ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์ >>

กฎหมายไทย - พระราชบัญญัติ

กฎมณเฑียรบาล ว่าด้วยการค้าขายและการสมาคมแห่งข้าราชการในพระราชสำนัก

ศุภมัสดุ พระพุทธศาสนายุกาล
เป็นอดีตภาค 2457 พรรษา พฤษภาคมมาศ
เอกติงสติมสุรทิน อาทิจจวาร โดยกาลนิยม

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธ เอกอรรคมหาบุรุษบรมนราธิราช พินิตประชานารถมหาสมมตวงษ์ อดิศัยพงษวิมลรัตน์ วรขัติยราชนิกโรดม จาตุ รันตบรมมหาจักรพรรดิราชสังกาศ บรมธรรมิกมหาราชาธิราช บรมนารถบพิตร์

พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชดำริว่า การที่ข้าราชการในพระราชสำนัก ประกอบกิจในทางค้าขายเพื่อแสวงประโยชน์ นอกเหนือผลแห่งราชการ ซึ่งกระทำอยู่แล้วตามหน้าที่นั้น ย่อมเป็นทางที่อาจนำมา ซึ่งความเสียหายได้โดยเอนกประการ สมควรจะตราบัญญัติแสดงพระราชนิยมไว้ เพื่อให้ข้าทูลละอองธุลีพระบาทที่นับว่าเป็นผู้ปฏิบัติราชการในที่ใกล้ชิดพระองค์ ทราบไว้ทั่วกัน ก็วิสัยมนุษย์ที่ทำการงานใด ๆ ทั้งสิ้น ธรรมดาบังคับว่าต้องมีเวลาพักผ่อน ผู้ที่เป็นข้าราชการนั้นก็ย่อมมีราชกิจเป็นกังวลที่ควรปฏิบัติโดยเต็มสติกำลัง และความสามารถอยู่แล้ว เมื่อถึงเวลาที่เสร็จราชการชั่ววันหนึ่ง ๆ ก็ได้กลับสู่เคหะ สถานบ้านเรือน อันเป็นเวลาที่ทรงพระกรุณาให้พักผ่อนร่างกายเพื่อบำรุงกำลังและ ความคิด เพื่อประโยชน์แก่หน้าที่ราชการของตนในวันหน้า ก็เมื่อข้าราชการผู้ใดเอา เวลาซึ่งควรจะพักผ่อนนั้นไปทำการงานอย่างอื่น เพื่อประโยชน์พิเศษของตนเช่นนี้แล้ว ผู้นั้นก็จำจะต้องกลับใช้เวลาซึ่งควรประกอบราชกิจตามหน้าที่นั้น สำหรับพักผ่อน เป็นธรรมดา นับว่าเป็นการเอาเปรียบไม่สมควรแก่ผู้ที่เป็นข้าราชการเลย อนึ่ง พระราชประสงค์อันเป็นข้อใหญ่ในการที่ทรงพระมหากรุณาพระราชทานเบี้ยบำนาญ เลี้ยงชีพนั้นก็ด้วยทรงพระราชดำริเห็นว่า ข้าทูลละอองธุลีพระบาทมีหน้าที่ต้องรับ ราชการเต็มกำลังและเวลา ไม่มีโอกาสที่จะสะสมทรัพย์สมบัติไว้เลี้ยงตนเมื่อแก่ ชราทุพลภาพ จึงทรงพระกรุณาพระราชทานเงินเลี้ยงชีพแก่ผู้ที่มีความชอบและ เหน็ดเหนื่อย ทั้งนี้ ก็เสมอว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสะสมทรัพย์ สมบัติไว้ให้แก่ราชการ เพื่อเลี้ยงตนและครอบครัวในเวลาที่มิสามารถจะหา ผลประโยชน์ใด ๆ อื่นได้ ข้าทูลละอองธุลีพระบาทควรระลึกถึงพระมหากรุณา ข้อนี้แล้ว และตั้งหน้าปฏิบัติราชการโดยสุดกำลังจริง ๆ ไม่สมควรจะเอาเวลา ซึ่งควรจะให้เป็นประโยชน์แก่ราชการไปใช้ในการแสวงผลประโยชน์ส่วนตัวให้ นอกเหนือออกไปอีก แต่ครั้นจะทรงห้ามมิให้ข้าราชการในพระราชสำนักแสวง ผลใด ๆ นอกจากผลแห่งราชการเสียทีเดียว ก็ยังทรงพระกรุณาอยู่ว่าเป็นการ รุนแรงเกินกว่าเหตุไป เพราะทางหาผลประโยชน์บางอย่าง ที่ไม่เป็นการ เสื่อมเสียแก่ราชการและเกียรติยศก็มีอยู่บ้าง ทั้งข้าราชการนอกพระราชสำนัก ก็ประกอบการหาเลี้ยงชีพในทางค้าขายมีอยู่หลายราย จะทรงห้ามแต่ข้าราชการ ในพระราชสำนักจำพวกเดียว ก็จะเป็นการเสียเปรียบเกินไป แต่ครั้นจะไม่มี ข้อบัญญัติไว้เสียเลยในเรื่องนี้ ก็มีทางที่จะเสื่อมเสีย ทั้งประโยชน์ส่วนตัวแห่ง ข้าราชการผู้นั้นเองและประโยชน์แห่งราชการได้โดยเอนกบรรยาย และเมื่อ ข้าราชการในพระราชสำนักผู้ใดไปมีเหตุเสียหายด้วยประการใด ๆ ในการค้าขาย เข้าแล้ว เหตุนี้ย่อมกระทบกระเทือนถึงพระองค์สมเด็จพระเจ้าแผ่นดินเป็นที่เสื่อม เสียพระเกียรติยศได้ โดยเหตุผลซึ่งได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ พระราชทาน พระราชปรารภปรากฏโดยแจ่มแจ้งชัดเจนในกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยครอบครัวแห่ง ข้าราชการในพระราชสำนัก พระพุทธศักราช 2457 นั้นแล้ว

อนึ่ง การคบหาสมาคมของข้าราชการในพระราชสำนักก็เป็นข้อสำคัญ อย่างหนึ่ง ซึ่งถ้ามิเป็นไปโดยชอบแล้ว จะเป็นโทษแก่ตน ซ้ำจะมีผลอันอาจเป็นเหตุ ให้เสื่อมเสียพระเกียรติยศได้ด้วยโดยมูลดุจเดียวกัน สมควรจะมีบัญญัติสกัดกั้นทาง ที่จะนำสู่ความเสียหายไว้บ้าง จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้เจ้าพระยาธรรมาธิกรณา ธิบดี ศรีรัตนมณเฑียรบาล บรมราโชประการกิจจาภิรมย์ สรรโพดมราชธุรานุประดิษฐ์ ธรรมสุจริตวิบุลย์ มาลากุลวิวัฒน์ บำรุงรัตนราชประเพณี นิตยภักดีนฤปนารถ อันเตปุริกามาตย์มหานายก อรรคเสวกนนทิพาหมุรธาธร กิติขจรเสนาบดี ศรีรัตนไตร สรณธาดา อุดมอาชวาธยาไศรย อภัยพิริยบรากรมพาหุ เสนาบดีกระทรวงวัง รับ พระบรมราชโองการใส่เกล้า ฯ ประกาศกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการค้าขายและการ สมาคมแห่งข้าราชการในพระราชสำนัก ดังต่อไปนี้

 | หน้าถัดไป »

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย