ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์ >>

เกร็ดความรู้ จากสารานุกรมไทย

โทน

เป็นชื่อกลองประเภทหนึ่ง ซึ่งขึงด้วยหนังเพียงหน้าเดียว เช่นเดียวกับ รำมะนา กลองยาว และกลองแอว ที่ใช้อยู่ในภาคเหนือ โทนมีอยู่สองชนิดคือ โทนมโหรี กับโทนชาตรี

โทนมโหรี  ใช้ตีกำกับจังหวะในวงมโหรีหญิงมาตั้งแต่สมัยอยุธยา ในสมัยก่อนเรียกว่า "ทับ" ด้วยเหตุนี้ลีลาหรือลำนำ ของเครื่องหนังต่าง ๆ ที่ใช้ตีประกอบจังหวะในการบรรเลง จึงเรียกกันว่า "หน้าทับ" ตัวโทน หรือหุ่น มักจะทำด้วยดินเผา ที่ทำด้วยไม้ก็มี ตัวโทนยาว 35 - 38 ซม.  ด้านหน้าจะขึ้นหนัง กว้างประมาณ 20 - 22 ซม.  หนังที่ใช้นิยมใช้หนังงูงวงช้าง เพราะให้เสียงดีมาก ปัจจุบันมักจะเรียกโทนมโหรีว่า "โทนเครื่องสาย"  เพราะส่วนมากใช้ตีกำกับจังหวะในวงเครื่องสายนั่นเอง ส่วนวงมโหรีนั้น ในสมัยนี้มักเป็นวงมโหรีเครื่องสายเป็นส่วนใหญ่ จึงนิยมใช้กลองแขกขนาดเล็ก ตีกำกับจังหวะแทน

โทนชาตรี  หุ่นไทน ทำด้วยไม้ โทนชาตรีมีลักษณะเหมือนโทนมโหรีทุกอย่าง แต่สั้นม่อต้อกว่า หน้าโทน กว้างประมาณ 17 ซม. ยาวประมาณ 32 ซม. โทนชาตรี ใช้ตีเป็นคู่ โดยตีขัดกันสองคน คนละลูก ใช้ตีประกอบจังหวะในวงปี่พาทย์ชาตรี ใช้บรรเลงประกอบการแสดงหนังตะลุง และมโนห์รา เป็นพื้น 

>>> กลับหน้าหลัก สารานุกรมไทย >>>

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย