ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม

หอพระไตร

» พระวินัยปิฎก

» พระสุตตันตปิฎก

» พระอภิธรรมปิฎก

» พระสูตร

พระไตรปิฎกฉบับประชาชน

พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔

เล่มที่ ๑๒

ชื่อมัชนิกาย มูลปัณณาสก์ เป็นสุตตันตะปิฎกเล่มที่ ๔

๑๒ ชื่อมัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์(เป็นสุตตันตปิฎก)

๔๔ . จูฬเวทัลลสูตร สูตรว่าด้วยเวทัลละคือการโต้ตอบด้วยการใช้ความรู้ สูตรใหญ่

พระผู้มีพระภาคประทับ ณ เวฬุวนาราม ใกล้กรุงราชคฤห์. วิสาขอุบาสก ( ผู้เป็นอดีตสามี ) เข้าไปหานางธัมมทินนาภิกษุณี (ผู้เป็นอดีตภริยา ) ตั้งคำถามต่าง ๆ ซึ่งนางธัมมาทินนาภิกษุณีก็ตอบชี้แจงดังต่อไปนี้?-

๑. คำว่า สักกายะ ( กายของตน ) คืออะไร .

ตอบว่า ขันธ์ ๕ ที่คนยึดถือ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า กายของตน. ถามว่า เหตุให้เกิดกายของตนคืออะไร ตอบว่า ตัญหา ความทะยานอยาก คือทะยานอยากในกาม ในความมีความเป็น ในความไม่มีไม่เป็น. ถามว่า ความดับแห่งกายตนคืออะไร ตอบว่า คือการดับตัญหาโดยไม่เหลือ.

ถามว่า ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับกายของตนคืออะไร ตอบว่า มรรคมีองค์ ๘ อันประเสริฐ มีความเห็นชอบ เป็นต้น. ถามว่าอุปาทาน ( ความยึดมั่นถือมั่น ) กับอุปาทานขันธ์ ๕ ( ขันธ์ ๕ ที่คนยึดถือ ) เป็นอันเดียวกัน หรืออุปาทานอื่นจากอุปาทานขันธ์ ๕ .

ตอบว่า อุปาทาน กับอุปาทานขันธ์ ๕ มิใช่เป็นอันเดียวกัน แต่อุปาทานก็ไม่อื่นไปจากอุปาทานขันธ์ ๕ คือความกำหนัดด้วยความพอใจในรูปอุปาทานขันธ์ ๕ อันใด อันนั้นคืออุปาทาน.

๒. สักกายทิฏฐิ ( ความเห็นที่ยึดในกายของตน ) เป็นอย่างไร .

ตอบว่า บุถุชนผู้มิได้สดับ ไม่เห็นพระอริยะ ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้รับแนะนำในธรรมของพระอริยะ ไม่เห็นสัตบุรุษ ( คนดี ) ไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ไม่ได้รับแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ ย่อมเห็นรูปเป็นตน เห็นตนมีรูป เห็นรูปในตน เห็นตนในรูป ( เห็นเวทนา , สัญญา , สังขาร, วิญญาณ เช่นเดียวกัน จึงรวมเป็น ๔ x ๕ ? ๒๐ ข้อ). ถามว่า สักกายทิฏฐิจะไม่มีได้อย่างไร ตอบว่า อริยสาวกผู้ได้สดับ ที่ตรงกันข้ามกับบุถุชน และไม่เห็นอย่างนั้น.

๓. อริยมรรคมีองค์ ๘ คืออะไร ตอบว่า มีสัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบ เป็นต้น. ถามว่า อริยมรรคมีองค์ ๘ เป็นสังขตะ. ( ปัจจัยปรุงแต่ง ) หรือเป็นอสังขตะ ปัจจัยมิได้ปรุงแต่ง ).

ตอบว่า เป็นสังขตะ. ถามว่า ขันธ์. ๓ สงเคราะห์เข้าด้วยอริยมรรคมีองค์ ๘ ก็แต่ว่าอริยมรรคมีองค์ ๘ สงเคราะห์เข้าด้วยขันธ์ ๓. ตอบว่า ขันธ์ ๓ ไม่สงเคราะห์เข้าด้วยอริยมรรคมีองค์ ๘ ก็แต่ว่าอริยมรรคมีองค์ ๘ สงเคราะห์เข้าด้วยขันธ์ ๓ คือ การเจรจาชอบ, การกระทำชอบ , การเลี้ยงชีวิตชอบ สงเคราะห์เข้าด้วยศีลขันธ์ ( กองศีล ) ; พยายามชอบ ตั้งสติชอบ , ตั้งใจมั้นชอบ , ตั้งใจมั่นชอบ สงเคราะห์เข้าด้วยสมาธิขันธ์ ( กองสมาธิ ) ; เห็นชอบ, ดำริชอบ สงเคราะห์เข้าด้วยปัญญาขันธ์ ( กองปัญญา ).

ถามว่า สมาธิ , สมาธินิมิต ( เครื่องกำหนดหมายของสมาธิ ), สมาธิปริกขาร ( เครื่องประกอบของสมาธิ ) และสมาธิภาวนา ( การเจริญหรืออบรมสมาธิ ) คืออะไร.

ตอบว่า ความที่จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง คือ สมาธิ ; สติปัฏฐาน ๔ คือ สมาธินิมิต ; สัมมัปปธาน ๔ ( ความเพียรชอบ ) คือ สมาธิปริกขาขาร และการเสพการทำให้มาก ซึ่งธรรมเหล่านั้น ( ทั้งสติปัฏฐาน และสัมมัปปธาน ) คือ สมาธิภาวนา.

๔. สังขาร ๓ คือ กายสังขาร ( เครื่องปรุงกาย ) วจีสังขาร ; (เครื่องปรุงวาจา) จิตตสังขาร ( ครื่องปรุงจิต ) คืออะไร ตอบว่า ลมหายใจเข้าออก เป็นกายสังขาร ; ความตรึก ความตรอง ( วิตก, วิจาร ) เป็นวจีสังขาร ; ความจำได้หมายรู้ และความรู้สึกอารมณ์ (สัญญา เวทนา ) เป็นจิตตสังขาร . ถามว่า เพราะเหตุไรจึงเป็นเช่นนั้น ตอบว่า เพราะลมหายใจเข้าออก เป็นไปทางกาย เนื่องด้วยกาย จึงเป็นเครื่องแปลงกาย ; คนตรึกแล้ว ตรองแล้วก่อน จึงเปล่งวาจา ความตรึก ความตรอง จึงเป็นเครื่องปรุงวาจา ; สัญญา เวทนา เป็นไปทางจิต เนื่องด้วยจิต จึงเป็นเครื่องปรุงจิต.

๕. การเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ ( สมาบัติอันดับสัญญาและเวทนา ) เป็นอย่างไร .

ตอบว่า ภิกษุผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ ไม่ต้องคิดว่า เราจักเข้า เรากำลังเข้า หรือเราเข้าแล้ว สู่สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ . เป็นแต่ว่าอบรมจิตเช่นนั้นไว้ก่อน น้อมจิตไปเพื่อความเป็นเช่นนั้น ภิกษุผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ สังขารอะไรดับก่อน .

ตอบว่า วจีสังขารดับก่อน . ต่อจากนั้นกายสังขาร ต่อจากนั้นจิตตสังขารจึงดับ. การออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติเป็นอย่างไร.

ตอบว่า ภิกษุผู้ออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติไม่ต้องคิดว่าเราจักออก เรากำลังออก เราออกแล้วจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ เป็นแต่ว่าอบรมจิตเช่นนั้นไว้ก่อนน้อมจิตเพื่อความเป็นเช่นนั้น.

เมื่อภิกษุออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ สังขารอะไรเกิดก่อน ตอบว่าจิตตสังขารเกิดก่อน ต่อจากนันกายสังขาร ต่อจากนั้นวจีสังขารจึงเกิด.

ผัสสะอะไรบ้าง ย่อมถูกต้องภิกษุผู้ออกแล้วจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ ตอบว่า ผัสสะ ๓ คือสุญญตผัสสะ ( ความถูกต้องความสูญหรือความว่าง ) อนิมิตตผัสสะ ( ความถูกต้องที่ไม่มีนิมิตหรือเครื่องกำหนดหมาย ) อัปปณิหิตผัสสะ ( ความถูกต้องที่ไม่มีที่ตั้ง ) จิตของภิกษุผู้ออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติน้อมไปหาอะไร ตอบว่า น้อมโน้มไปหาวิเวก (ความสงัด ).

๖. เวทนา ๓ คือ สุข ทุกข์ ไม่ทุกข์ไม่สุข . สุขเวทนา คือความสุข ความสำราญ ที่เป็นไปทางกายเป็นไปทางจิต ; ทุกขเวทนา คือความสำราญก็ไม่ใช่ ความไม่สำราญก็ไม่ใช่ ที่เป็นไปทางกาย เป็นไปทางจิต ; อทุกขมสุขเวทนา คือความมสำราญก็ไม่ใช่ ความไม่สำราญก็ไม่ใช่ ที่เป็นไปทางกาย เป็นไปทางจิต.

สุขเวทนามีอะไรเป็นสุขมีอะไรเป็นทุกข์ ตอบว่า สุขเวทนามีความตั้งอยู่เป็นสุข มีความแปรปรวนเป็นทุกข์.

 ทุกขเวทนามีความตั้งอยู่เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นสุข . อทุกขมสุขเวทนามีความรู้เป็นสุข มีความไม่รู้เป็นทุกข์. อนุสัยอะไรแฝงตัวตาม.

เวทนาอะไร. ตอบว่า อนุสัยคือราคะ ( ความกำหนัดยินดี ) แฝงตัวตามสุขเวทนา , อนุสัยคือปฏิฆะ ( ความขัดใจ ) แฝงตัวตามทุกขเวทนา , อนุสัยคืออวิชชา ( ความไม่รู้ ) แฝงตัวตามอทุกขมสุขเวทนา.

อนุสัยดั่งกล่าวแฝงตัวตามเวทนาดั่งกล่าวทั้งหมดหรือ. ตอบว่า ไม่ทั้งหมด.

อะไรพึงละได้ด้วยเวทนาอะไร ตอบว่าราคานุสัย ( อนุสัยคือความกำหนัดยินดี ) พึงละได้ด้วยทุกขมสุขเวทนา , ปฏิฆะนุสัย (อนุสัยคือความขัดใจ) พึงละได้ด้วยทุกขเวทนา , อวิชชานุสัย ( อนุสัยคือความไม่รู้ ) พึงละได้ด้วยอทุกขมสุขเวทนา.

อนุสัยดังกล่าวพึงละได้ด้วยทุกข์เวทนาดังกล่าวทั้งหมดหรือ. ตอบว่า ไม่ทั้งหมด. ( คำว่า ทั้งหมด ไม่ทั้งหมด ใช้ประกอบคำว่า เวทนา ) อธิบายว่า ภิกษุเข้าฌานที่ ๑ ย่อมละราคะได้ด้วยฌานที่ ๑ นั้น ราคานิสุยย่อมไม่แฝงตัวตามในฌานที่ ๑ นั้น ; ภิกษุพิจารณาว่า “ เมื่อไรหนอ เราจะเข้าสู่อายตนะที่พระอริยเจ้าเข้าอยู่ได้ ” ทำความปรารถนาให้เกิดในวิโมกข์อันยอดเยี่ยม ก็เกิดโทมนัส ( ความเสียใจ ) เพราะความปรารถนานั้น เธอย่อมละปฏิฆะได้ด้วยโทมนัสนั้น ปฏิฆานุสัย่อมไม่แฝงตัวตามในโทมนัสนั้น ( ข้อความตรงนี้ อรรถกถาอธิบายไว้ละเอียดดี ผู้ต้องค้นคว้าละเอียด โปรดดูอรรถกถาที่พระสุตตันตะเล่ม ๑๒ หน้า ๒ ; ภิกษุเข้าฌานที่ ๔ ย่อมละอวิชชาได้ด้วยฌานที่ ๔ นั้น อวิชชานุสัยย่อมไม่แฝงตัวตามในฌานที่ ๔ นั้น.

 ( อรรถกถาชี้ฌานที่ ๑ ไปที่อนาคามีมรรค, ชี้ฌานที่ ๔ ไปที่อรหัตตมรรค).

๗. อะไรส่วนเปรียบด้วยเวทนาอะไร. ตอบว่า ราคะมีส่วนเปรียบด้วยสุขเวทนา , ปฏิฆะมีส่วนเปรียบด้วยทุกขเวทนา, อวิชชามีส่วนเปรียบด้วยทุกขมสุขเวทนา, อะไรมีส่วนเปรียบด้วยอวิชชา ตอบว่า วิชชา ( ความรู้ ) อะไรมีส่วนเปรียบด้วยวิชชา ตอบว่า วิมุติ ( ความหลุดพ้น ).

อะไรมีส่วนเปรียบด้วยวิมุติ ตอบว่า นิพพาน, อะไรมีส่วนนิพพาน ตอบว่า ท่านถามปัญหาเกิน ( กำหนด ) ไป ไม่อาจจะจับที่สุดแห่งปัญหาได้ เพราะพรหมณ์จรรย์มีนิพพานเป็นที่มุ่งหมาย มีนิพพานเป็นที่สุด ถ้าท่านหวังจะทราบ ก็พึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคกราบทูลถามเถิด จงทรงจำไว้ตามที่ตรัสตอบเถิด.

( คำว่า มีส่วนเปรียบ หมายทั้งส่วนเปรียบในทางเดียวกันและทั้งตรงข้าม).

วิสาขอุบาสกไหว้นางธัมมทินนาภิกษุณีทำทักษิณแล้วไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค กราบทูลคำถามคำตอบให้ทรงทราบทุกประการ.

พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า นางธัมมทินนาภิกษุณีเป็นบัณฑิต มีปัญญามาก ถ้าท่านจะถามเรา เราก็จะตอบอย่างที่นางธัมมทินนาภิกษุณีตอบแล้ว ท่านจงทรงจำเนื้อความนั้นไว้เถิด.

<< ย้อนกลับ || หน้าถัดไป >>

- สูตรว่าด้วยเรื่องราวอันเป็นมูลแห่งธรรมทั้งปวง
- สูตรว่าด้วยการสำรวมระวังอาสวะทุกชนิด
- สูตรว่าด้วยผู้รับมรดกธรรม
- สูตรว่าด้วยความกลัวและสิ่งที่กลัว
- สูตรว่าด้วยบุคคลผู้ไม่มีกิเลส
- สูตรว่าด้วยความหวังของภิกษุ
- สูตรอุปมาด้วยผ้าที่ย้อมสี
- สูตรว่าด้วยการขัดเกลากิเลส
- สูตรว่าด้วยความเห็นชอบ
- สูตรว่าด้วยการตั้งสติ ๔ ประการ
- สูตรว่าด้วยการบรรลือสีหนาทเล็ก
- สูตรว่าด้วยการบรรลือสีหนาทใหญ่
- สูตรว่าด้วยกองทุกข์ สูตรใหญ่
- สูตรว่าด้วยกองทุกข์ สูตรเล็ก
- อนุมานสูตร สูตรว่าด้วยการอนุมาน
- เจโตขีลสูตร สูตรว่าด้วยการอนุมาน
- สูตรว่าด้วยการอยู่ป่าของภิกษุ
- สูตรว่าด้วยธรรมะที่น่าพอใจเหมือนขนมหวาน
- สูตรว่าด้วยความตรึกสองทาง
- สูตรว่าด้วยที่ตั้งของความตรึกหรือความคิด
- สูตรว่าด้วยเปรียบด้วยเลื่อย
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยงูพิษ
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยจอมปลวก
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยรถ ๗ ผลัด
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยเหยื่อหรืออาหารสัตว์
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยบ่วงดักสัตว์
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยรอยเท้าช้าง สูตรเล็ก
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยรอยเท้าช้าง สูตรใหญ่
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยแก่นไม้ สูตรใหญ่
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยแก่นไม้ สูตรเล็ก
- สูตรว่าด้วยป่าไม้สาละชื่อโคสิงคะ สูตรเล็ก
- สูตรว่าด้วยป่าไม้สาละชื่อโคสิงคะ สูตรใหญ่
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยคนเลี้ยงโค สูตรใหญ่
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยคนเลี้ยงโค สูตรเล็ก
- สูตรว่าด้วยสัจจกนิครนถ์ สูตรเล็ก
- สูตรว่าด้วยสัจจกนิครนถ์ สูตรใหญ่
- สูตรว่าด้วยความสิ้นไปแห่งตัณหา สูตรเล็ก
- สูตรว่าด้วยความสิ้นไปแห่งตัณหา สูตรใหญ่
- สูตรว่าด้วยคำสอนในนิคมชื่ออัสสปุระ สูตรใหญ่
- สูตรว่าด้วยเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในนิคมชื่ออัสสปุระ สูตรเล็ก
- สูตรว่าด้วยพราหมณ์คฤหบดีชาวบ้านสาละ
- สูตรว่าด้วยพราหมณ์คฤหบดีชาวเมืองเวรัญชา
- สูตรว่าด้วยมหาเวทัลละคือการโต้ตอบด้วยการใช้ความรู้ สูตรใหญ่
- สูตรว่าด้วยเวทัลละคือการโต้ตอบด้วยการใช้ความรู้ สูตรใหญ่
- สูตรว่าด้วยเวทัลละคือการโต้ตอบด้วยการใช้ความรู้ สูตรเล็ก
- สูตรว่าด้วยการสมาทานธรรมะ
- สูตรว่าด้วยภิกษุผู้พิจารณาสอบสวน
- สูตรว่าด้วยภิกษุชาวกรุงโกสัมพี
- สูตรว่าด้วยการเชื่อเชิญของพรหม
- สูตรว่าด้วยมารถูกคุกคาม


» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๓

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๕

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๘

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๙

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๐

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๓

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๖

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๘

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๙

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๐

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๑

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๒

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๔

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๕

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย