชั่วไว้. " ( ธรรมะที่ไม่ทำความเดือดร้อนให้ คือที่ตรงกันข้าม ).

๓. " ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! บุคคลประกอบด้วยธรรม ๒ อย่าง ย่อมเหมือนถูกนำไปตั้งไว้ในนรก ธรรมะ ๒ อย่าง คือ ศีลอันชั่ว, ทิฏฐิ ( ความเห็น ) อันชั่ว. " ( ฝ่ายดีคือที่ตรงกันข้าม คือศีลอันดีงาม ทิฏฐิอันดีงาม ).

๔. " ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุผู้ ไม่มีความเพียร ไม่มีความเกรงกลัว ( ต่อบาป ) เป็นผู้ไม่ควรเพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน เพื่อบรรลุธรรมอันปลอดโปร่งจากโยคะอันยอดเยี่ยม. ภิกษุผู้มีความเพียร มีความเกรงกลัว ( ต่อบาป ) จึงเป็นผู้ควรเพื่อตรัสรู้ เพื่อ นิพพาน เพื่อบรรลุธรรมอันปลอดโปร่งจากโยคะอันยอดเยี่ยม. " ( ฝ่ายดีคือที่ตรงกันข้าม ).

๕. " ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ความตรึก ( วิตก ) ๒ อย่าง ย่อมมาสู่พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยมาก คือ ความตรึกอันเกษม ( ไม่เบียดเบียน ) และ ความตรึกอันสงัด ( จากอกุศลธรรม ). ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ตถาคตมีความไม่ เบียดเบียนเป็นที่มายินดี ยินดีในความไม่เบียดเบียน ความตรึกข้อนี้ จึงมาสู่ตถาคตผู้ยินดีในความไม่เบียดเบียนโดยมากว่า เราย่อมไม่เบียดเบียน ใคร ๆ ด้วยการกระทำนี้ ไม่ว่าจะยังเป็นผู้สะดุ้งดิ้นรน ( ด้วยกิเลส ) หรือว่าเป็นผู้ถาวร ( ไม่ดิ้นรนเพราะกิเลสได้แล้ว ).

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ตถาคตมีความสงัดเป็นที่มายินดี ยินดีในความสงัด. ความตรึกข้อนี้ จึงมาสู่ตถาตคผู้ยินดีในความสงัดโดยมากว่า เราละอกุศลได้แล้ว. เพราะ เหตุนั้นแล ท่านทั้งหลายพึงอยู่อย่างยินดีในความไม่เบียดเบียน ยินดีในความสงัดเถิด. "

<< ย้อนกลับ || หน้าถัดไป >>

- เอกนิบาต
- ทุกนิบาต
- ติกนิบาต
- จตุกกนิบาต

ขุททกปาฐะ
ธัมมปทคาถา หรือธัมมบท
อุทาน
อิติวุตตกะ
สุตตนิบาต


» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๓

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๕

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๘

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๙

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๐

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๓

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๖

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๘

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๙

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๐

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๑

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๒

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๔

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๕

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย