ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์ >>

กฎหมายไทย - พระราชบัญญัติ

พระราชบัญญัติ การเลือกตั้งสมาชิกสภาจังหวัด พุทธศักราช 2482

หน้า 3

หมวด 2
สิทธิเลือกตั้งและการสมัครรับเลือกตั้ง
 __________

มาตรา 15 *[ยกเลิกโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2523]

มาตรา 16* บุคคลผู้มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ เป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้ง

(1) มีสัญชาติไทย แต่บุคคลผู้มีสัญชาติไทยโดยการแปลงสัญชาติต้องได้ สัญชาติไทยมาแล้วไม่น้อยกว่าสิบปี
(2) มีอายุไม่ต่ำกว่าสิบแปดปีบริบูรณ์ในวันที่ 1 มกราคม ของปีที่มีการเลือกตั้ง และ
(3) มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้งเป็นเวลาติดต่อกันจนถึงวันเลือกตั้ง ไม่น้อยกว่าเก้าสิบวัน *

[มาตรา 16 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2538]

มาตรา 16 ทวิ*[ยกเลิกโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2538]

มาตรา 17* ผู้มีลักษณะดังต่อไปนี้ในวันเลือกตั้งเป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิ เลือกตั้ง คือ

(1) วิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ
(2) หูหนวกและเป็นใบ้ซึ่งไม่สามารถอ่านและเขียนหนังสือได้
(3) เป็นภิกษุสามเณร นักพรตหรือนักบวช *
(4) ต้องคุมขังอยู่โดยหมายของศาลหรือโดยคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย
(5) อยู่ในระหว่างถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งโดยคำพิพากษา *

[มาตรา 17 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2517 และ ความใน (4) แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2523]

มาตรา 18* บุคคลผู้มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ เป็นผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง

(1) มีสัญชาติไทยโดยการเกิด แต่บุคคลผู้มีสัญชาติไทยซึ่งบิดาเป็นคนต่างด้าว ต้องมีคุณสมบัติตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอีกด้วย
(2) มีอายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบห้าปีบริบูรณ์ในวันเลือกตั้ง และ
(3) มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตจังหวัดที่สมัครเป็นเวลาติดต่อกันจนถึงวันสมัครไม่น้อย กว่าหกเดือน หรือได้เสียภาษีตามกฎหมายว่าด้วยภาษีโรงเรือนและที่ดิน หรือตามกฎหมายว่าด้วย ภาษีบำรุงท้องที่ให้กับจังหวัดนั้น ในปีที่สมัครหรือในปีก่อนปีที่สมัครหนึ่งปี *

[มาตรา 18 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2538]

มาตรา 19* [ยกเลิกโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2538]

มาตรา 19 ทวิ* [ยกเลิกโดยพระราชบัญญัติฯ(ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2535]

มาตรา 20* ผู้มีลักษณะดังต่อไปนี้เป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้ง คือ

(1) ติดยาเสพติดให้โทษ
(2) เป็นบุคคลล้มละลายซึ่งศาลยังไม่สั่งให้พ้นคดี
(3) เป็นโรคเรื้อน วัณโรคระยะอันตรายหรือโรคพิษสุราเรื้อรัง *
(4) เคยต้องคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายให้จำคุกตั้งแต่สองปีขึ้นไป โดยได้พ้นโทษมายังไม่ถึงห้าปีในวันเลือกตั้ง เว้นแต่ในความผิดอันได้กระทำโดยประมาท *
(5) เคยเป็นข้าราชการซึ่งถูกไล่ออก หรือปลดออกเพราะทุจริตต่อหน้าที่ราชการ หรือเคยเป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่น หรือพนักงานของหน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจ ซึ่งถูกไล่ออก หรือปลดออกหรือเลิกจ้างเพราะทุจริตต่อหน้าที่ ยังไม่ครบเจ็ดปีนับแต่วันที่ถูกไล่ออก ปลดออก หรือเลิกจ้าง แล้วแต่กรณี จนถึงวันสมัครรับเลือกตั้ง *
(6) เป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งรัฐ สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภา เทศบาล กรรมการสุขาภิบาล กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน สารวัตรกำนัน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน หรือแพทย์ประจำ ตำบล *
(7) เป็นบุคคลผู้มีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้งตามมาตรา 17 (1) (2) (3) หรือ (5) *
(8) ต้องคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายให้จำคุก และถูกคุมขังอยู่โดย หมายของศาลหรือโดยคำสั่งนั้น *

[มาตรา 20 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2517 ความใน (4) (5) และ (6) แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2523 และความใน (7) และ (8) เพิ่มความโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2523]

มาตรา 21* นอกจากข้าราชการการเมือง ห้ามมิให้ข้าราชการซึ่งรับราชการอยู่ใน จังหวัดใดสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาจังหวัดในจังหวัดนั้น ห้ามมิให้พนักงานเทศบาล ซึ่งเป็นพนักงานประจำของเทศบาลในจังหวัดใด สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาจังหวัดในจังหวัดนั้น ห้ามมิให้พนักงานสุขาภิบาล ซึ่งประจำในจังหวัดใด สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิก สภาจังหวัดในจังหวัดนั้น ห้ามมิให้ลูกจ้าง หรือคนงานของรัฐบาล ซึ่งมีเงินเดือน และประจำในจังหวัดใด สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาจังหวัดในจังหวัดนั้น ในกรณีที่ไม่ต้องห้ามตามมาตรานี้ เมื่อข้าราชการ พนักงานเทศบาล พนักงาน สุขาภิบาล หรือลูกจ้างของรัฐบาล ผู้ใดได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาจังหวัดแล้ว ผู้นั้นต้องลาออก จากตำแหน่ง ในส่วนข้าราชการนั้น ให้มีสิทธิได้รับบำเหน็จบำนาญด้วยเหตุทดแทนตามกฎหมาย ว่าด้วยบำเหน็จบำนาญ และถ้าเป็นข้าราชการทหาร ก็อาจได้รับเบี้ยหวัดแทนบำนาญตามระเบียบ ของทหาร *

[มาตรา 21 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2498]

มาตรา 22 ในการเลือกตั้งครั้งหนึ่ง ผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งจะสมัครรับเลือกตั้ง เป็นสมาชิกสภาจังหวัดได้เฉพาะในเขตเลือกตั้งแต่เขตเดียว

มาตรา 23 ในการสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาจังหวัดในเขตเลือกตั้งใด ผู้สมัครต้องยื่นใบสมัครด้วยตนเอง ณ ที่ว่าการอำเภอแห่งเขตเลือกตั้งนั้นภายในระยะเวลาที่กำหนด ไว้ในประกาศ ใบสมัครให้ใช้แบบที่กำหนดในกฎกระทรวง โดยมีคำรับรองว่าผู้สมัครมีความ เลื่อมใสในการปกครองระบอบรัฐธรรมนูญด้วยความบริสุทธิ์ใจ เมื่อนายอำเภอได้รับใบสมัครแล้ว ต้องให้บันทึกวันและเวลาที่ได้รับไว้เป็น หลักฐานโดยทันที แล้วออกใบรับให้แก่ผู้ยื่นใบสมัคร และถ้าข้อความในใบสมัครถูกต้องแล้ว ก็ให้ประกาศการสมัครระบุชื่อผู้สมัครไว้ ณ ที่ว่าการอำเภอแล้วแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้สมัครทราบ เครื่องหมายประจำตัวโดยเร็ว

มาตรา 24 ผู้เลือกตั้งในเขตเลือกตั้งใดเห็นว่าตามประกาศการสมัครตามมาตรา 23 ปรากฏชื่อบุคคลผู้ไม่มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง สมัครรับเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งนั้น อาจยื่นคำร้องต่อ ศาลชั้นต้นซึ่งเขตเลือกตั้งนั้น อยู่ในเขตอำนาจก่อนวันเลือกตั้งไม่น้อยกว่ายี่สิบวัน ขอให้ศาลมีคำสั่ง ให้ถอนการสมัครของบุคคลนั้นได้ เมื่อศาลได้รับคำร้องแล้ว ให้ดำเนินการพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา ความแพ่งและวินิจฉัยมีคำสั่งให้ถอนการสมัครหรือไม่โดยเร็ว คำสั่งของศาลนั้นให้เป็นที่สุด และ ถ้าศาลมีคำสั่งให้ถอนใบสมัคร ก็ให้ศาลรีบแจ้งคำสั่งไปยังคณะกรมการอำเภอด้วย ให้คณะกรมการ อำเภอประกาศถอนการสมัครตามคำสั่งศาลไว้ ณ ที่ว่าการอำเภอและที่เลือกตั้งทุกแห่งในเขต เลือกตั้งนั้น การดำเนินกระบวนพิจารณาตามความในมาตรานี้ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม

« ย้อนกลับ | หน้าถัดไป »

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย