ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม

หอพระไตร

» พระวินัยปิฎก

» พระสุตตันตปิฎก

» พระอภิธรรมปิฎก

» พระสูตร

พระไตรปิฎกฉบับประชาชน

พระสูตร

พระสูตร พรหมชาลสูตร

เรื่อง สุปปียปริพาชกกับพรหมทัตตมานพ

จุลศีล

[๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อปุถุชนกล่าวชมตถาคต จะพึงกล่าวด้วยประการใด นั่นมีประมาณน้อยนัก ยังต่ำนัก เป็นเพียงศีล

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ปุถุชนกล่าวชมตถาคต จะพึงกล่าวด้วยประการใด นั่นมีประมาณน้อยนัก ยังต่ำนัก เป็นเพียงศีลนั้น เป็นไฉน

[๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกอย่างหนึ่ง เมื่อปุถุชนกล่าวชมตถาคต พึงกล่าวเช่นนี้ว่า

๑. พระสมณโคดม ละการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ วางทัณฑะ วางศาสตรา มีความละอาย มีความเอ็นดู มีความกรุณา หวังประโยชน์แก่สัตว์ทั้งปวงอยู่

๒. พระสมณโคดม ละการลักทรัพย์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ รับแต่ของที่เขาให้ ต้องการแต่ของที่เขาให้ ไม่ประพฤติตนเป็นขโมย เป็นผู้สะอาดอยู่

๓. พระสมณโคดม ละกรรมเป็นข้าศึกแก่พรหมจรรย์ ประพฤติพรหมจรรย์ ประพฤติห่างไกล เว้นขาดจากเมถุนอันเป็นกิจของชาวบ้าน

[๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกอย่างหนึ่ง เมื่อปุถุชนกล่าวชมตถาคต พึงกล่าวเช่นนี้ว่า

๔. พระสมณโคดม ละการพูดเท็จ เว้นขาดจากกการพูดเท็จ พูดแต่คำจริง ดำรงค์คำสัตย์ มีถ้อยคำเป็นหลักฐาน ควรเชื่อได้ ไม่พูดลวงโลก

๕. พระสมณโคดม ละคำส่อเสียด เว้นขาดจากคำส่อเสียด ฟังจากข้างนี้ แล้วไม่ไปบอกข้างโน้น เพื่อให้คนหมู่นี้แตกร้าวกัน หรือฟังจากข้างโน้น แล้วไม่มาบอกข้างนี้ เพื่อให้คนหมู่โน้นแตกรัาวกัน สมานคนที่แตกร้าวกันแล้วบ้าง ส่งเสริมคนที่พร้อมเพรียงกันแล้วบ้าง ชอบคนผู้พร้อมเพรียงกัน ยินดีในคนผู้พรัอมเพรียงกัน เพลิดเพลินในคนผู้พร้อมเพรียงกัน กล่าวแต่คำที่ทำให้คนพร้อมเพรียงกัน

๖. พระสมณโคดม ละคำหยาบ เว้นขาดจากคำหยาบ กล่าวแต่คำที่ไม่มีโทษ เพราะหู ชวนให้รัก จับใจเป็นของชาวเมือง คนส่วนมากรักใคร่พอใจ

๗. พระสมณโคดม ละคำเพ้อเจ้อ เว้นขาดจากคำเพ้อเจ้อ พูดถูกกาล พูดแต่คำที่เป็นจริง พูดอิงอรรถ พูดอิงธรรม พูดอิงวินัย พูดแต่คำมีหลักฐานมีที่อ้าง มีที่กำหนด ประกอบด้วยประโยชน์ โดยกาลอันควร

[๕] ๘. พระสมณโคดม เว้นจากการพรากพืชคาม และภูตคาม

[๖] ๙. พระสมณโคดม ฉันหนเดียว เว้นการฉันในราตรี งดการฉันในเวลาวิกาล

๑๐. พระสมณโคดม เว้นขาดจากการฟ้อนรำ ขับร้อง ประโคมดนตรี และดูการเล่นอันเป็นข้าศึกแก่กุศล

๑๑. พระสมณโคดม เว้นขาดจากการทัดทรง ประดับ และตบแต่งร่างกาย ด้วยดอกไม้ ของหอม และเครื่องประเทืองผิว อันเป็นฐานแห่งการแต่งตัว

๑๒. พระสมณโคดม เว้นขาดจากการนั่งนอนบนที่นั่งที่นอนอันสูงใหญ่

๑๓. พระสมณโคดม เว้นขาดจากการรับทองและเงิน

[๗] ๑๔. พระสมณโคดม เว้นขาดจากการรับธัญญาหารดิบ

๑๕. พระสมณโคดม เว้นขาดจากการรับเนื้อดิบ
๑๖. พระสมณโคดม เว้นขาดจากการรับสตรีและกุมาร
๑๗. พระสมณโคดม เว้นขาดจากการรับทาสีและทาส
๑๘. พระสมณโคดม เว้นขาดจากการรับแพะและแกะ
๑๙. พระสมณโคดม เว้นขาดจากการรับไก่และสุกร
๒๐. พระสมณโคดม เว้นขาดจากการรับช้าง โค ม้า และลา
๒๑. พระสมณโคดม เว้นขาดจากการรับไร่นาและที่ดิน

[๘] ๒๒. พระสมณโคดม เว้นขาดจากการประกอบทูตกรรม และการรับใช้

๒๓. พระสมณโคดม เว้นขาดจากการซื้อการขาย
๒๔. พระสมณโคดม เว้นขาดจากการโกงดัวยตาชั่ง การโกงด้วยของปลอม และการโกงด้วยเครื่องตวงวัด
๒๕. พระสมณโคดม เว้นขาดจากการรับสินบน การล่อลวงและการตลบตะแลง
๒๖. พระสมณโคดม เว้นขาดจากการตัด การฆ่า การจองจำ การตีชิง การปล้น และการกรรโชก

- จุลศีล
- มัชฌิมศีล
- มหาศีล ติรัจฉานวิชา
- ทิฏฐิ ๖๒
- ปุพเพนิวาสานุสสติ
- สัสสตทิฏฐิ ๔
- เอกัจจสัสสติกทิฏฐิ ๔
- อันตานันติกทิฏฐิ ๔
- อมราวิกเขปีกทิฏฐิ
- อธิจจสมุปปันนิกทิฏฐิ ๒
- อปรันตกัปปีกทิฏฐิ
- สัญญีทิฏฐิ ๑๖
- อสัญญีทิฏฐิ ๘
- เนวสัญญีนาสัญญีทิฏฐิ ๘
- อุจเฉททิฏฐิ ๑๘
- ทิฏฐธรรมนิพพานทิฏฐิ ๕
- ฐานะของผู้ถือทิฏฐิ


» กัจจานโคตตสูตร

» เกสปุตตสูตร

» กุตุหลสาลาสูตร

» โกกนุทสูตร

» ขันธ์สังยุต ทิฏฐิวรรค

» เขมาเถรีสูตร

» จูฬกัมมวิภังคสูตร

» จูฬมาลุงโกยวาทสูตร

» ตตถสูตร

» ติมพรุกขสูตร

» ทิฏฐิกถา

» ทิฏฐิสังยุต จตุตถเปยยาล

» ทิฏฐิสังยุต ตติยเปยยาล

» ทิฏฐิสังยุต ทุติยเปยยาล

» ทิฏฐิสังยุต โสตาปัตติวรรค

» ทิฏฐิสูตร

» ปรัมมรณสูตร

» ปัญจัตตยสูตร

» โปฏฐปาทสูตร

» พรหมชาลสูตร

» ภัททิยสูตร

» โมคคัลลานสูตร

» โรหิตัสสสูตรที่ ๑

» วัจฉสูตร

» สภิยสูตร

» สามัญญผลสูตร

» สารีปุตตโกฏฐิตสูตร ที่ ๑

» สารีปุตตโกฏฐิตสูตร ที่ ๒

» สารีปุตตโกฏฐิตสูตร ที่ ๓

» สารีปุตตโกฏฐิตสูตร ที่ ๔

» สาฬหสูตร

» อนันทสูตร

» อนุราธสูตร

» อัคคิวัจฉโคตตสูตร

» อุตติยสูตร

» อเจลกัสสปสูตร

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย