ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์ >>

กฎหมายไทย - พระราชบัญญัติ

พระราชบัญญัติ ควบคุมการบำบัดโรคสัตว์ พ.ศ. 2505

ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.

ให้ไว้ ณ วันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ.2505
เป็นปีที่ 17 ในรัชกาลปัจจุบัน

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราช โองการโปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการบำบัดโรคสัตว์ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดย คำแนะนำและยินยอมของสภาร่างรัฐธรรมนูญในฐานะรัฐสภา ดังต่อไปนี้

มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า พระราชบัญญัติควบคุมการบำบัด โรคสัตว์ พ.ศ. 2505

มาตรา 2* พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศ ในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป *[รก.2505/105/1229/27 พฤศจิกายน 2505]

มาตรา 3 ในพระราชบัญญัตินี้ สัตว์ หมายความว่า ช้าง ม้า โค กระบือ ลา ล่อ แพะ แกะ สุกร สุนัข แมว กระต่าย ชะนี ลิง ค่าง สัตว์ปีกจำพวก นก ไก่ เป็ด ห่าน และสัตว์ชนิดอื่น ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง การบำบัดโรคสัตว์ หมายความว่า การกระทำใด ๆ อันกระทำ โดยตรงต่อร่างกายสัตว์ เพื่อตรวจหรือรักษาโรคและหมายความรวมตลอดถึง การป้องกันโรค การกำจัดโรค การตบแต่งทางศัลยกรรม การตอนหรือการ ผสมเทียมด้วย คณะกรรมการ หมายความว่า คณะกรรมการควบคุมการบำบัด โรคสัตว์ พนักงานเจ้าหน้าที่ หมายความว่า ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการ ตามพระราชบัญญัตินี้ รัฐมนตรี หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้

มาตรา 4 พระราชบัญญัตินี้ไม่ใช้บังคับแก่

(1) ผู้ประกอบการบำบัดโรคสัตว์ในหน้าที่ราชการ หรือในกิจการ ของสภากาชาดไทย สถานศึกษาวิชาสัตวแพทยศาสตร์ของรัฐบาลหรือสถานศึกษา วิชาสัตวแพทยศาสตร์ที่รัฐบาลรับรอง

(2) คนต่างด้าวซึ่งเป็นผู้ประกอบการบำบัดโรคสัตว์ในกิจการที่รัฐบาล ตกลงกับองค์การระหว่างประเทศหรือรัฐบาลต่างประเทศ หรือในกิจการอื่นใด ที่จะได้กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา

มาตรา 5 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรรักษาการตาม พระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจแต่งตั้งนายทะเบียนพนักงานเจ้าหน้าที่ และ ออกกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมไม่เกินอัตราท้ายพระราชบัญญัตินี้ ตลอดจน ยกเว้นค่าธรรมเนียม และกำหนดกิจการอื่นเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ กฎกระทรวงนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้ บังคับได้

หมวด 1
คณะกรรมการควบคุมการบำบัดโรคสัตว์
______

มาตรา 6 ให้มีกรรมการคณะหนึ่ง เรียกว่า คณะกรรมการควบคุม การบำบัดโรคสัตว์ ประกอบด้วยอธิบดีกรมปศุสัตว์เป็นประธานกรรมการ ผู้แทน กระทรวงกลาโหมหนึ่งคน ผู้แทนกระทรวงสาธารณสุขหนึ่งคน ผู้แทนกรมปศุสัตว์ สองคน ผู้แทนคณะสัตวแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์หนึ่งคน ผู้แทน มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์หนึ่งคน ผู้แทนสภากาชาดไทยหนึ่งคน ผู้แทนสัตวแพทย์ สมาคมแห่งประเทศไทยหนึ่งคน และผู้ทรงคุณวุฒิในวิชาสัตวแพทยศาสตร์ซึ่ง รัฐมนตรีแต่งตั้งอีกสองคนเป็นกรรมการ

มาตรา 7 กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิอยู่ในตำแหน่งคราวละสองปี และ เมื่อพ้นจากตำแหน่ง รัฐมนตรีอาจแต่งตั้งเป็นกรรมการอีกได้

มาตรา 8 นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระตามมาตรา 7 กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่ง เมื่อ (1) ตาย (2) ลาออก (3) เป็นบุคคลล้มละลาย (4) เป็นบุคคลไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ (5) ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่คดี ความผิดที่เป็นลหุโทษหรือความผิดอันได้กระทำโดยประมาท

เมื่อกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระ รัฐมนตรีอาจ แต่งตั้งผู้อื่นเป็นกรรมการแทน กรรมการซึ่งได้รับแต่งตั้งตามวรรคก่อนอยู่ในตำแหน่งตามวาระของ กรรมการซึ่งตนแทน

มาตรา 9 การประชุมทุกคราวต้องมีกรรมการมาประชุมไม่ต่ำกว่า กึ่งจำนวนของกรรมการทั้งหมดจึงจะเป็นองค์ประชุม ถ้าประธานกรรมการไม่อยู่ หรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้กรรมการที่มาประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็น ประธานในที่ประชุม การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก กรรมการคนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน ถ้าคะแนนเสียง เท่ากัน ให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด

มาตรา 10 ให้คณะกรรมการมีอำนาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อทำ กิจการหรือพิจารณาเรื่องใด ๆ อันอยู่ในขอบเขตแห่งอำนาจและหน้าที่ของ คณะกรรมการได้ การประชุมคณะอนุกรรมการ ให้นำความในมาตรา 9 มาใช้บังคับ โดยอนุโลม

มาตรา 11 ให้คณะกรรมการมีอำนาจและหน้าที่ดังต่อไปนี้

(1) ออกใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบการบำบัดโรคสัตว์และกำหนด เงื่อนไขไว้ในใบอนุญาต (2) สั่งพักใช้หรือสั่งเพิกถอนใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบการบำบัด โรคสัตว์ (3) ให้คำปรึกษาและคำแนะนำแก่มหาวิทยาลัยและสถานศึกษาอื่น ในวิชาสัตวแพทยศาสตร์

มาตรา 12 ให้จัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการขึ้นในกรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตร มีนายทะเบียนคนหนึ่งเป็นผู้รับผิดชอบในการรักษาทะเบียน ผู้ประกอบการบำบัดโรคสัตว์ และในกิจการอื่นทั่วไป และให้มีเจ้าหน้าที่ตาม สมควร ให้นายทะเบียนเป็นเลขานุการคณะกรรมการด้วย

 | หน้าถัดไป »

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย