ปรัชญา อภิปรัชญา ญาณวิทยา จิตวิทยา ตรรกศาสตร์ >>
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับบุคลิกภาพ
ความหมายของบุคลิกภาพ
ความสำคัญของบุคลิกภาพ
องค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อบุคลิกภาพ
ประเภทของบุคลิกภาพ
แบบของบุคลิกภาพที่ไม่พึงประสงค์
บุคลิกภาพกับการเลือกอาชีพ
องค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อบุคลิกภาพ
- พันธุกรรม สิ่งที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมส่วนมากนั้นเป็นลักษณะทางกาย เช่น
ความสูงต่ำ ลักษณะเส้นผม สีของผิว ชนิดของโลหิต โรคภัยไข้เจ็บบางชนิด
และข้อบกพร่องทางร่างกายบางชนิด เช่น ตาบอดสี ศีรษะล้าน นิ้วเกิน มือติดกัน ฯลฯ
สำหรับลักษณะทางกาย ดังกล่าวนี้
เป็นอิทธิพลของพันธุกรรมที่มีต่อบุคลิกภาพของแต่ละบุคคลทั้งสิ้น นอกจากนี้
นักจิตวิทยาบางท่าน เช่น เครชเมอร์ (Kretschmer) และเชลดอน (Sheldon)
ได้กล่าวไว้ว่า ลักษณะทางกายสามารถบ่งบอกถึงลักษณะทางจิตในบางประการได้ เช่น
พวกที่มีร่างกายผอมสูง แขนขายาว มักจะไม่ทุกข์ร้อน ชอบคิดฝัน
แต่ถ้าจิตใจผิดปกติก็จะมีแนวโน้มที่จะแยกตัวเองออกจากสังคม
และมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคจิตเภท (Schizophrenia) เป็นต้น
อย่างไรก็ตามพัฒนาการไม่ว่าจะเป็นพัฒนาการทางร่างกาย พัฒนาการทางบุคลิกภาพ
ล้วนอยู่ใต้อิทธิพลทางพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมไปพร้อม ๆ กัน
เพียงแต่ว่าพัฒนาการบางชนิดอยู่ใต้อิทธิพลทางพันธุกรรมมากกว่าสิ่งแวดล้อม
หรือสิ่งแวดล้อมมากกว่าพันธุกรรม
- สิ่งแวดล้อม สิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลต่อพัฒนาการของมนุษย์ ทั้งพัฒนาการทางกาย
ทางจิตใจและบุคลิกภาพ
สำหรับสิ่งแวดล้อมที่มีอิทธิพลมากที่สุดต่อพัฒนาการของมนุษย์ก็คือบุคลิกภาพอื่น
ๆ รอบ ๆ ตัวเรา ครอบครัว กลุ่มคน และวัฒนธรรม สิ่งแวดล้อมที่เป็นมนุษย์ คนอื่น
ๆ นี้ จะมีอิทธิพลอย่างมากมายต่อการพัฒนาทางบุคลิกภาพ ทัศนคติ และพฤติกรรม
ทางสังคมของมนุษย์
สำหรับลักษณะต่าง ๆ ของบุคลิกภาพของแต่ละบุคคลนั้น สามารถพัฒนาจากการเรียนรู้ทางสังคมที่มีอิทธิพลต่อพัฒนาการของบุคลิกภาพของแต่ละบุคคล ได้แก่ ครอบครัว โรงเรียน กลุ่มคนประเภทต่าง ๆ สังคม และวัฒนธรรม นอกจากนี้ นักจิตวิทยาพัฒนาการเชื่อว่า การถ่ายทอดลักษณะทางสังคมจากคนรุ่นหนึ่งไปยังอีกรุ่นหนึ่งนี้ ทำได้โดยผ่านตัวแทนกลุ่มตัวอย่าง เช่น บิดาหรือมารดาจะถ่ายทอดให้บุตร ครูถ่ายทอดให้นักเรียน พี่ให้น้อง เพื่อนให้เพื่อน เป็นต้น การถ่ายทอดทางสังคมนี้ ส่วนมากเกิดจากการเรียนรู้และการเลียนแบบ ผู้ที่เกี่ยวข้องกับเด็กอาจจะตั้งใจสอนเด็ก ให้รู้จักมารยาทและกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ทางสังคมทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ เกิดการปฏิบัติตาม แต่มีบางครั้งที่ไม่จงใจสอนแต่เด็กก็เรียนรู้โดยบังเอิญ เช่น การมีทัศนคติต่อคนประเภทต่าง ๆ หรือการมีบุคลิกภาพบางประเภท ก็อาจจะเกิดจากการได้รับความสนับสนุนโดยบังเอิญจากบุคคลอื่นเช่นกัน นอกจากนี้ การเลียนแบบยังเป็นการเรียนรู้ทางสังคมที่สำคัญที่สุดอีกวิธีหนึ่ง ซึ่งสามารถอธิบายการถ่ายทอดทางวัฒนธรรมและการกระทำต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี เช่น การปลูกฝังค่านิยมทางสังคม การสร้างลักษณะทางบุคลิกภาพต่าง ๆ ตลอดจนถึงการมีความรู้สึกผิดชอบชั่วดี และการบังคับตนเอง 3.3 ช่วงเวลาในชีวิตของบุคคล แสดงถึงระดับการพัฒนาการทางร่างกายและจิตใจ อันเกิดจากอิทธิพลร่วมระหว่างพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ระดับพัฒนาการนี้จะเริ่มมีขึ้นตั้งแต่เริ่มปฏิสนธิในครรภ์ของมารดา อิริคสันเชื่อว่าการพัฒนาบุคลิกภาพของมนุษย์นั้น มิได้หยุดอยู่แค่วัยเด็ก แต่มีการพัฒนาลักษณะต่าง ๆ ของบุคลิกภาพอย่างเป็นลำดับตลอดช่วงชีวิต วัยทารกหรือขวบปีแรกของชีวิต จะเป็นวัยที่เพาะลักษณะความไว้วางใจบุคคลอื่น ซึ่งจะเป็นลักษณะถาวรของบุคคลต่อไป บุคลิกภาพอื่น ๆ เช่น ความเป็นอิสระ ความคิดริเริ่ม ความรู้สึกผิดชอบชั่วดี ความขยันหมั่นเพียร ความเข้าใจและรู้จักตนเอง ความเต็มใจที่จะผูกพันกับบุคคลอื่น ความสามารถในการสร้างหลักฐาน และทำประโยชน์ให้แก่ตนเอง และบุคคลอื่น ความมั่นคงสมบูรณ์ในตนตลอดทั้งความเชื่อในคุณค่าของการทำประโยชน์ให้กับมวลชนก็จะเกิดผลมากน้อยในช่วงต่าง ๆ ของชีวิตบุคคลเป็นลำดับจนถึงช่วงสุดท้ายคือวัยสูงอายุ ช่วงที่ผู้มีอายุบางคนมีลักษณะรักเกียรติศักดิ์ของตนเอง บางคนกลับมีความสิ้นหวังในชีวิต มองไม่เห็นความหมายในการดำรงชีวิต ฯลฯ ช่วงเวลาในชีวิตของบุคคลจึงมีความสำคัญต่อพัฒนาการของบุคลิกภาพของบุคคลนั้น ๆ อย่างยิ่ง
บุคลิกภาพของบุคคลประกอบด้วยสิ่งต่าง ๆ ดังนี้
- ด้านกายภาพ หมายถึง รูปร่างหน้าตา ทรวดทรง ท่าทาง การแต่งกาย การเดิน เป็นต้น บุคลิกภาพด้านกายภาพนี้เป็นสิ่งที่ผู้อื่นมองเห็นได้
- ด้านวาจา หมายถึง การใช้ถ้อยคำ น้ำเสียง ซึ่งผู้อื่นจะรับรู้ได้โดยการฟัง ลักษณะต่าง ๆ สะท้อน บุคลิกภาพด้านนี้เช่น การพูดไม่เข้าหูคน การพูดจากระโชกโฮกฮาก การพูดจาน่าฟัง เป็นต้น บุคลิกภาพทางวาจาที่ดีย่อมหมายถึงการพูดจาด้วยน้ำเสียงนุ่มนวล น่าฟังเป็นมิตร และได้สาระ
- ด้านสติปัญญา หมายถึง ความสามารถทางการคิดด้านปัญหา ไหวพริบ ความสามารถที่จะมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นได้อย่างเหมาะสม คิดเป็น รู้จักคิด คิดแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี แสดงออกหรือสนองตอบผู้อื่นได้อย่าง ทันกัน และ ทันกาล
- ด้านอารมณ์ หมายถึง การมีอารมณ์ดี คงเส้นคงวา ไม่วู่วามเอาแต่อารมณ์ ฉุนเฉียว โกรธง่าย หรือบางคนมีอารมณ์ร่าเริงมากกว่าอารมณ์อื่น หรือบางคน เครียด เศร้า ขุ่นมัว หม่นหมองอยู่เสมอ
- ด้านความสนใจและเจตคติ แต่ละคนย่อมแตกต่างกันไป บางคนไม่สนใจการเมือง ซึ่งบางคนมีความสนใจหลากหลายไม่สนใจเพียงเรื่องใดเรื่องหนึ่งแต่เพียงอย่างเดียว
- ด้านการปรับตัว มีผลต่อลักษณะของบุคลิกภาพ ถ้าใช้แบบที่ดีมีพฤติกรรมที่เหมาะสม สังคมยอมรับ จะอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข ตรงกันข้ามถ้าปรับตัวไม่ดีวางตัวในสังคมไม่เหมาะสม ย่อมมีผลเสียต่อบุคลิกด้านอื่น ๆ ไปด้วย