ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม
» พระสูตร
พระไตรปิฎกฉบับประชาชน
พระสูตร
พระสูตร ขันธ์สังยุต จุลปัณณาสก์ ทิฏฐิวรรค
ว่าด้วย ทิฏฐิหรือสิ่งที่ขันธ์ ๕ เป็นเหตุ
พระนครสาวัตถี พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่ออะไรมีอยู่
เพราะอาศัยอะไร เพราะยึดมั่นอะไร
ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์ทั้งหลาย
มีพระผู้มีพระภาคเป็นรากฐาน ฯลฯ
พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อรูปมีอยู่ เพราะอาศัยรูป เพราะยึดมั่นรูป เมื่อเวทนามีอยู่ ฯลฯ เมื่อสัญญามีอยู่ ฯลฯ เมื่อสังขารมีอยู่ ฯลฯ เมื่อวิญญาณมีอยู่ เพราะอาศัยวิญญาณ เพราะยึดมั่นวิญญาณ
พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง
ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า
ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา
เพราะไม่อาศัยสิ่งนั้นบ้างหรือ
ภิ. ไม่ใช่เช่นนั้น พระเจ้าข้า
พ. เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เที่ยงหรือไม่เที่ยง
ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า
ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา
เพราะไม่อาศัยสิ่งนั้นบ้างหรือ
ภิ. ไม่ใช่เช่นนั้น พระเจ้าข้า
พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ กิจอื่น เพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ทิฏฐิ ของแต่ละพระสูตร ในขันธ์สังยุต จุลปัณณาสก์ ทิฏฐิวรรค
[๑] อัชณัตติกสูตร
ว่าด้วยเหตุแห่งสุขและทุกข์ภายใน
" สุขและทุกข์ภายในจึงเกิดขึ้น"
[๒] เอตังมมสูตร
ว่าด้วยเหตุแห่งการยึดมั่นว่าเป็นของเรา
"บุคคลจึงตามเห็นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา"
[๓] เอโสอัตตาสูตร
ว่าด้วยเหตุแห่งสัสตทิฏฐิ
"จึงเกิดมีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ตนก็อันนั้น โลกก็อันนั้น
เรานั้นละโลกนี้ไปแล้ว จักเป็นผู้เที่ยง ยั่งยืน มั่นคง
มีความไม่เปลี่ยนแปลงเป็นธรรมดา"
[๔] โนจเมสิยาสูตร
ว่าด้วยเหตุแห่งนัตถิกทิฏฐิ
"จึงเกิดมีทิฏฐิอย่างนี้ว่า เราไม่พึงมี และบริขารของเราไม่พึงมี เราจักไม่มี
บริขารของเราจักไม่มี"
[๕] มิจฉาทิฏฐิสูตร
ว่าด้วยเหตุแห่งมิจฉาทิฏฐิ
"จึงเกิดมีมิจฉาทิฏฐิ"
[๖] สักกายทิฏฐิสูตร
ว่าด้วยเหตุแห่งสักกายทิฏฐิ
"จึงเกิดมีสักกายทิฏฐิ"
[๗] อัตตานุทิฏฐิสูตร
ว่าด้วยเหตุแห่งอัตตานุทิฏฐิ
"จึงเกิดอัตตานุทิฏฐิ"
[๘] อภินิเวสสูตร ที่ ๑
ว่าด้วยเหตุแห่งความยึดมั่น
"จึงเกิดความพัวพันด้วยสังโยชน์ และความยึดมั่น"
[๙] อภินิเวสสูตร ที่ ๒
ว่าด้วยเหตุแห่งความยึดมั่น
" จึงเกิดความพัวพันและหมกมุ่นด้วยสังโยชน์ และความยึดมั่น"
» ตตถสูตร
» ทิฏฐิกถา
» วัจฉสูตร
» สภิยสูตร
» สาฬหสูตร