ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์

ประชาคมอาเซียน

สาระความรู้ ข้อมูลอาเซียน

คณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน

ASEAN Intergovernmental Commission on Human Rights – AICHR AICHR เป็นองค์กรที่จัดตั้งขึ้นตามข้อ 14 ของกฎบัตรอาเซียน ที่มีอำนาจหน้าที่ในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิ มนุษยชน และได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนเมื่อเดือนกรกฎาคม 2552 ในช่วงที่ไทย เป็นประธานอาเซียน ทั้งนี้ คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2552 แต่งตั้งให้ ดร.ศรีประภา เพชรมีศรี เป็นผู้แทน ไทยใน AICHR โดยมีวาระ 3 ปี ตั้งแต่ เดือนตุลาคม 2552 ถึง ตุลาคม 2555 โดยผู้แทนไทยฯ มีความเป็นอิสระในการ ดำเนินนโยบาย โดยได้มีการปรึกษาด้านแนวนโยบายกับกระทรวงฯ เป็นระยะ ในช่วงที่ผ่านมา ผู้แทนไทยฯ ได้ดำเนินงาน ที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริม (Promotion) เรื่องสิทธิมนุษยชนทั้งภายนอกประเทศ และภายในประเทศ

พัฒนาการและการดำเนินงานของ AICHR

AICHR ได้มีการประชุมไปแล้ว 9 ครั้ง ในระยะแรกของการทำงาน AICHR ได้ใช้เวลาในการวางรากฐานการ ทำงานของ AICHR เพื่อการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนอย่างเป็นรูปธรรมและมีประสิทธิภาพ โดย (1) การจัดทำ Guideline on the Operations of AICHR เพื่อกำหนดวิธีการดำเนินงานของ AICHR (2) แผนงานกิจกรรม 5 ปี (2010-2015) (3) มีการหารือเกี่ยวกับการทำงานร่วมระหว่าง AICHR กับ ASEAN Commission for the Promotion and Protection of the Rights of Women and Children (ACWC)

กิจกรรมของ AICHR ประกอบด้วย

1. การศึกษาประเด็นสิทธิมนุษยชน 11 ประเด็น ซึ่ง AICHR กำหนดทำการศึกษาปีละ 2 ประเด็น โดย ในช่วงแรกเป็นเรื่อง Corporate Social Responsibility and Human Rights เรื่อง Migration และ Right to Peace เป็นต้น

2. การจัด Workshops ร่วมกับองค์กรภายนอก จนถึงบัดนี้ ได้จัด workshops 3 ครั้ง (1) Maternal Mortality ร่วมกับ UN Women (2) Statelessness ร่วมกับ UNHCR และ (3) เรื่อง ASEAN Human Rights Declaration ร่วมกับ OHCHR

3. การยกร่างปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน

4. การจัดทำ Study of ASEAN blueprints from human rights perspectives

5. การจัดอบรมระดับภูมิภาค ครั้งแรกจะจัดประมาณเดือนสิงหาคม 2555 เรื่อง Access to justice และครั้งที่สองจะจัดประมาณเดือนกันยายน Advanced program on human rights for the trainers การอบรมทั้งสอง ครั้งจะดำเนินการโดยผู้แทนไทยฯ

6. การจัดทำสื่อเผยแพร่การทำงานของ AICHR ผ่าน website และ AICHR booklet

7. การประชุมและสร้างปฏิสัมพันธ์กับองค์กรระหว่างประเทศ

- การเยือนสหรัฐอเมริกา และ คณะกรรมาธิการสิทธิแห่งรัฐอเมริกา (Inter-American Human Rights Commission) ระหว่างวันที่ 14-20 พฤศจิกายน 2553 ซึ่งถือเป็นการสร้างปฏิสัมพันธ์ครั้งแรกกับองค์กรด้าน สิทธิมนุษยชนทั้ง UN เช่น OHCHR, ECOSOC, UNDP, UNIFEM (ในขณะนั้น) UNHCR และองค์กรระหว่างรัฐบาล ระดับภูมิภาค และกับองค์กรเอกชนระหว่างประเทศ เช่น Human Rights Watch, Amnesty International, Freedom House, Centre for Reproductive Rights, American Bar Association และ American University เป็นต้น ผลจาก การเยือนครั้งนั้น นอกจากเป็นการเปิดโลกทัศน์ของ AICHR แล้ว ยังทำให้ AICHR เห็นความจำเป็นในการทำงานร่วมกับ องค์กรด้านสิทธิมนุษยชน หรือที่ทำงานเกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชนอื่นๆ กับทั้งเริ่มหารือในเรื่องความสำคัญในการสร้าง ปฏิสัมพันธ์กับภาคประชาสังคม แม้ว่ามีบางประเทศจะยังไม่สะดวกใจก็ตาม

- การเยือนยุโรปด้วยการสนับสนุนของสหภาพยุโรป เมื่อเดือนเมษายน 2554 ซึ่งก็เป็นอีก โอกาสหนึ่งที่ AICHR ได้มีปฏิสัมพันธ์กับทั้งองค์กรด้านสิทธิมนุษยชนระดับภูมิภาคและองค์กรพัฒนาเอกชนทั้งระดับ ระหว่างประเทศและภูมิภาค (Council of Europe, European Human Rights Court, EU (Fundamental Rights Agency), OSCE, Front Line และอีกหลายองค์กร ซึ่งหารือได้เน้นความจำเป็นและความสำคัญของการมีส่วนร่วมของ องค์กรต่างๆ รวมทั้งภาคประชาสังคม

การดำเนินงานในระดับชาติ ของผู้แทนไทยฯ ประกอบด้วย

1. จัดการประชุมหารือเพื่อกับผู้มีส่วนได้เสียทั้งจากภาครัฐ ภาคประชาชน และภาควิชาการ ที่กระทรวง การต่างประเทศ เป็นระยะๆ รวม 4 ครั้ง

2. ได้จัดการสัมมนาและประชุมเพื่อปรึกษาหารือ (Road Show) เรื่อง กลไกเพื่อการส่งเสริมสิทธิ มนุษยชนในระดับภูมิภาคและระดับระหว่างประเทศ ในปีที่ผ่านมา รวมทั้งหมด 4 ครั้ง ที่ (1) กรุงเทพฯ (2) เชียงใหม่ (3) นครพนม และ (4) ระนอง

3. การจัดทำ VCD เผยแพร่ความรู้เรื่องอาเซียน สิทธิมนุษยชนและ บทบาทของ AICHR และ สิทธิ มนุษยชนในประเทศไทย นอกจากนี้ การจัดทำคู่มือเรื่องสิทธิมนุษยชนและความรับผิดชอบทางสังคมของภาคธุรกิจ โดยเน้นความเข้าใจเรื่องสิทธิมนุษยชน

4. การจัดประชุมหารือเกี่ยวกับปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชนจำนวน 6 ครั้งในภูมิภาคต่างๆ คือ ที่เชียงใหม่ ฉะเชิงเทรา อุบลราชธานี ราชบุรี ตรัง และกรุงเทพฯ ตามลำดับ โดยความร่วมมือจากองค์กรเครือข่ายใน แต่ละพื้นที่ ที่มา : กองอาเซียน 1 กรมอาเซียน สิงหาคม 2555

» ปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน

» แถลงการณ์พนมเปญว่าด้วยการรับรองปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (เอเอชอาร์ดี)

» ขอบเขตอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมาธิการ ระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน

» แผนงานการจัดตั้ง ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน

» ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน

» ปฏิญญาชะอำ หัวหินว่าด้วยแผนงานสำหรับประชาคมอาเซียน (2552-2558)

» ความตกลงสำคัญเรื่องความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคง ในกรอบอาเซียน

» แผนปฏิบัติการประชาคมความมั่นคงอาเซียนปี 2547

» กลไกระงับข้อพิพาทในอาเซียน

» สิทธิมนุษยชน เป็นเรื่องต้องใช้เวลา

» เงินสกุลอาเซียน ความฝันที่ใกล้เป็นจริง

» 7 ปรากฏการณ์ Social Network ในอาเซียน

» คณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน

» ความร่วมมือของอาเซียนในการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์

» ความร่วมมือของประเทศสมาชิกอาเซียนในการแก้ไขปัญหายาเสพติด

» ความร่วมมือทางทะเลในกรอบอาเซียน

» การบริหารจัดการภัยพิบัติ (พลเรือน)

» คณะกรรมาธิการอาเซียนเพื่อคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิสตรีและสิทธิเด็ก

» ความร่วมมือด้านการศึกษาอาเซียน

» ความร่วมมืออาเซียนด้านสาธารณสุข

» ASEAN-India Car Rally ครั้งที่ 2 ฉลองครบรอบ 20 ปี ความสัมพันธ์อาเซียน-อินเดีย

» การประชุมคณะกรรมการอาเซียนว่าด้วยวัฒนธรรมและสนเทศ ครั้งที่ 47 ณ กรุงฮานอย เวียดนาม

» ประชาคมอาเซียนกับนวัตกรรม

» ความไว้เนื้อเชื่อใจ กุญแจที่ขาดหายไปในทะเลจีนใต้

» ASEAN Gay Rights บทบาทรุกหรือรับ

» จุดแข็ง-จุดอ่อน-เบื้องต้น ของประเทศต่างๆใน AEC ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

» รายชื่อโรงเรียนต้นแบบการพัฒนาสู่ประชาคมอาเซียน

» การขับเคลื่อนโรงเรียนสู่ประชาคมอาเซียน ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

» อินโดนีเซียคาดเศรษฐกิจขยายตัวเร็วขึ้น,ยอดขาดดุลงบประมาณลดลงในปี 2556

» กบง.เล็งถกด่วนวันนี้ ลดเก็บเงินเข้ากองทุนฯ อีกระลอกหลังค่าการตลาดลดต่ำ

» พาณิชย์ขนทัพปาล์ม-ยาง-ไม้เปิดตลาดพม่า

» เอกชนจี้รัฐแก้ภาษีซ้อนเออีซีดันเปิดสาขาแบงก์ไทยในพม่า

» 45 ปีอาเซียน

» เพลงประจำอาเซียน

» ครึ่งทางสู่ AEC ปี 2015

» ความสัมพันธ์อาเซียน-แคนาดา รุดหน้าถกแผนเศรษฐกิจ 3 ปี

» พาณิชย์จัดประชุม JTC กระชับความสัมพันธ์การค้าการลงทุน ไทย-กัมพูชา

» อาเซียน (ASEAN)

» สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน)

» กฎบัตรสมาคมแห่งประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

» ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC)

» ประเทศสมาชิกอาเซียน

» ธงชาติอาเซี่ยน

» ไทยกับอาเซียน

» แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 (พ.ศ.2555-2559)

» ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และ บูรณาการอาเซียน

» อาเซียน +3

» การเตรียมความพร้อมเพื่อก้าวสู่ประชาคมอาเซียน

» ปัญหาในการรวมกลุ่มและความก้าวหน้าของอาเซียน

» ความสัมพันธ์อาเซียน-ยุโรป

» สาระน่ารู้เกี่ยวกับอาเซียน

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย