ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์ >>

กฎหมายไทย - พระราชบัญญัติ

พระราชบัญญัติ ระเบียบการปฏิบัติราชการของทบวงมหาวิทยาลัย พ.ศ. 2520

ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2520
เป็นปีที่ 32 ในรัชกาลปัจจุบัน

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยระเบียบการปฏิบัติ ราชการของทบวงมหาวิทยาลัย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้ โดยคำแนะนำและยินยอมของสภาปฏิรูปการปกครองแผ่นดินดังต่อไปนี้

มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า "พระราชบัญญัติระเบียบการ ปฏิบัติราชการของทบวงมหาวิทยาลัย พ.ศ. 2520"

มาตรา 2 พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศ ในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป [รก.2520/31/309/12 เมษายน 2520]

มาตรา 3 ให้ยกเลิกประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 320 ลงวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2515 บรรดาบทกฎหมาย กฎ และข้อบังคับอื่นที่มีบัญญัติไว้แล้วในพระราช บัญญัตินี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัตินี้ ให้ใช้พระราชบัญญัตินี้แทน

มาตรา 3 ทวิ ในพระราชบัญญัตินี้ "สถาบันอุดมศึกษาของรัฐในสังกัด" หมายความว่า มหาวิทยาลัย และสถาบันของรัฐที่เป็นส่วนราชการสังกัดทบวงมหาวิทยาลัย "สถาบันอุดมศึกษาของรัฐในกำกับ" หมายความว่า มหาวิทยาลัย และสถาบันของรัฐที่ไม่เป็นส่วนราชการ ซึ่งอยู่ในกำกับดูแลของรัฐมนตรี ว่าการทบวงมหาวิทยาลัย [มาตรา 3 ทวิ เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2537]

มาตรา 4 ให้รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้

(1) กำหนดนโยบายและแผนการจัดการศึกษาในระดับอุดมศึกษา ให้สอดคล้องกับแผนการศึกษาแห่งชาติ

(2) กำหนดมาตรฐานการศึกษาในระดับอุดมศึกษา และเกณฑ์ มาตรฐานหลักสูตรการศึกษาในระดับอุดมศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ และสถาบันอุดมศึกษาเอกชน

(3) รับรองวิทยฐานะสถาบันอุดมศึกษาเอกชน และมาตรฐานการ ศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาของรัฐและสถาบันอุดมศึกษาเอกชน

(4) กำหนดมาตรฐานการบริหารงานบุคคลของข้าราชการพลเรือน ในมหาวิทยาลัยตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย

(5) เสนอแนะการจัดสรรเงินงบประมาณให้แก่สถาบันอุดมศึกษา ของรัฐในสังกัดและสถาบันอุดมศึกษาของรัฐในกำกับต่อคณะรัฐมนตรี

(6) ติดตามประเมินผลการจัดการศึกษา และประสานงานจัดการ ศึกษาระหว่างสถาบันอุดมศึกษาของรัฐในสังกัด สถาบันอุดมศึกษาของรัฐใน กำกับและสถาบันอุดมศึกษาเอกชน

(7) พิจารณาเสนอการจัดตั้ง ยุบ รวม ปรับปรุงและเลิกสถาบัน อุดมศึกษาของรัฐในสังกัดและสถาบันอุดมศึกษาของรัฐในกำกับต่อคณะรัฐมนตรี

(8) พิจารณาอนุมัติการจัดตั้ง ยุบ รวม ปรับปรุงและเลิกสถาบัน อุดมศึกษาเอกชน

(9) พิจารณาอนุมัติการจัดตั้ง ยุบ รวม และเลิกคณะ ภาควิชา หรือส่วนงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐในสังกัด

(10) ส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัย

(11) วางระเบียบการปฏิบัติราชการเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนกิจการ ต่าง ๆ ร่วมกันของสถาบันอุดมศึกษาของรัฐในสังกัดอันมิใช่กิจการของสถาบัน แห่งหนึ่งแห่งใดโดยเฉพาะ

(12) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นเจ้าหน้าที่ของ ทบวงมหาวิทยาลัย

[มาตรา 4 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2537]

มาตรา 5 ให้มีคณะกรรมการทบวงมหาวิทยาลัยขึ้นคณะหนึ่ง ประกอบด้วยประธานกรรมการซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้ง ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและ สังคมแห่งชาติ เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน เลขาธิการ คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ และผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งอีก ไม่เกินเก้าคนเป็นกรรมการ และในจำนวนนี้จะต้องมีผู้ทรงคุณวุฒิจากภาคเอกชน ไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของจำนวนผู้ทรงคุณวุฒิ ให้ปลัดทบวงมหาวิทยาลัยเป็นกรรมการและเลขานุการ และรอง ปลัดทบวงมหาวิทยาลัยคนหนึ่งเป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

[มาตรา 5 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2537]

มาตรา 6 ให้คณะกรรมการทบวงมหาวิทยาลัยมีหน้าที่ให้คำปรึกษา คำแนะนำ และความเห็นแก่รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัยในเรื่องตามที่ บัญญัติไว้ในมาตรา 4 และตามที่รัฐมนตรีมอบหมาย

มาตรา 7 ประธานกรรมการและกรรมการทบวงมหาวิทยาลัย ซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้ง มีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละสองปี ผู้ซึ่งพ้นจาก ตำแหน่งตามวาระอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้

มาตรา 8 นอกจากการพ้นตำแหน่งตามวาระตามมาตรา 7 ประธานกรรมการและกรรมการทบวงมหาวิทยาลัยพ้นจากตำแหน่ง เมื่อ

(1) ตาย
(2) ลาออก
(3) คณะรัฐมนตรีมีมติให้ออก

ในกรณีที่ประธานกรรมการหรือกรรมการซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้ง พ้นจากตำแหน่งก่อนวาระ คณะรัฐมนตรีอาจแต่งตั้งผู้อื่นเป็นประธานกรรมการ หรือกรรมการแทน ให้ประธานกรรมการหรือกรรมการซึ่งได้รับแต่งตั้งตามวรรคสอง อยู่ในตำแหน่งตามวาระของผู้ซึ่งตนแทน

มาตรา 9 ในการประชุมคณะกรรมการทบวงมหาวิทยาลัยต้องมี กรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งจำนวนของกรรมการทั้งหมด จึงจะเป็น องค์ประชุม การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก กรรมการคนหนึ่ง ให้มีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานในที่ประชุม ออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด ในการประชุม ถ้าประธานกรรมการไม่มาประชุมหรือไม่อยู่ใน ที่ประชุมให้ที่ประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม

มาตรา 10 คณะกรรมการทบวงมหาวิทยาลัยอาจแต่งตั้งคณะอนุ กรรมการเพื่อพิจารณาและเสนอความเห็นในเรื่องหนึ่งเรื่องใด หรือมอบหมาย ให้ปฏิบัติการอย่างหนึ่งอย่างใด อันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ และ ให้นำมาตรา 9 มาใช้บังคับแก่การประชุมของคณะอนุกรรมการโดยอนุโลม

มาตรา 11 คณะกรรมการทบวงมหาวิทยาลัยอาจเชิญบุคคลหนึ่ง บุคคลใดมาให้ข้อเท็จจริงและแสดงความคิดเห็นหรือคำแนะนำได้ตามที่เห็น สมควร

มาตรา 12 ให้สำนักงานปลัดทบวงมหาวิทยาลัยทำหน้าที่เกี่ยวกับ การดำเนินงานของคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย และ คณะกรรมการสถาบันอุดมศึกษาเอกชน [มาตรา 1 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2537]

มาตรา 13 ทบวงมหาวิทยาลัยอาจขอให้กระทรวง ทบวง กรม ที่มีมหาวิทยาลัยหรือสถาบันอยู่ในสังกัดเสนอโครงการและแผนงานเกี่ยวกับ การศึกษาของมหาวิทยาลัยหรือสถาบันนั้นตลอดจนรายละเอียดทางวิชาการ การเงิน สถิติ และเรื่องที่จำเป็นแก่การปฏิบัติงานในอำนาจหน้าที่ตาม มาตรา 4

มาตรา 14 ให้ประธานกรรมการและกรรมการทบวงมหาวิทยาลัย ของรัฐซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 320 ลงวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2515 และอยู่ในตำแหน่งในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ยังคงดำรงตำแหน่งต่อไปจนกว่าจะพ้นจากตำแหน่งตามวาระ

มาตรา 15 ให้รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัยรักษาการตาม พระราชบัญญัตินี้

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
ธานินทร์ กรัยวิเชียร
นายกรัฐมนตรี

__________________________________

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ ได้มีกฎหมายปรับปรุงฐานะของทบวงมหาวิทยาลัยให้เป็นทบวงไม่สังกัด ส่วนราชการอื่น และให้มีอำนาจควบคุมมหาวิทยาลัยและสถาบันอุดมศึกษา ที่เป็นของรัฐและเอกชนในสังกัด สมควรปรับปรุงอำนาจหน้าที่ของทบวง มหาวิทยาลัยให้สอดคล้องกัน จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ขึ้น

__________________________________

พระราชบัญญัติระเบียบปฏิบัติราชการของทบวงมหาวิทยาลัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2537

มาตรา 6 ให้ประธานกรรมการและกรรมการทบวงมหาวิทยาลัย ซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งตามพระราชบัญญัติระเบียบการปฏิบัติราชการของ ทบวงมหาวิทยาลัย พ.ศ. 2520 และอยู่ในตำแหน่งในวันที่พระราชบัญญัตินี้ ใช้บังคับ ยังคงดำรงตำแหน่งต่อไปจนกว่าจะพ้นจากตำแหน่งตามวาระ มาตรา 7 ให้รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัยรักษาการตาม พระราชบัญญัตินี้

__________________________________

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ ปัจจุบันมีมหาวิทยาลัยของรัฐที่ไม่เป็นส่วนราชการ และอยู่ในการกำกับดูแล ของรัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัยเพิ่มขึ้น ได้แก่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี สุรนารีและมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ทำให้การกำกับดูแลโดยทั่วไปของรัฐมนตรี ว่าการทบวงมหาวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติระเบียบการปฏิบัติราชการของ ทบวงมหาวิทยาลัย พ.ศ. 2520 ไม่ครอบคลุมถึงสถาบันอุดมศึกษาของรัฐที่ ไม่เป็นส่วนราชการดังกล่าว ประกอบกับสมควรปรับปรุงองค์ประกอบของ คณะกรรมการทบวงมหาวิทยาลัยและอำนาจหน้าที่ของสำนักงานปลัดทบวง มหาวิทยาลัยให้เหมาะสมยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

[รก.2537/23ก/1/13 มิถุนายน 2537]

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย