ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม

หอพระไตร

» พระวินัยปิฎก

» พระสุตตันตปิฎก

» พระอภิธรรมปิฎก

» พระสูตร

พระไตรปิฎกฉบับประชาชน

พระสูตร

พระสูตร สามัญญผลสูตร

เรื่อง พระเจ้าอชาตศัตรู

วาทะของศาสดานิครนถ์ นาฏบุตร

[๙๘] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สมัยหนึ่ง ณ กรุงราชคฤห์นี้ หม่อมฉันเข้าไปหาครูนิครนถ์ นาฏบุตร ถึงที่อยู่... ได้กล่าวว่า ท่านอัคคิเวสนะ ศิลปศาสตร์เป็นอันมากเหล่านี้ คือ พลช้าง... คนเหล่านั้นย่อมอาศัยผลแห่งศิลปศาสตร์ที่เห็นประจักษ์เลี้ยงชีพในปัจจุบันด้วยผลแห่งศิลปศาสตร์นั้น เขาย่อมบำรุงตน มารดาบิดา บุตร ภริยา มิตรอำมาตย์ ให้เป็นสุขอิ่มหนำสำราญ บำเพ็ญทักษินาทาน อันมีผลอย่างสูง เป็นไปเพื่อให้ได้อารมณ์ดี มีสุขเป็นผลให้เกิดในสวรรค์ ในสมณพราหมณ์ทั้งหลาย ฉันใด ท่านอาจบัญญัติสามัญผลที่เห็นประจักษ์ในปัจจุบัน เหมือนอย่างนั้นได้บ้าง หรือไม่ เมื่อหม่อมฉันกล่าวอย่างนี้ ครูนิครนถ์ นาฏบุตรได้กล่าวคำนี้กะหม่อมฉันว่า ดูกรมหาบพิตร

นิครนถ์ในโลกนี้ เป็นผู้สังวรแล้วด้วยสังวร ๔ ประการ นิครนถ์เป็นผู้สังวรแล้วด้วยสังวร ๔ ประการเป็นไฉน ดูกรมหาบพิตร นิครนถ์ในโลกนี้เป็นผู้ห้ามน้ำทั้งปวง ๑ เป็นผู้ประกอบด้วยน้ำทั้งปวง ๑ เป็นผู้กำจัดด้วยน้ำทั้งปวง ๑ เป็นผู้ประพรมด้วยน้ำทั้งปวง ๑ นิครนถ์เป็นผู้สังวรแล้วด้วยสังวร ๔ ประการอย่างนี้แล มหาบพิตร เพราะเหตุที่นิครนถ์เป็นผู้สังวรแล้วด้วยสังวร ๔ ประการอย่างนี้ บัณฑิตจึงเรียกว่า เป็นผู้มีตนถึงที่สุดแล้ว มีตนสำรวมแล้ว มีตนตั้งมั่นแล้ว ดังนี้

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อหม่อมฉันถามถึงสามัญผลที่เห็นประจักษ์ ครูนิครนถ์ นาฏบุตร กลับตอบถึงสังวร ๔ ประการ ฉะนี้

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อหม่อมฉันถามถึงสามัญผลที่เห็นประจักษ์ ครูนิครนถ์ นาฏบุตร กลับตอบถึงสังวร ๔ ประการ เปรียบเหมือนเขาถามถึงมะม่วง ตอบขนุนสำมะลอ หรือเขาถามถึงขนุนสำมะลอ ตอบมะม่วงฉะนั้น หม่อมฉันมีความดำริว่า ไฉนคนอย่างเรา จะพึงมุ่งรุกรานสมณะหรือพราหมณ์ผู้อยู่ในราชอาณาเขต ดังนี้แล้ว ไม่ยินดี ไม่คัดค้านภาษิตของครูนิครนถ์ นาฏบุตร ไม่พอใจ แต่ก็มิได้เปล่งวาจาแสดงความไม่พอใจ ไม่เชื่อถือ ไม่ใส่ใจถึงวาจานั้น ลุกจากที่นั่งหลีกไป

- กถาปรารภพระพุทธคุณ
- วาทะของศาสดาปูรณะ กัสสป
- วาทะของศาสดามักขลิ โคศาล
- วาทะของศาสดาอชิตะ เกสกัมพล
- วาทะของศาสดาปกุธะ กัจจายนะ
- วาทะของศาสดานิครนถ์ นาฏบุตร
- วาทะของศาสดาสญชัย เวลัฏฐบุตร
- สันทิฏฐิกสามัญญผลปุจฉา
- สันทิฏฐิกสามัญญผลเทศนา
- จุลศีล
- มัชฌิมศีล
- มหาศีล
- อินทรียสังวร
- สติสัมปชัญญะ
- สันโดษ
- อุปมานิวรณ์
- รูปฌาน ๔


» กัจจานโคตตสูตร

» เกสปุตตสูตร

» กุตุหลสาลาสูตร

» โกกนุทสูตร

» ขันธ์สังยุต ทิฏฐิวรรค

» เขมาเถรีสูตร

» จูฬกัมมวิภังคสูตร

» จูฬมาลุงโกยวาทสูตร

» ตตถสูตร

» ติมพรุกขสูตร

» ทิฏฐิกถา

» ทิฏฐิสังยุต จตุตถเปยยาล

» ทิฏฐิสังยุต ตติยเปยยาล

» ทิฏฐิสังยุต ทุติยเปยยาล

» ทิฏฐิสังยุต โสตาปัตติวรรค

» ทิฏฐิสูตร

» ปรัมมรณสูตร

» ปัญจัตตยสูตร

» โปฏฐปาทสูตร

» พรหมชาลสูตร

» ภัททิยสูตร

» โมคคัลลานสูตร

» โรหิตัสสสูตรที่ ๑

» วัจฉสูตร

» สภิยสูตร

» สามัญญผลสูตร

» สารีปุตตโกฏฐิตสูตร ที่ ๑

» สารีปุตตโกฏฐิตสูตร ที่ ๒

» สารีปุตตโกฏฐิตสูตร ที่ ๓

» สารีปุตตโกฏฐิตสูตร ที่ ๔

» สาฬหสูตร

» อนันทสูตร

» อนุราธสูตร

» อัคคิวัจฉโคตตสูตร

» อุตติยสูตร

» อเจลกัสสปสูตร

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย