เทคโนโลยี นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ วิศวกรรม เกษตรศาสตร์ >>

ข้อมูลการเกษตร

ไม้ดอก-ไม้ประดับ

การปลูกกล้วยไม้ตัดดอก

กรมส่งเสริมการเกษตร กองส่งเสริมพืชสวน

กล้วยตัดดอกมีการปลูกเป็นไม้ประดับมานานแล้วในประเทศไทย ปัจจุบันได้มีการนำพันธุ์ใหม่ ๆ มาปลูกและนิยมนำมาเป็นไม้ตัดดอกซึ่งจะได้ดอกที่สวยงามรูปทรงที่แปลกประกอบกับมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน เหมาะสมกับการนำมาทำได้ตัดดอก ในขณะนี้ได้ปลูกตัดดอกบริโภคภายในประเทศ หากมีการขยายการผลิตเพิ่มขึ้น มีโอกาศเป็นไปได้ที่จะเป็นไม้ตัดดอกส่งออกต่อไปในอนาคต นอกจากปลูกเป็นไม้ตัดดอกแล้วยังมีการปลูกเพื่อขายหน่อพันธุ์เป็นไม้ประดับจัดสวน เนื่องจากการปลูกดูแลรักษาง่ายสามารถเจริญเติบโตได้ดีในสภาพดินทั่วไป มีการขยายพันธุ์โดยใช้หน่อ และให้ดอกตลอดปี ดอกสามารถทยอยบานอยู่ได้นาน ทำให้เป็นที่ต้องการของผู้บริโภค ดังจะเห็นได้จากวิวัฒนาการจากการปลูกเป็นไม้ประดับมาเป็นการปลูกเพื่อตัดดอกมากขึ้น

แหล่งผลิตที่สำคัญของกล้วย คือ ชลบุรี เพชรบูรณ์ เชียงใหม่ กาญจนบุรี กรุงเทพมหานคร นนทบุรี

อนุกรมวิธาน

ชื่อวิทยาศาสตร์: Musa spp
ชื่อสามัญ : Flowering Banana
วงศ์ : Musaceae
ชื่ออื่น ๆ กล้วย
ถิ่นกำเนิด: เวียดนาม บังคลาเทศ พม่า ไทยตอนเหนือ

พันธุ์กล้วยตัดดอก

พันธุ์ ปัจจุบันพันธุ์กล้วยตัดดอกที่มีการปลูกมีอยู่ 3 พันธุ์ด้วยกันคือ

1.กล้วยกัทลี

OKINAWA TORCH; RED-FLOWERING BANANA; OKINAWAN BANANA FLOWER

ชื่ออื่น ๆ : กล้วยแดง
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Musa uranoscopol Lour (syn. M. coccinea Andrews)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
ไม้ล้มลุก มีเหง้าใต้ดินสั้น ๆ ลำต้นเทียม ประกอบด้วยกาบใบ ต้นกลมตรง ใบเป็นใบเดี่ยว ดอกออกเป็นช่อที่ปลายยอดเรียกว่า ปลี ปลีตั้งยาว 75 ซม. ก้านของปลีมีขนสีขาวปกลุม ใบประดับมีขนาดใหญ่ อวบน้ำ ใบประดับเรียงเวียนสลับรองรับดอกย่อยซึ่งเรียงเป็น 1 แถว และมีดอกย่อยเพียง 2 ดอก เมื่อดอกบาน ใบประดับจะแย้มออกเล็กน้อย ด้านโคนปลีเป็นดอกเพศเมีย ด้านปลายปีเป็นดอกเพศผู้

นิเวศน์วิทยา : มีถิ่นกำเนิดในอินโดจีน
ระยะเวลาออกดอกติดผล : เมื่อต้นเจริญเติบโตเต็มที่
การขยายพันธุ์ : แยกหน่อ เพาะเมล็ด

ปัจจัยการผลิต
เจริญเติบโตได้ดี ในที่มีแสงรำไร สภาพอากาศ ชายทะเล และที่สูงอากาศค่อนข้างเย็น ดินร่วนปนทราย มีอินทรีย์วัตถุสูง ออกอดกตลอดปี

การปฏิบัติดูแลรักษา
ระยะปลูกและการเตรียมหลุม ระยะปลูกที่เหมาะสมคือ 1.5x2 เมตร เตรียมหลุมโดยใช้ปุ๋ยคอก และ Rock phospage รองก้นหลุม
การให้ปุ๋ย ใช้ปุ๋ยสูตร 16-16-16 อัตรา 50 g /ต้น/เดือน และระยะที่ใกล้ออกดอกให้ปุ๋ยสูตร 12-12-12-2
การให้น้ำ ให้น้ำสม่ำเสมอโดยให้ระบบสปริงเกอร์จะเหมาะสม
การตัดแต่ง ให้ทำการตัดใบแห้งและหน่อที่มีมากเกินจำเป็นออกเพื่อป้องกันการเข้าทำลายหนอนเจาะลำต้น
โรคและแมลง หนอนเจาะลำต้น จะมีด้วงเจาะกัดกินไส้ลำต้นทำให้เกิดความเสียหาย การป้องกันกำจัดโดยใช้ฟูราดาน 3% G ตั๊กแตนกัดใบ แต่พบน้อยมาก
การเก็บเกี่ยว ตัดดอกที่บาน 80% โดยการตัดทั้งต้น ในตอนเช้า นำมาปอกกาบออกให้เหลือติดอยู่ 2-3 กาบ และตัดใบออกให้เหลือเหนือดอกประมาณ 2-3 นิ้ว เพื่อป้องกันดอกช้ำระหว่างขนส่ง

2.กล้วยบัวสีชมพู

(Musa ornata Roxb. )

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ไม้ล้มลุก มีเหง้าใต้ดินสั้น ๆ ลำต้นแตกเป็นกอ ลำต้นเทียม ประกอบด้วยกาบใบสูง 1.5-3 เมตร ใบเป็นใบเดี่ยว รูปขอบขนาน ด้านล่างใบมีนวล ดอกออกเป็นช่อที่ปลายยอด เรียกว่า ปลี ใบประดับขนาดใหญ่ เมล็ดเป็นเหลี่ยมและแบน สีดำ

นิเวศน์วิทยา : มีถิ่นกำเนิดในอินเดีย ภาคเหนือของไทย พบขึ้นตามที่ชื้น ๆ ริมแม่น้ำทางภาคเหนือ
ระยะเวลาออกดอกติดผล : ออกดอกเมื่อเจริญเติบโตเต็มที่
การขยายพันธุ์ : แยกหน่อ เพาะเมล็ด

Musa ornata Roxb. มีอยู่ 2 ชนิด คือ ดอกสีส้ม และสีชมพูอมม่วง ต้องการแสงแดดจัดและน้ำมาก หากขาดน้ำจะทำให้ใบไหม้ ขึ้นได้ดีทั่วทุกภาคของประเทศ

  1. ดอกสีส้ม ลักษณะด่นคือการแตกหน่อจะออกห่างจากต้นแม่
  2. ดอกสีชมพูอมม่วง ลักษณะการแตกหน่อจะชิดต้นแม่หากอยู่กลางแจ้งต้นจะเตี้ย หากอยู่ในที่รำไรลำต้นจะสูง
    การขยายพันธุ์ โดยการแยกหน่อ
    การปลูกและการดูแลรักษา

ระยะปลูกและการเตรียมหลุม ระยะปลูกที่เหมาะสมคือ 1.5x2 เมตร หรือ 2.5x3 เมตร ใช้ปุ๋ยคอก และ Rock phospage รองก้นหลุม
การให้ปุ๋ย หลังจากปลูกให้ปุ๋ยสูตร 16-16-16 อัตรา 50 g /ต้น/เดือน และระยะที่ใกล้ออกดอกให้ปุ๋ยสูตร 12-12-12-2
การให้น้ำ ให้น้ำสม่ำเสมอโดยให้ระบบสปริงเกอร์จะเหมาะสม

โรคและแมลง

  • หนอนเจาะลำต้น
  • ตั๊กแตนกัดกินใบ

การเก็บเกี่ยว ตัดดอกที่บานโดยตัดทั้งต้น นำมาปอกกาบออกให้เหลือ 2-3 กาบ ทำการตัดใบที่เหลือออกให้เหนือดอกประมาณ 2-3 นิ้ว

3.กล้วยประดับ

ORNAMENTAL BANANA.

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Musa velutina Wendl. & Drude

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
ไม้ล้มลุก มีเหง้าใต้ดินสั้น ๆ ลำต้นแตกเป็นกอ ลำต้นเทียม ประกอบด้วยกาบใบสูง 1-1.5 เมตร ใบเป็นใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับ รูปขอบขนาน ด้านบนใบสีเขียวเข้มกว่าด้านล่าง เส้นกลางใบสีเขียวหรือสีชมพู ดอกออก เป็นช่อที่ปลายยอด เรียกว่า ปลี เมื่อดอกบานใบประดับจะอ้าออก ดอกสีชมพูอ่อน ไม่มีก้านดอก

นิเวศน์วิทยา : มีถิ่นกำเนิดในอินเดีย
ระยะเวลาออกดอกติดผล :
ออกดอกเมื่อเจริญเติบโตเต็มที่

การขยายพันธุ์ :
แยกหน่อ เพาะเมล็ด
การปฏิบัติดูแลรักษา เหมือนกับชนิดที่กล่าวมาแล้ว

ตลาด
- ตลาดปากคลอง
- ร้านดอกไม้
- โรงแรม

อายุการปักแจกัน 15-30 วัน

บรรณานุกรม

  • คณะผู้จัดทำหนังสือไม้ดอกไม้ประดับ. 2536 ไม้ดอกไม้ประดับ. ด่านสุนทธาการพิมพ์ จำกัด, กรุงเทพฯ 300. น.
  • คณะผู้จัดทำหนังสือพรรณไมัสวนหลวง ร. 9 . 2531. พรรณไม้ในสวนหลวง ร. 9. ด่านสุทธาการพิมพ์. กรุงเทพฯ. 279 น.
  • Kepler, A.K. 1989. Exotic Tropicals of Hawii. Thailand. 108 p,
  • The Royal Horticultural Society. 1992. Dictionary of Gardening. The Macmillan Press Limited, Mexico. 790 p.

คณะผู้แต่ง
ประเสริฐ คงพิชญานนท์
จิรายุพิน จันทรประสงค์

คณะผู้จัดทำ
นายสมชาย สุคนธสิงห์ (ที่ปรึกษา)
นายโอฬาร พิทักษ์
นางภาวนา อัศวะประภา
นายทวีพงศ์ สุวรรณโร
นายเศรษฐพงศ์ เลขะวัฒนะ
นายอภิชาติ สุวรรณ

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย