ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม อารยธรรม >>

ประวัติเครื่องแต่งกาย

» สาเหตุที่มนุษย์มีการแต่งกายแตกต่างกัน

» การแต่งกายไทยตามสมัยประวัติศาสตร์และโบราณคดี

» การแต่งกายสมัยรัตนโกสินทร์

» การเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการของการใช้เสื้อผ้าในแต่ละยุคสมัย

» การเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการของการใช้เครื่องประดับในแต่ละยุคสมัย

» การแต่งกายของชาวเขาในประเทศไทย

» การแต่งกายชาวเอเซีย

» การแต่งกายชาวตะวันออกกลางและยุโรป

» การแต่งกายของยุโรปตอนเหนือ

» แนวความคิดในการออกแบบเครืองแต่งกายจากสมัยต่าง ๆ

แนวความคิดในการออกแบบเครืองแต่งกายจากสมัยต่าง ๆ

จากประวัติความเป็นมาเกี่ยวกับการแต่งกายของไทยเอเชียและยุโรปดังกล่าวจะพบว่า การแต่งกายของมนุษย์ไม่ว่าเป็นชาติไหนจะเริมตั้งแต่เมือมนุษย์รู้จักนำหนังสัตว์หรือใบไม้มาใช้ เพื่อเป็นเครื่องนุ่งห่ม (นฤมล ปราชญ์โยธิน, 2525 : 5) ต่อมารู้จักดัดแปลงนำผ้ามานุ่ง มาห่ม ซึงการนุ่งการห่มก็จะแตกต่างกันออกไปของแต่ละประเทศ หรือไม่ก็เป็นการทีมนุษย์รู้จักนำผ้า มาผูกหรือขดแทนการพัน มีการห่ม มีการนำมาพับมาจีบให้เกิดความสวยงาม นำสิงของเช่น กระดูกมาทำเป็นกระดุม (พวงผกา คุโรวาท, 2535 : 541) รวมทั้งการรู้จักนำผ้ามาเย็บต่อกัน ให้สวมใส่ได้ และพัฒนามาเป็นรูปทรงต่าง ๆ ซึงมีการเปลี่ยนแปลง ดัดแปลงเพื่อให้เหมาะสม กับสภาพแวดล้อม สภาพดินฟ้าอากาศภาวะทางเศรษฐกิจ การเมือง และเหมาะสมกับสภาพ การปฏิบัติหน้าที ทั้งนี้ยังขึ้น อยู่กับการเปลี่ยนแปลงไปของโลก เนืองจากการพัฒนาทำให้ ประเทศเจริญขึ้น และมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงเครื่องแต่งกาย ประเทศต่าง ๆ สามารถรับ วัฒนธรรมใหม่ ๆ จากทั่ว โลกได้รวดเร็วขึ้น มีการรับเอาวัฒนธรรมใหม่ ๆ เข้ามารู้จักดัดแปลงให้ เข้ากับสภาพวิถีชีวิตของตนเอง จนกลายเป็นเอกลักษณ์เฉพาะได้ อีกทั้งยังได้รับอิทธิพลจาก ผู้นำประเทศทีเป็นแบบอย่างของการแต่งกาย หรือคนชั้น สูง ทำให้เกิดออกแบบ ดัดแปลง เสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย เพื่อให้เหมาะสมกับเป็นเครื่องแสดงลักษณะเฉพาะหรือแอกลักษณ์ของ ประเทศนั้น โดยอาจจะเป็นการนำลักษณะเด่นของเครื่องแต่งกายของแต่ละยุคแต่ละสมัยมา ปรับปรุง ดัดแปลงผสมผสานกับสิงใหม่ เพื่อให้เข้ากับสภาพแวดล้อมและความนิยมตามสมัย

หลังจากสงครามโลกครั้งที่สอง สงบลงแล้ว บ้านเมืองมีความสงบขึ้น เศรษฐกิจทั่ว โลก มีสภาพดีขึ้น คนเราเริมหันมาสนใจกับการแต่งกาย การออกแบบ จึงมีนักออกแบบเกิดขึ้น มากมายจนถึงปัจจุบัน ซึงนักออกแบบเหล่านี้จะเป็นผู้กำหนดและออกแบบการใช้เสื้อผ้าให้ เหมาะสมกับโอกาสสถานที เพศ และวัยของผู้สวมใส่ และอันเนืองมาจากของความจำเจ ความเบือหน่าย และความไม่เหมาะสมจึงเป็นเหตุทำให้ Fashion ของเสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย ต้องมีการเปลี่ยนแปลงและหมดความนิยมไป แล้วระยะหนึ่งก็หมุนเวียนกลับมาใหม่เป็นวัฏจักร เช่นนี้เรื่อยไป

ในการออกแบบเครื่องแต่งกายสมัยใหม่ การออกแบบส่วนหนึ่งนักออกแบบจะ มีแรงบันดาลใจของตนเอง แรงบันดาลใจจากแบบเครื่องแต่งกายในอดีต ผสมผสานกันโดย อาศัยองค์ประกอบต่าง ๆ ดังนี้คือ

1. เส้นกรอบนอกของรูปทรง
2. ลักษณะของผ้าเช่น ผิวสัมผัส ลวดลายผ้า
3. ประโยชน์ใช้สอย และความสะดวกสบาย
4. จุดเด่นหรือจุดเน้นของรูปแบบเสื้อผ้า

แนวโน้มการแต่งกายในอนาคต
ในโลกของอนาคตนั้น กล่าวกันว่าเป็นยุคแห่งวิทยาศาสตร์ความเจริญในด้าน อุตสาหกรรม และเทคโนโลยีจะมีบทบาทมากดังนั้น แนวโน้มของการแต่งกายในอนาคต ควรมี การวิเคราะห์จากองค์ประกอบ ต่อไปนี้

  1. วิเคราะห์จากสภาพแวดล้อม โดยคำนึงถึง อาชีพ ฤดูกาล เพศ วัย บุคลิก นิสัย เศรษฐกิจ การเมือง ค่านิยม เวลา ความสะดวกสบายในการสวมใส่ และการ พกพา กาลเทศะ โอกาส การดูแลรักษา คุณภาพ ราคา ความนิยม และระดับของผู้บริโภค
  2. จากการวิเคราะห์ของผู้ทีมีประสบการณ์ ได้วิเคราะห์ว่าระดับราคาสินค้ามี ผลต่อการเลือกใช้ของผู้บริโภค เช่น
    - สินค้าราคาสูงสุด ผู้บริโภคเป็นคนในสังคมชั้น สูง มีรายได้สูง เจ้านายใน ราชสำนัก ซึงเสื้อผ้าจะเป็นแบบไม่โลดโผน สีเรียบ สง่างาม ดูไม่ล้าสมัย วัสดุตกแต่งอย่างดี
    - สินค้าราคาสูง เป็นสินค้าเชิงอนุรักษ์วัฒนธรรมดังเดิมประจำท้องถิ่น ผู้บริโภคเป็นผู้มีรายได้สูง สังคมชั้นสูง พึงพอใจกับการอนุรักษ์ของครั้งเดิมเสือ้ผ้าจะมีแบบที เน้นเอกลักษณ์เฉพาะ มีความประณีตด้วยฝีมือและสีสัน
    - สินค้าราคาปานกลาง ผู้บริโภคเป็นคนในสังคมชั้น กลาง เป็นข้าราชการมี รายได้พอตัว สินค้าประเภทนี้ แบบจำซ้ำกันมาก ทั้งวัสดุตกแต่ง ฝีมือไม่ด้อยมีความประณีต
    - สินค้าราคาถูก ผู้บริโภคมีรายได้จำกัด ส่วนใหญ่เป็นคนส่วนมากของ ประชากร เสื้อผ้ามีลักษณะคุณภาพพอใช้ทั้ง วัสดุตกแต่ง เนื้อผ้า และราคา รูปแบบไม่มีเฉพาะ บุคคล ไม่จำกัดขนาด ใช้ได้ทุกเพศ ทุกวัย มีให้เลือกใช้หลายโอกาส
  3. รูปแบบขึ้น อยู่กับพฤติกรรมการแต่งกายของมนุษย์ ซึงมนุษย์มีพฤติกรรม การแต่งกายทีแตกต่างกัน หลากหลายตามสถานที โอกาส เวลา นักออกแบบจึงได้กำหนด แบบและประเภทของการใช้เสื้อผ้าในโอกาสต่าง ๆ ตามความเหมาะสม เช่น

    - ชุดกลางวัน มีชุดทำงาน ชุดตรวจการ ชุดเดินทาง
    - ชุดบ่ายถึงค่ำ แบบไม่หรูหรา ไม่เป็นพิธีการ
    - ชุดราตรี เป็นแบบพิธีการและไม่เป็นพิธีการ
    - ชุดสูท มีการใช้ตามสำนักงานทีมีเครื่องปรับอากาศ
    - ชุดกันหนาว
    - ชุดแต่งงาน แล้วแต่วัฒนธรรมของแต่ละชาติ
    - ชุดคลุมท้อง เลือกตามความเหมาะสมของผู้สวมและฐานะ
    - ชุดนอน ควรมีความสบายในการสวมใส่
    - ชุดกีฬา ให้มีความเหมาะสมกับประเภทของกีฬา
    - ชุดลำลอง สวมง่าย สบาย ๆ เหมาะสมกับสถานที่

สำหรับความคิดเห็นของผู้เรียบเรียงแล้ว ในการวิเคราะห์แนวโน้มการแต่งกาย ในอนาคตคาดว่ามีลักษณะ ดังนี้

  1. รูปแบบของเสื้อผ้ามีความเหมาะสมกับรูปร่างและบุคลิกของผู้สวมใส่เพื่อ สร้างความมัน ใจให้ผู้สวมใส่แสดงถึงความมีรสนิยมทีดีในการแต่งกาย
  2. เสื้อผ้าควรมีสัดส่วน (Proportion) ทีเหมาะสมกับรูปร่างของผู้สวมใส่ซึง จะช่วยเสริมในส่วนทีเป็นข้อบกพร่องของรูปร่างผู้สวมใสได้
  3. ลักษณะของรูปแบบเสื้อผ้าควรเรียบง่ายโดยเน้นทีเนื้อผ้า สี ดูแลรักษา ง่าย และสวมใส่สบาย ไม่ควรตกแต่งมากไม่ล้าสมัยง่าย
  4. ราคาไม่สูงมาก ถ้าราคาสูงควรเน้นทีคุณภาพของผ้าและรูปแบบมากกว่า การใช้ วัสดุตกแต่งทีฟุ่มเฟือย
  5. รูปแบบของเสื้อผ้าไม่ควรเป็นแบบทีใช้ผ้าสิ้น เปลืองมาก
  6. สามารถสวมใส่สลับเปลี่ยนกันได้หลายโอกาส เช่น เลือกใส่กับเสื้อ กระโปรง หรือกางเกงได้หลายตัว โดยให้มีความเหมาะสมกับโอกาสและสถานที่

สังคมในยุคโลกาภิวัฒน์ ทำให้คนในสังคมมีการเปลี่ยนแปลงมีความ เจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม ทีเน้นความเจริญทางด้านวัตถุ มีการติดต่อรับ ข้อมูลข่าวสารอย่างรวดเร็ว สังคมมีการแข่งขันกันมากขึ้น การปฏิบัติภารกิจทั้งในบ้านและนอก บ้านมีความจำเป็นต้องรวดเร็ว ผู้หญิงปัจจุบันนี้ต้องออกทำงานนอกบ้าน มีตำแหน่งการงานสูง ต้องเข้าสังคม ดังนั้น แนวโน้มการแต่งกายในอนาคตน่าจะเป็นลักษณะ แต่งอย่างไรให้ดูมี รสนิยม บุคลิกดี รวดเร็ว ดูแลรักษาง่าย สวมใส่สบาย พกพาสะดวก ถูกต้องตามกาลเทศะ จากตัวอย่างทีได้นำเสนอเป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น ดังนั้น จึงควรมีการศึกษาเพิ่มเติมเพราะมีอีก มากมายหลากหลายวิธี เพื่อให้เหมาะสมกับการนำไปใช้

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย