ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม อารยธรรม >>

เทศกาลของอินเดีย

เทศกาล โฮลี่ (Holi)
เทศกาล นวราตรี (Navarati)
เทศกาล Diwali ,dipawali
เทศกาล ปาคี (Palkhi)
เทศกาล โอนัม (Onam)
เทศกาล รักคี (Rakee, ruksha)
เทศกาล พระคเณศวร ( Ganpati festival)
เทศกาล ไหว้พระที่พุทธคยา
เทศกาล ปงกอล (Pongal festival)

เทศกาลรักคี (Rakee, ruksha)

“รักคี” หรือ รักชา เป็นเทศกาลของพี่น้องต่างเพศแสดงออกซึ่งความรักและความผูกพันต่อกัน ผู้ที่นับถือศาสนาฮินดูจัดให้มีการฉลองนี้ตลอดทั้งวัน ในวันรักคี พี่หรือน้องที่เป็นผู้ชายนั้น จะสัญญาว่าจะดูแล ปกป้องคุ้มครอง พี่หรือน้องของตนที่เป็นผู้หญิงจากความชั่วร้ายต่างๆ

เทศกาลนี้เริ่มมาตั้งแต่สมัยพระเวทจนถึงปัจจุบัน เรียกว่ายุคอุสาหกรรมที่คุณค่าของชีวิตกำลังเปลี่ยนแปลงไป เด็กผู้หญิงอาจจะผูกรักคีไว้รอบข้อมือของคนแปลกหน้า ทั้งคู่ผ่านช่วงเวลาอันเป็นมงคลก็เป็นเหมือนพี่น้องกันที่มีความสัมพันธ์อันบริสุทธิ์ใกล้ชิดกันกว่าความสัมพันธ์ทางสายเลือดอื่นๆ

เทศกาลนี้ไม่ได้จำกัดเฉพาะกับพี่ๆน้องๆ ตามที่มีความเชื่อกันเพราะในสมัยพระเวทการผูกรักคีเป็นสัญลักษณ์ของการที่คนอ่อนแอกว่าแสวงหาความช่วยเหลือหรือการปกป้องคุ้มครองจากคนที่มีกำลังมากกว่า ภรรยาผูกด้ายไว้ที่ข้อมือสามีเมื่อสามีต้องจากบ้านไปทำงานหรือไปสงครามเป็นเวลานานๆ (กรณีของกษัตริย์) ชาวอารยะทำพิธียัจนาส (บูชาไฟ) ก่อนไปทำสงครามเพื่อขอพรจากพระเจ้าให้ทรงคุ้มครอง ก่อนที่บรรดาผู้ชายเดินทางไปรบ บรรดาผู้หญิงผูกด้ายศักดิ์สิทธิ์หรือยันต์ป้องกันตัว และเป็นการเตือนให้พวกผู้ชายรู้ถึงหน้าที่ๆ ต้องรักษาเกียรติยศของเผ่าไว้ นี่เป็นที่มาของรักชา บันดฮัน

แนวคิดเรื่องการผูกด้ายที่ข้อมือค่อยๆ กระจายไปยังภาคต่างๆ ของอินเดียอย่างช้าๆ และมีความสำคัญกว้างขึ้น ตัวอย่างของประวัติศาสตร์ยุคใกล้ๆ นี้ที่เกี่ยวกับรักชา บันดฮันมาจากการต่อสู้เพื่ออิสรภาพของอินเดีย ในการต่อต้านการแบ่งแยกแคว้นเบงกอล ท่านกวีผู้ยิ่งใหญ่รพินทรนาถ ฐากอร์จัดให้มีรักชา บันดฮันเพื่อส่งเสริมความเป็นพี่น้องกันและความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันระหว่างฮินดูและมุสลิม ในระหว่างการต่อสู้เพื่ออิสรภาพสาวๆผูกรักคีไว้ที่ข้อมือหนุ่มๆ และขอคำมั่นสัญญาว่าจะรักษาชีวิต วัยหนุ่มสาว อาชีพ ความกระตือรือร้น และแม้แต่ความฝันของพวกเขาไว้ด้วยการต่อสู้เพื่ออิสรภาพของแผ่นดินแม่จากพันธนาการของจักรวรรดินิยมอังกฤษ อาจเป็นไปได้ว่าด้วยเหตุนี้ผู้นำที่ยิ่งใหญ่ของเบงกอลท่านสุเรนทรนาถ แบนเนอพยายามยกระดับความสำคัญของเทศกาลรักชา บันดฮันให้เป็นเทศกาลระดับชาติ

พิธีกรรมของรักคี ผู้คนจะตื่นแต่เช้าและอาบน้ำเพื่อชำระร่างกายและจิตวิญญาณให้บริสุทธิ์ ลูกสาวพร้อมมารดาเตรียมอาหารรวมทั้งขนมหวานต่างๆ ลูกสาวเตรียมถาดบูชาประกอบด้วยด้าย ผงสีแดงสำหรับแต้มหน้าผาก ขนมหวาน (ที่ไม่มีไข่) และหม้อดิน และเครื่องสำหรับบูชาอื่นๆ พี่และน้องสาวจะผูกข้อมือให้พี่หรือน้องชาย แต้มผงแดง (tika) ที่หน้าผากให้ด้วยแล้วให้พี่หรือน้องชายบูชาเทวดาด้วยการวนมือเหนือเปลวไปในถาด พี่และน้องสาวสวดมนต์เพื่อให้พี่หรือน้องชายมีอายุยืนยาว และหยิบขนมใส่ปากพี่น้องผู้ชาย พี่หรือน้องชายให้ของขวัญแก่พี่หรือน้องสาวตอบแทนและสัญญาว่าจะปกป้องคุ้มครองพี่หรือน้องสาวให้ผ่านพ้นอุปสรรคในชีวิต พิธีที่เรียบง่ายของรักคีนี้เป็นสัญลักษณ์และสร้างความเข้มแข็งให้กับความผูกพัน ความรักระหว่างพี่น้อง

Date- 24 August
Opportunities for Thai Products: garments, gold jewellery, gift articles, electronic gadgats (Mobile, camera, computers etc), snacks, sweets, Vegetarian foods, fruits, soy milk, dehydrated fruits,
place: North India
Ramzan (Id-Ul-Fitr) หมายถึงเทศกาลฉลองการอกจากศิลอด

ตามความเชื่อของชาวมุสลิมการถือศิลอดทำให้มนุษย์สามารถอดทนอดกลั้นได้ดีขึ้นและทำให้ใกล้ชิดกับพระเจ้ามากขึ้น

Date- 10 Sep.
Opportunities for Thai Products: garments, gifts, gold jewellery, snacks, sweets, Vegetarian foods, fruits, soy milk, dehydrated fruits,
place: All over India

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย