ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม

หอพระไตร

» พระวินัยปิฎก

» พระสุตตันตปิฎก

» พระอภิธรรมปิฎก

» พระสูตร


พระไตรปิฎกฉบับประชาชน

พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๓

๒.อุทุมพริกสูตร สูตรว่าด้วยเหตุการณ์ในปริพพาชการามซึ่งนางอุทุมพริกาสร้างถวาย

หน้า 2

พระผู้มีพระภาคได้ทรงสดับถ้อยคำสนทนาของทั้งสองฝ่ายด้วยพระโสตธาตุอันเป็นทิพย์ จึงเสด็จลงจากเขาคิชฌกูฏ เสด็จจงกรมในที่แจ้ง ริมฝั่งน้ำสุมาคธา.

นิโครธปริพพาชกเห็นเช่นนั้นก็เตือนบริษัทให้สงบเสียงแล้วกล่าวว่า ถ้าพระสมณโคดมเสด็จมา ตนจะถามปัญหาเรื่องธรรมะที่ทรงแสดงแก่สาวกให้มีความปลอดโปร่งใจในการประพฤติพรหมจรรย์เบื้องต้น.

๑. พระผู้มีพระภาคเสด็จมาหานิโครธปริพพาชก ได้รับการต้อนรับปราศัยเป็นอันดี ได้รับนิมนต์ให้นั่งบนอาสนะ ส่วนนิโครธปริพพาชกนั่งบนอาสนะที่ต่ำกว่า เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสไต่ถามว่า สนทนาอะไรค้างอยู่ ปริพพาชกจึงกราบทูลว่า พูดกันว่า ถ้าพระองค์เสด็จมา จะถามเรื่องธรรมที่แสดงแก่สาวก ให้มีความปลอดโปร่งใจในการประพฤติพรหมจรรย์เบื้องต้น. ตรัสตอบว่า เป็นการยากที่ท่านผู้มีความเห็นอย่างอื่นมีความพอใจอย่างอื่น มีความประพฤติอย่างอื่น มีอาจารย์อย่างอื่น จะเข้าใจได้. ท่านจงถามปัญหาในลัทธิอาจารย์ของท่านเอง อันเกี่ยวด้วยการเกลียดชังความชั่วโดยการบำเพ็ญตบะดีกว่า. พวกปริพพาชกก็อื้ออึงขึ้น กล่าวกันว่า น่าอัศจรรย์ที่พระสมณโคดมเป็นผู้มีฤทธิ์มาก มีอนุภาพมาก ไม่ตอบปัญหาในลัทธิของตนแต่กลับปวารณา ( ขอให้ถาม) ในลัทธิของผู้อื่น.

๒. นิโครธปริพพาชกสั่งให้ปริพพาชกเหล่านั้นสงบเสียงแล้วถามว่า พวกข้าพเจ้ามีวาทะเกลียดชังความชั่วโดยการบำเพ็ญตบะ ( ตโปชิคุจฉวาทะ ) ยึดความเกลียดชังความชั่วโดยใช้ตบะหรือความเพียรอยู่. ประพฤติอย่างไรจึงจะสมบูรณ์ อย่างไรจึงไม่สมบูรณ์. พระผู้มีพระภาคก็ตรัสตอบตามลัทธิของเขา เช่น เปลือยกายยืนถ่ายอุจจาระปัสสาวะ และกินอาหารเลียมือที่เลอะอาหารแทนการล้าง เป็นต้น แล้วตรัสถามว่า ประพฤติอย่างนี้ ชื่อว่าบริบูรณ์หรือยัง ปริพพาชกกราบทูลว่า บริบรูณ์แล้ว . แต่กลับตรัสว่า จะทรงชี้ข้อเศร้าหมองในการปฏิบัติอย่างนี้ที่ ( ถือกันว่า ) บริบูรณ์แล้วให้ฟัง.

<< ย้อนกลับ || หน้าถัดไป >> หน้า 3

- ปาฏิกสูตร
- อุทุมพริกสูตร
- จักกวัติสูตร สูตรว่าด้วยพระเจ้าจักรพรรดิ์
- อัคคัญญสูตร สูตรว่าด้วยสิ่งที่เลิศหรือที่เป็นต้นเดิม
- สัมปสาทนียสูตร ว่าด้วยคุณธรรมที่น่าเลื่อมใสของพระพุทธเจ้า
- สูตรว่าด้วยพระธรรมเทศนาที่น่าเลื่อมใส
- ลักขณสูตร สูตรว่าด้วยมหาปุริสลักขณ ๓๒ ประการ
- สิงคลากสูตร สูตรว่าด้วยสิงคาลกมาณพ
- อาฏานาฏิยสุรา สูตรว่าด้วยการรักษาในอาฏานาฏานคร
- สังคีติสูตร สูตรว่าด้วยการร้อยกรองหรือสังคายนาคำสอน
- ทสุตตรสูตร สูตรว่าด้วยหมวดธรรมอันยิ่งขึ้นไปจนถึงสิบ


» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๓

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๕

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๘

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๙

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๐

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๓

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๖

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๘

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๙

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๐

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๑

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๒

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๔

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๕

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย