ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม
» พระสูตร
พระไตรปิฎกฉบับประชาชน
ชื่อมหาวัคค์ (เป็นวินัยปิฎก)
ทรงถอนข้ออนุญาตสำหรับยามข้าวยาก
ทรงอนุญาตที่เก็บอาหาร
มีผู้นำของที่เป็นอาหาร เช่น เกลือ, น้ำมัน, ข้าวสาร, ของเคี้ยว (ผลไม้) มาถวาย พระผู้มีพระภาคจึงทรงอนุญาตกัปปิยภูมิ คือที่เก็บของที่สมควร โดยให้สวดประกาศเป็นการสงฆ์ โดยทรงระบุกัปปิยภูมิ ๔ ชนิด คือ
๑. อุสสาวนันติกา กัปปิยภูมิที่ประกาศให้ได้ยินกัน
๒. โคนิสาทิกา กัปปิยภูมิที่ไม่มีที่ล้อม
๓. คหปติกา กัปปิยภูมิที่คฤหบดีถวาย และ
๔. สัมมติกา กัปปิยภูมิที่สงฆ์สมมติ คือสวดประกาศเป็นการสงฆ์.
ทรงแสดงธรรมโปรดเมณฑกคฤหบดี
พระผู้มีพระภาคเสด็จจากกรุงไพศาลี ไปยังภัททิยนคร ประทับ ณ ชาติยาวัน.
ณ ที่นั้น เมณฑกคฤหบดี (ผู้เป็นเศรษฐี) ได้ไปเฝ้า ได้สดับพระธรรมเทศนาได้ดวงตาเห็นธรรมแล้ว ก็นิมนต์ฉันในวันรุ่งขึ้น.
เมื่อฉันเสร็จแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ทรงแสดงธรรมโปรดครอบครัว พร้อมทั้งทาสของเมณฑกคฤหบดีให้ได้ดวงตาเห็นธรรม.
ทุกคนปฏิญญาตนเป็นอุบาสกหรืออุบาสิกาผู้ถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะตลอดชีวิต.
- ทรงอนุญาตที่เก็บอาหาร
- ทรงอนุญาตตามที่เมณฑกคฤหบดีขอร้อง
- ทรงอนุญาตน้ำอัฏฐบาน (น้ำดื่ม ๘ อย่าง)
- ทรงอนุญาตผักและของเคี้ยวที่ทำด้วยแป้ง
- ทรงแนะข้อตัดสิน
จัมมขันธกะ(หมวดว่าด้วยหนัง)
เภสัชชขันธกะ (หมวดว่าด้วยยา)
ทรงถอนข้ออนุญาตสำหรับยามข้าวยาก
กฐินขันธกะ (หมวดว่าด้วยกฐิน)
จีวรขันธกะ (หมวดว่าด้วยจีวร)
การทำกรรมที่ไม่เป็นธรรมและที่เป็นธรรม
โกสัมพิขันธกะ
พระวินัยเล่มที่ ๑
พระวินัยเล่มที่ ๒
พระวินัยเล่มที่ ๓
พระวินัยเล่มที่ ๔
พระวินัยเล่มที่ ๕
พระวินัยเล่มที่ ๖
พระวินัยเล่มที่ ๗
พระวินัยเล่มที่ ๘