ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม อารยธรรม >>

บ้านเชียง

2. สมัยกลางบ้านเชียง ช่วงนี้เกษตรกรที่บ้านเชียงสมัยก่อนประวัติศาสตร์ เริ่มมีการ ใช้โลหะทำเครื่องมือใช้สอยและเครื่องประดับกันแล้ว โดยในช่วงแรกๆ ใช้โลหะสำริด ซึ่งเป็น โลหะผสมระหว่าง ทองแดงและดีบุก ต่อมาตอนกลางสมัยจึงเริ่มมีการใช้เหล็กกันบ้าง
                                 ประเพณีการฝังศพ ของคนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่บ้านเชียงสมัยกลาง เป็นแบบ วางศพใน ท่านอนหงายเหยีดยยาว บางศพมีการนำภาชนะดินเผามากกว่าหนึ่งใบ มาทุบให้แตกแล้วใช้เศษภาชนะดินเผานั้น โรยบนศพ

baanchiang2_1.jpg (3646 bytes)  baanchiang2_2.jpg (3448 bytes)  baanchiang2_3.jpg (3137 bytes)


                                ลักษณะเด่นของภาชนะดินเผาสมัยกลางของบ้านเชียง สมัยก่อนประวัติศาสตร์   เป็นภาชนะ ดินเผาชนาดใหญ่ ผิวนอกเป็นสีขาว ส่วนไหล่หักเป็นมุม หรือโค้งมาก มีทั้งแบบที่มีก้นกลมและแหลม บางใบนั้น ตกแต่งด้วยลายขีดผสมกับลายเขียนสี บริเวณปากภาชนะ และในช่วงปลายของสมัยกลาง เริ่มมีการเขียนตกแต่ง ปากภาชนะด้วยการทาสีแดง
                               3. สมัยปลายบ้านเชียง เป็นสมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย ระหว่างนี้มีการใช้เหล็กทำ เป็นเครื่องมือเครื่องใช้กันอย่างแพร่หลาย ส่วนเครื่องประดับยังคงใช้สำริด ที่มีรูปแบบและลักษณะประณีต วิจิตร พิศดารมากกว่าในสมัยที่ผ่านมา

 

baanchiang3_4.jpg (3026 bytes)  baanchiang3_5.jpg (6860 bytes)


                                 ประเพณีการฝังศพ ของคนในสมัยนี้ คือ จะวางศพในท่านอนหงายเหยียดยาว แล้วนำภาชนะ ดินเผาทับบนศพ ภาชนะดินเผาที่พบในหลุมศพช่วงปลายนี้ เป็นภาชนะเขียนสีแดงบนพื้นขาว และต่อมาก็ก็เริ่มมี ภาชนะดินเผาเขียนลายสีแดง บนพื้นสีแดง ในช่วงท้ายของสมัยปลาย เป็นภาชนะดินเผาฉาบด้วยน้ำดินสีแดง แล้วขัดมัน

      baanchiang3_1.jpg (2751 bytes)  baanchiang3_2.jpg (2918 bytes)  baanchiang3_3.jpg (2927 bytes)

<< ย้อนกลับ | หน้าถัดไป >>

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย