ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์ >>

มูลบทบรรพกิจ

แบบเรียนหนังสือไทย
ของ
พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกรู)

วิธีนับศัพท์สังขยา

เด็กเอ๋ยเจ้าจงศึกษา ตำหรับนับรา จะรู้กระทู้ที่นับ
ห้าสองหนเป็นสิบสับ สิบสองหนนับ ว่ายี่สิบอย่าสงสัยไสย (๕, ๑๐, ๒๐)
สิบสามหนเป็นต้นไป ท่านเรียกชื่อใช้ สามสิบสี่ตามกัน (๓๐, ๔๐)
สิบสิบหนเป็นร้อยพลัน สิบร้อยเป็นพัน สิบพันเป็นหมื่นหนึ่งนา (๑๐๐, ๑,๐๐๐, ๑๐,๐๐๐)
สิบหมื่นเป็นแสนหนึ่งหนา สิบแสนท่านว่า เป็นล้านหนึ่งพึงจำไว้ (๑๐๐,๐๐๐, ๑,๐๐๐,๐๐๐)
สิบล้านนั้นเป็นโกฏิไซร้ ร้อยแสนโกฏิไป เป็นปะโกฏิ หนึ่งตามมี (๑๐๗,๑๐๑๔)
ร้อยแสนปะฏิโกฏินี้ เป็นโกฏิปะโกฏิ พึงกำหนดอย่าคลาดคลา (๑๐๒๑)
ร้อยแสนโกฏิปะฏิปะโกหนา ท่านเรียกชื่อมา ว่าเป็นนะหุตหนึ่งไป (๑๐๒๘)
ร้อยแสนนะหุตนั้นไซร้ ท่านเรียกชื่อไว้ ว่าเป็นนินนะหุตนา (๑๐๓๕)
ร้อยแสนนินนะหุตหนา ได้นามตามมา ว่าอะโขภินีหนึ่งมี (๑๐๔๒)
ร้อยแสนอะโขภินี ได้นามตามมี ว่าพินธุอันหนึ่งหนา (๑๐๔๙)
ร้อยแสนพินธุหนึ่งนา ท่านเรียกกันมา ว่าอัพพุทพึงจำไว้ (๑๐๕๖)
ร้อยแสนอัพพุทไซร้ ได้นามตามใช้ ว่านิรัพพุทหนึ่งนา (๑๐๖๓)
ร้อยแสนนิรัพพุทหนา ท่านเรียกชื่อมา ว่าอหะหะตามมี (๑๐๗๐)
ร้อยแสนอหะหะนี้ มีนามตามที่ ว่าอพะพะหนึ่งนา (๑๐๗๗)
ร้อยแสนอพะพะนั้นหนา ท่านเรียกกันมา ว่าอฏะฏะตามมี (๑๐๘๔)
ร้อยแสนอฏะฏะนี้ มีนามตามที่ ว่าโสคันทิกะหนึ่งนา (๑๐๙๑)
ร้อยแสนโสคันทิกะ ท่านเรียกชื่อว่า เป็นกมุทอันหนึ่งไป (๑๐๙๘)
ร้อยแสนกมุทไซร้ มีนามตามใช้ ว่าบุญฑริกหนึ่งนา (๑๐๑๐๕)
ร้อยแสนบุณฑริกแท้ ท่านเรียกกันแล ว่าเป็นปทุมหนึ่งไป (๑๐๑๑๒)
ร้อยแสนปทุมไซร้ ท่านตั้งชื่อไว้ ว่ากะถานะอันหนึ่งนา (๑๐๑๑๙)
ร้อยแสนกถานะนั้นหนา ท่านเรียกกันมา ว่ามหากถานะหนึ่งไป (๑๐๑๒๖)
ร้อยแสนกถานะไซร้ เป็นอสงไขย คือเหลือจะนับพรรณา
อนึ่งลำดับที่นับกันมาผิดจากเทศนา ของพระชิโนวาที
ลำดับที่นับนี้ นิรัพพุทมี แล้วอพะพะ อฏะฏะมา
อหะหะกมุทา โสคันทิกา แล้วอุปปละบุณฑริกนี้
ปทุมะ กถานะตามที่ จงรู้วิธี แล้วสังเกตกำหนดแล
แต่ร้อยถึงโกฏินี้แท้เอาสิบคูณแน่ เร่งรู้หนาอย่าหลงใหล
แต่โกฏิถึงอสงไขย เอาร้อยแสนไซร้ เร่งคูณเข้าอย่าลืมแล

<< ย้อนกลับ | หน้าถัดไป>>

คำกลอนอ่านเทียบในแม่ก กา (ใช้ตัวเขียนแบบเก่าเป็นบางคำ)
คำกลอนอ่านเทียบในแม่กน
คำกลอนอ่านเทียบในแม่กง
คำกลอนสำหรับอ่านเทียบแม่กก
คำกลอนสำหรับอ่านเทียบในแม่กด
คำกลอนสำหรับอ่านเทียบในแม่กบ
คำกลอนสำหรับอ่านเทียบในแม่กม
คำกลอนสำหรับอ่านเทียบในแม่เกย
วิธีนับศัพท์สังขยา
มาตราวัดความยาว
มาตราวัดพื้นที่
มาตราวัดปริมาตร
มาตราวัดน้ำหนัก
มาตรานับวันเวลา
ฤดูกาลทั้งสาม
ทิศทั้งแปด
กิจวัตรประจำวันของนักเรียน
กิจวัตรประจำวันของเด็กนักเรียน
ข้อคำนึงถึงประเทศ
แนวทางดำเนินชีวิต
การฝึกตนให้เป็นคนดี

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย