สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>

พัฒนาการสังคมไทย
ดุจฤดี คงสุวรรณ์

การเปลี่ยนแปลงและพัฒนาสังคมชนบทในภาคกลาง

อาจกล่าวได้ว่า สภาพภูมิศาสตร์มีอิทธิพลต่อการตั้งหมู่บ้านทางภาคกลางไม่น้อยกว่าทุกภาคดังที่กล่าวมาแล้ว ในงานวิจัยของฉัตรทิพย์ นาถสุภา เรื่องวัฒนธรรมหมู่บ้านไทย ฉัตรทิพย์แบ่งลักษณะที่ตั้งหมู่บ้านทางภาคกลางไว้ เป็น 3 ลักษณะคือ

  1. หมู่บ้านที่ตั้งสองฟากฝั่งแม่น้ำ ใช้เส้นทางน้ำในการไปมาหาสู่ซื้อขายสิ่งของเครื่องอุปโภคบริโภคกันหมู่บ้านดังกล่าวเช่นนี้คือเป็นหมู่บ้านรุ่นเก่าที่สุดและมีที่สังเกตคือชื่อหมู่บ้านจะบอกลักษณะที่ตั้งเป็นที่สังเกต เช่น บ้านตลิ่งชัน บ้านท่าใหญ่ บ้านหนองป่าแซง บ้านท่าวุ้ง ลักษณะหมู่บ้านตามแนวยาวไปตามสายน้ำเช่นนี้ จะไม่พบในภาคเหนือ ภาคอีสาน และภาคใต้
  2. หมู่บ้านที่ตั้งอยู่ตามท้องทุ่ง ตามที่ราบซึ่งในภาคกลางมักเป็นพื้นที่อันกว้างใหญ่ และมีชาวนามาตั้งบ้านเรือนหลายหมู่บ้านเข้าทำนาในที่ราบลุ่มแห่งนี้บางแห่งนี้เป็นทุ่งราบไม่กว้างใหญ่ ก็มีหมู่บ้านเดียว โดยมีหนองน้ำเป็นแหล่งน้ำอุปโภคบริโภค เช่น บ้านหนองศาลา ตำบลตลิ่งชัน อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี ชาวทุ่งกอก ชาวบ้านสามทอง บ้านท่าใหญ่ และบ้านตลิ่งชัน ก็ทำนาอยู่ในบ้านทุ่งกอกนับเป็นหมื่นไร่ ดังนั้นจึงแตกต่างจากภาคอีสานที่หมู่บ้านและพื้นที่เป็นเฉพาะของบ้านตน การติดต่อสื่อสารกันส่วนใหญ่ ใช้เส้นทางน้ำ เช่น คูคลอง มีเรือขึ้นล่องเป็นประจำ จำเป็นชุมชนเปิดและเป็นเครือข่ายและเมื่อมีผู้คนหนาแน่นขึ้น ก็พากันออกไปหาแหล่งนาแห่งใหม่ ซึ่งอยู่ห่างออกไปหลายทุ่ง เช่น ชาวบ้านท่าข้ามริมลำน้ำท่าวัง ตำบลสนามคลี อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี ได้เดินไกวจากหมู่บ้าน ไปหาที่ทำกินที่บ้านปราสาทพื้นที่ที่บุกเบิกรุ่นเดียวกันก็มี เช่น ทุ่งประดู่ ทุ่งแฉลบ ทุ่งหัวอุด เป็นต้น
  3. หมู่บ้านที่อยู่ห่างจากท้องทุ่ง เป็นพื้นที่ดอนและห่างไกลจากชุมชนมักเรียกกว่าบ้านป่า สมัยก่อนรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สุพรรณบุรี อ่างทอง สิงห์บุรี เหล่านี้ล้วนเป็นบ้านป่าทั้งสิ้น ในด้านการเปลี่ยนแปลงหมู่บ้านที่อยู่กลางทุ่งจะเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจใหม่เพื่อการค้าเร็วเช่นเดียวกับหมู่บ้านริมแม่น้ำ ส่วนหมู่บ้านบนที่ดอนและบ้านป่านั้นจะตามมาทีหลัง

ในด้านการถือครองที่ดิน กล่าวได้ว่าดินดอนสามเหลี่ยมแม่น้ำเจ้าพระยาหรือที่ราบกรุงเทพฯ หมู่บ้านเหล่านี้เจ้าของที่ดินมักจะได้แก่พวกเจ้านายและชนชั้นสูง เจ้านายองค์หนึ่งอาจถือครองที่ดินนับพันไร่ และมีชาวนาบางส่วนที่มีที่ดินถือครองของตนเอง บ้างก็ขายไป แต่ส่วนมากเกิดจากชนชั้นสูงมีโอกาสซื้อหาจับจองหรือเป็นเจ้าของที่ดินมากกว่าชาวบ้านธรรมดา โดยเฉพาะที่ดินริมคลองหมู่บ้านแบบนี้พบได้ง่ายในอยุธยา ปทุมธานี อ่างทอง และกรุงเทพฯ ในสมัยต่อมาในหลายหมู่บ้านเจ้าของที่ดินซึ่งอยู่ในเมืองตั้งตัวแทนของตนที่เรียกว่า “นายกองนา” ให้ดูแลผลประโยชน์ในนาของตนในหมู่บ้าน บ้านซุ้ง ตำบลนครหลวง อำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งเป็นชุมชนที่เจริญที่สุดของอำเภอนครหลวงในสมัยนั้น

ความเจริญของหมู่บ้านในเขตภาคกลางมิได้อยู่เฉพาะในเขตที่ราบลุ่มดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเจ้าพระยาเท่านั้น แต่ที่สำคัญคือเป็นแหล่งค้าขายผลิผลิต เช่น ข้าว น้ำตาล เช่น ที่ราบในขอบเขต ภูเขา ทิวเขา อันครอบคลุมพื้นที่ของจังหวัดกำแพงเพชร พิจิตร พิษณุโลก สุโขทัย อุตรดิตถ์ เพชรบูรณ์ และพื้นที่ในเขตที่ราบใหญ่ภาคกลาง เช่น อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง ลพบุรี นครสวรรค์ เป็นพื้นที่คล้ายกับหัวเมืองในประวัติศาสตร์ซึ่งมีไพร่ส่วยจำนวนมาก แสดงถึงการมีผลผลิตสำคัญ ๆ โดยเฉพาะข้าวเปลือกที่ค้าขายในท้องถิ่นและมีทางคมนาคมทางเกวียนและทางน้ำ โดยมีปากน้ำโพเป็นชุมทางใหญ่รองจากกรุงเทพฯ เช่นเดียวกับนครปฐม สุพรรณบุรี เป็นเขตที่ผลิตน้ำตาลสำคัญที่สุด

พัฒนาการของหมู่บ้านภาคกลางในช่วง 40-50 ปีที่ผ่านมา หมู่บ้านที่เกิดขึ้นในป่าสงวน เช่น หมู่บ้านคลองตะเคียนชัย ตำบลดาหลัง อำเภอวังน้ำเย็น จังหวัดปราจีนบุรี หมู่บ้านห้วยหัน ตำบลยายหมี อำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา หมู่บ้านอุดมพัฒนา ตำบลธารทหาร อำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์ เป็นต้น ผู้คนที่เข้ามาอยู่ป่าสงวนต้องใช้ระบบปืน ญาติ เพื่อนบ้าน บางหมู่บ้านอพยพมาจากหลายจังหวัด เช่น เพชรบูรณ์ พิษณุโลก นครราชสีมา เข้ารวมตัวกันต่อสู่กับ โจรผู้ร้ายและผู้ที่มาแย่งที่ทำกิน

กล่าวโดยรวมแล้ว หมู่บ้านภาคกลางเป็นหมู่บ้านที่เข้าสู่ระบบทุนนิยมรวดเร็วและกว้างขวางยิ่งกว่าภาคอื่นใด เป็นเพราะเหตุผลสองประการคือความพร้อมของพลังการผลิตคือ ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากร และเป็นเพราะว่าอยู่ใกล้กับเมืองหลวงซึ่งเป็นเมืองท่าและเป็นศูนย์ กลางการพัฒนาเศรษฐกิจ แต่การขยายตัวของทุนนิยมได้เปลี่ยนหมู่บ้านจากสภาพพอยังชีพและทำการค้าภายในเพียงเล็ก ๆ น้อย ๆ เฉพาะส่วนหัว เช่น หมู่บ้านที่อยู่ริมแม่น้ำอยู่บนที่ราบอันอุดมสมบูรณ์ และหมู่บ้านที่อยู่ในเขตเมืองชุมทางซึ่งมีเงื่อนไขอันเหมาะสมจะเปลี่ยนแปลงรองรับขยายตัวของเศรษฐกิจ การค้าเท่านั้นหมู่บ้านอื่น ๆ ที่อยู่ในเงื่อนไขไม่เหมาะสมค่อย ๆ เข้าสู่การเปลี่ยนแปลงนี้อย่างช้า ๆมีขั้นตอนยาวนาน เงื่อนไขที่ชนชั้นสูงได้ทำการเปลี่ยนแปลงระบบ เช่น การขุดคูคลอง การชลประทาน และการจัดระบบการค้าของราชธานี เป็นเงื่อนไขสมทบให้การเปลี่ยนแปลงนี้เร็วกว่าภาคอื่น ๆ ของประเทศไทย

» วิวัฒนาการทางสังคมไทย

» สมัยทวารวดี

» สมัยศรีวิชัย

» สมัยลพบุรี

» สมัยหริภุญไชย

» สมัยล้านนา

» สมัยสุโขทัย

» สมัยกรุงศรีอยุธยา

» สมัยกรุงรัตนโกสินทร์

» สังคมไทยสมัยใหม่

» การเปลี่ยนแปลงทางสังคม

» สังคมไทยในยุคโลกาภิวัตน์

» สังคมไทยในภาคเหนือ

» สังคมไทยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

» สังคมไทยในภาคกลาง

» สังคมไทยในภาคใต้

» สังคมเมือง

» การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมของสังคมเมืองและสังคมชนบท

» การเปลี่ยนแปลงและพัฒนาสังคมชนบทในภาคเหนือ

» การเปลี่ยนแปลงและพัฒนาสังคมชนบทในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

» การเปลี่ยนแปลงและพัฒนาสังคมชนบทในภาคใต้

» การเปลี่ยนแปลงและพัฒนาสังคมชนบทในภาคกลาง

» ปัญหาสังคมและแนวทางแก้ไข

» ลักษณะของปัญหาสังคม

» สาเหตุของการเกิดปัญหาสังคม

» แนวทางในการศึกษาปัญหาสังคม

» ปัญหายาเสพติด

» ปัญหาคอร์รัปชั่น

» ปัญหาความยากจน

» ปัญหาการแพร่กระจายของโรคเอดส์

» ด้านการศึกษาและสังคม

» ปัญหาเด็กและเยาวชน

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย