ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม >>

หอพระไตร

พระสูตรของท่านเว่ยหลาง

ต้นธาตุ ต้นธรรม

มนุษย์มีความสับสนเพราะไม่รู้จักตัวเองอย่างชัดเจนว่าประกอบไปด้วย “ตัวปลอม” และ “ตัวจริง” “ตัวปลอม” มองเห็นได้ มีต้นกำเนิดมาจากพ่อแม่ และเสื่อมไปตามสภาพจึงตกอยู่ในกฎของอนิจจัง ดังนั้นจึงมี “วันเกิด” และ “วันตาย” ที่สุดจึงเปลี่ยนแปลงเป็น ธาตุ ดิน น้ำ ลม ไฟ ไม่มีโอกาสเวียนว่ายตายเกิด ส่วน “ตัวจริง” มีต้นกำเนิดมาจากอนุตตรภาวะคือ ความว่างอันไร้ขอบเขตจึงไม่ตกอยู่ในเขตของนิจจัง ดังนั้น จึงไม่มี “วันเกิด” และ “วันตาย” แต่กลับมีโอกาส เวียนว่ายตายเกิดตามเหตุปัจจัย มนุษย์รู้จักยึดถือแต่ “ตัวปลอม” ว่าเป็น “ตัวจริง” จึงปฏิบัติต่อตัวปลอมด้วยวิธีผิดๆ จนกลายเป็นเวรกรรมผิด ต่อสัจธรรมของฟ้าดินและในที่สุด “ตัวจริง” ต้องเวียนว่ายไปในวัฏสงสารจนกว่าจะรู้จัก “ตัวจริง” ท่านฮุ่ยเหนิงรู้จัก “ตัวจริง” และได้รับการปลดปล่อยโดยพระอาจารย์หงเหยิ่น ได้ชี้ตรงไปที่ประตูของ “ตัวจริง” นั้น ท่านจริงอุทานขึ้นต่อหน้าพระอาจารย์หงเหยิ่นว่า “ใครจะไปคิดว่า ธรรมญาณ เป็นของบริสุทธิ์เหนือความบริสุทธิ์ใดๆ ใครจะไปคิดว่า ธรรมญาณ เป็นอิสระไม่ตกอยู่ภายใต้อำนาจของการเกิดและดับสูญอย่างแท้จริง ใครจะไปคิดว่า ธรรมญาณ เป็นสิ่งที่มีความสมบูรณ์อยู่ในตัวเองอย่างแท้จริง ใครจะไปคิดว่า ธรรมญาณ อยู่นอกเหนือกฎเกณฑ์แห่งความเปลี่ยนแปลง ใครจะไปคิดว่าสรรพสิ่งที่ปรากฎออกมานี้ล้วนมาจาก “ธรรมญาณ” “ตัวจริง” คือ “ธรรมญาณ” ที่อาศัยอยู่ใน “ตัวปลอม” มีสภาวะเป็น อสังขตธรรมไร้การปรุงแต่ง เพราะฉะนั้น จึงมิอาจเอากฎเกณฑ์หรือเงื่อนไขใดๆ ไปกำหนดได้เลย และสรรพสิ่งมิอาจเข้าไปมีอิทธิพลบ่งการใดๆ ไม่มีสิ่งใดเพิ่ม ขึ้นหรือลดลงด้วยสภาพเช่นนี้เอง “ธรรมญาณ” จึงเป็นต้นธาตุ ต้นธรรม อันแท้จริง พระอาจารย์หงเหยิ่น รู้ว่าท่านฮุ่ยเหนิงบรรลุถึงความรู้แจ้งในธรรมญาณ จึงกล่าวว่า “ผู้ที่ไม่รู้จักธรรมญาณของตนจึงป่วยการศึกษาศาสนาพุทธแต่ถ้าใครรู้จักธรรมญาณและเห็นด้วยปัญญาอย่างซึม ซาบว่าคืออะไรแล้วบุคคลผู้นั้นคือ วีรมนุษย์ เป็นครูของมนุษย์ เทวดาได้ และเขาคือ พุทธะ” ความเป็น “พุทธะ” คือผู้รู้ทุกข์ รู้สุข และเห็นความสิ้นสุดทั้งทุกข์และสุข จึงเปรียบเช่นคนที่ตื่นจากความหลับ ไหล ดังนั้นจึงเป็นผู้เบิกบานอันแท้จริง ในครั้งนั้นท่านฮุ่ยเหนิง จึงได้รับมอบบาตรและจีวรอันเป็นเครื่องหมายแห่งการเป็นพระธรรมาจารย์สมัยที่ หก และพระอาจารย์หงเหยิ่น กำชับให้ช่วยสอนมนุษย์สืบอายุคำสอน อย่าให้ขาดตอนพร้อมทั้งให้โศลกไว้บทหนึ่งว่า “สัตว์ที่มีความรู้สึกนึกคิด เราหว่านเมล็ดพันธุ์แห่งการตรัสรู้ลงในเนื้อนาด้วยอำนาจของเหตุผล จะเก็บเกี่ยวผล ไปจนถึงพุทธภูมิ ส่วนวัตถุมิใช่สัตว์ที่มีความรู้สึกนึกคิด เป็นสิ่งว่างเปล่าตามธรรมชาติแห่งพุทธะย่อมไม่หว่านพืชพันธุ์ ดังนั้นจึง ไม่หวังที่จะเก็บเกี่ยวเลย” การกำหนดแนวทางแห่งการเผยแผ่ไว้ดังนี้ก็เพราะเล็งเห็นว่าอนุตตรธรรมล้วนเป็นเรื่องของการใช้สติปัญญาทั้ง นั้น และไร้รูปลักษณ์ใดๆ มนุษย์รู้ได้และปฏิบัติให้ถึงซึ่งการตรัสรู้เยี่ยงเดียวกับพระพุทธองค์เพราะพระพุทธเจ้ามีสภาพ เช่นเดียยวกับมนุษย์ มีข้อแตกต่างกันเพียงอย่างเดียวเท่านั้น คือการใช้สติปัญญาและเหตุผลเพื่อค้นหา “ตัวจริง” พระอาจารย์หงเหยิ่น กล่าวถึงสัญลักษณ์การส่งมอบตำแหน่งพระธรรมาจารย์ว่า “ในครั้งที่พระโพธิธรรมาถึงเมืองจีน ไม่มีใครเชื่อถือ ผ้ากาสาวพัสตร์จึงกลายเป็นสัญลักษณ์ส่งมอบจากพระสังฆ ปริณายก องค์หนึ่งสู่อีกองค์หนึ่ง ส่วนธรรมะก็ส่งมอบจากจิตสู่จิต ซึ่งไม่เกี่ยวกับคัมภีร์ใดๆ ผู้รับมอบธรรมะ จักต้อง เป็นผู้ที่เห็นแจ้งในธรรมะด้วยความพยายามของตนเอง จึงเป็นธรรมเนียมปฏิบัติมาแต่อดีตกาล ที่พระพุทธเจ้าองค์หนึ่ง จะมอบหัวใจแห่งคำสอนของพระองค์แก่ผู้ที่จะสืบอายุ พระพุทธศาสนาต่อไป” คำกล่าวของพระอาจารย์หงเหยิ่นได้ยืนยันให้เห็นความเป็นจริงอย่างหนึ่งว่า “หัวใจ” ของธรรมะย่อมไม่เกี่ยว พันกับตำราหรือธรรมะที่ผู้นั้นปฏิบัติอยู่ เปรียบเสมือน บาตร กับจีวร เป็นเพียงตัวแทนของธรรมะ แต่มิใช่ธรรมะอัน แท้จริง การถ่ายทอด “หัวใจ” แห่งธรรมะสูงสุดจึงไม่อาจบัญญัติเป็นตำราใดๆ ได้เลย แต่อยู่ที่จิตใจของผู้นั้นรู้แจ้งเป็น ธรรมะของตนเองเสียก่อน จึงสามารถปลดปล่อย “ธรรมญาณ” ให้หลุดพ้นไปจากเครื่องร้อยรัดทั้งปวงได้ เมื่อสภาวะแห่งธรรมญาณเป็นอิสระแท้จริงแล้ว การรู้ถึง “หัวใจ” แห่งธรรมะ จึงกลายเป็นอนุตตรภาพที่หา ขอบเขตมิได้ ดังคำกล่าว ของพระอริยะเจ้าว่า “อ่านจนเจนจบแปดหมื่นสี่พันคัมภีร์สาส์น สู้พระวิสุทธิอาจารย์ประทานหนึ่งจุดมิได้” เมื่อรู้หนึ่งแล้วจึงรู้ไปถึงหมื่นแสน บาตร กับ จีวร จึงสิ้นสุดการเป็นสัญลักษณ์ของการส่งมอบตำแหน่งพระธรรมาจารย์เพียงแค่ท่านฮุ่ยเหนิง แต่ หัวใจของธรรมะ จิตสู่จิต ยังส่งมอบต่อๆ กันมาจนถึงปัจจุบันกาล

» เว่ยหล่าง หรือ ฮุ่ยเหนิง

» วิปัสสนาปัญญา

» จิตเดิมแท้

» อนุตตรสัมมาสัมโพธิ

» ต้นโพธิ์กับกระจกเงา

» โศลกอันลือเลื่อง

» ต้นธาตุ ต้นธรรม

» ศูนย์กลางจักรวาล

» ดวงตาเห็นธรรม

» สัจธรรมแห่งการกินเจ

» เอกธรรมมรรค

» บรรลุอย่างฉับพลัน

» มหาปรัชญาปารมิตา

» ความว่างที่ไม่รู้จักเต็ม

» สัมมาปัญญา

» กิเลสคือโพธิ

» มหาปัญญา

» เหมือนที่ต่าง

» ครูที่แท้จริง

» วิมุติปัญญา

» ความไม่ต้องคิด

» พ้นโง่-พ้นฉลาด

» มองหาความผิดตนเอง

» ทางที่ถูกต้อง

» มหาธรรมนาวา

» ติดบุญ-บาปพัวพัน

» อหังการ

» ดินแดนแห่งอมิตาภะ

» มนุษย์นคร

» แสงแห่งพระพุทธะ

» บำเพ็ญในครัวเรือน

» ถือศีลแต่ตกนรก

» ไหว้พระในบ้าน

» ความเป็นธรรม

» บัวสีแดงเหนือตมสีดำ

» เงินบังโพธิปัญญา

» นั่งเฝ้าก้อนเนื้อ

» หลงสุขจึงไม่เห็นทุกข์

» สมาธิที่ถูกวิธี

» หลอกตัวเอง

» หลงข้ามภพข้ามชาติ

» ไม่ช้า-ไม่เร็ว

» หนึ่งเป็นสองต้องมีทุกข์

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย