วรรณกรรม สุภาษิต ข้อคิด คำคม สำนวน โวหาร งานเขียน >>

ร้อยกรองไทย

วิทยา ผิวงาม

ฉันทลักษณ์
โคลง
ฉันท์
กาพย์
กลอนสุภาพ
ร่าย
ประวัติการประพันธ์
การพัฒนาร้อยกรองไทยในปัจจุบัน
การอ่านออกเสียงบทร้อยกรอง
บทอาขยาน

โคลง

โคลง คือคำประพันธ์ชนิดหนึ่ง ซึ่งมีวิธีเรียบเรียงถ้อยคำ เข้าคณะ มีกำหนดเอกโท และสัมผัส แต่มิไดบัญญัติ บังคับ ครุลหุ โคลงแบ่งออกเป็น 3 ชนิด คือ โคลงสุภาพ โคลงดั้น และโคลงโบราณ

โคลงสุภาพ แบ่งออกเป็น 7 ชนิด คือ

1. โคลง 2 สุภาพ
2. โคลง 3 สุภาพ
3. โคลง 4 สุภาพ
4. โคลง 4 ตรีพิธพรรณ
5. โคลง 5 หรือมณฑกคติ (ปัจจุบันไม่นิยมแต่งกันแล้ว)
6. โคลง 4 จัตวาทัณฑี
7. โคลงกระทู้

โคลงดั้น แบ่งออกเป็น 6 ชนิด คือ

1. โคลง 2 ดั้น
2. โคลง 3 ดั้น
3. โคลงดั้นวิวิธมาลี
4. โคลงดั้นบาทกุญชร
5. โคลงดั้นตรีพิธพรรณ
6. โคลงดั้นจัตวาทัณฑี

โคลงโบราณ มีลักษณะคล้ายโคลงดั้นวิวิธมาลี แต่ไม่บังคับเอกโท มีบังคับแต่เพียงสัมผัสเท่านั้น เป็นโคลงที่ไทยเรา แปลงมาจากกาพย์ ในภาษาบาลี อันมีชื่อว่า คัมภีร์กาพยสารวิลาสินี ซึ่งว่าด้วยวิธีแต่งกาพย์ต่างๆ มีอยู่ 15 กาพย์ด้วยกัน แต่มีลักษณะเป็นโคลงอย่างแบบไทยอยู่ 8 ชนิด เพราะเหตุที่ไม่มีบังคับเอกโท จึงเรียกว่า โคลงโบราณ นอกนั้น มีลักษณะเป็นกาพย์แท้

แบ่งออกเป็น 8 ชนิด คือ

1. โคลงวิชชุมาลี
2. โคลงมหาวิชชุมาลี
3. โคลงจิตรลดา
4. โคลงมหาจิตรลดา
5. โคลงสินธุมาลี
6. โคลงมหาสินธุมาลี
7. โคลงนันททายี
8. โคลงมหานันททายี

ข้อบังคับ หรือบัญญัติของโคลง

การแต่งโคลง จะต้องมีลักษณะบังคับ หรือบัญญัติ 6 อย่าง คือ

1. คณะ
2. พยางค์
3. สัมผัส
4. เอกโท
5. คำเป็นคำตาย
6. คำสร้อย

คำสุภาพในโคลงนั้น มีความหมายเป็น 2 อย่าง คือ

1.หมายถึง คำที่ไม่มีเครื่องหมาย วรรณยุกต์เอกโท
2.หมายถึง การบังคับคณะ และสัมผัส อย่างเรียบๆ ไม่โลดโผน

ฉะนั้น คำสุภาพใน ฉันทลักษณ์ จึงผิดกับคำสุภาพใน วจีวิภาค เพราะในวจีวิภาค หมายถึง คำพูดที่เรียบร้อย ไม่หยาบโลน ไม่เปรียบเทียบ กับของหยาบ หรือไม่เป็นคำ ที่มีสำเนียง และสำนวนผวนมา เป็นคำหยาบ ซึ่งนับอยู่ในประเภทราชาศัพท์

โคลงสุภาพ

โคลง 2 สุภาพ

แผน:



ตัวอย่าง:



โคลง 3 สุภาพ

แผน:



ตัวอย่าง:




โคลง 4 สุภาพ

แผน:



ตัวอย่าง:



ตัวอย่าง:



โคลง 4 ตรีพิธพรรณ

แผน:



ตัวอย่าง:



โคลง 5 (โคลงมณฑกคติ)

โคลง 5 (โคลงมณฑกคติ) เป็นคำประพันธ์ที่ปรากฏอยู่ในวรรณกรรมไทยเพียงเรื่องเดียวคือ ลิลิตโองการแช่งน้ำ พระโหราธิบดีได้กล่าวึงลักษณะของชนิดโคลงนี้ไว้ในหนังสือจินดามณีว่า ประกอบด้วย วรรคหรือบาทละ 5 คำ บังคับเอกโท เช่นเดียวกับโคลงทั่วไป แต่ไม่อาจกำหนดจำนวนได้ และบอกไม่ได้ ว่ามีการวางรูปแบบเป็นอย่างไร

ตัวอย่าง:

แลมีค่ำมิ่วนน กินสาลีเปลือกปล้อน บมีผู้ต้อนแต่ง บรรณาฯ
เลือกผู้ยิ่งยศสา เปนราชาอคร้าว เรียกนามสมมตจ้าว จึ่งต้องท้าวเจ้าแผ่นดินฯ

-จาก ลิลิตโองการแช่งน้ำ-

โคลง 4 จัตวาทัณฑี

แผน:



ตัวอย่าง:



โคลงกระทู้

1. กระทู้เดี่ยว หรือกระทู้คำเดียว หมายความว่า กระทู้นั้น มีคำทั้งหมดอยู่ 4 คำ แต่แยกเอาไปเขียนไว้ข้างหน้า บาทละคำ

ตัวอย่าง:



2.กระทู้สอง หมายความว่า กระทู้นั้น มีคำอยู่ทั้งหมด 8 คำ แต่แยกเอาไปเขียนไว้ข้างหน้า บาทละ 2 คำ

ตัวอย่าง:



3.กระทู้สาม หมายความว่า กระทู้นั้น มีคำอยู่ทั้งหมด 12 คำ แต่แยกเอาไปเขียนไว้ข้างหน้า บาทละ 3 คำ

ตัวอย่าง:



4.กระทู้สี่ หมายความว่า กระทู้นั้นมีคำอยู่ทั้งหมด 16 คำ แต่แยกเอาไปเขียนไว้ข้างหน้า บาทละ 4 คำ

ตัวอย่าง:



โคลงโบราณ

โคลงวิชชุมาลี

แผน:



ตัวอย่าง:



โคลงมหาวิชชุมาลี

แผน:



เหมือนกับวิชชุมาลี เป็นแต่เพิ่มคำในบาทสุดท้าย เข้าอีก 2 คำเท่านั้น

ตัวอย่าง:



โคลงจิตรลดา



ตัวอย่าง:



โคลงมหาจิตรลดา

แผน:

เหมือนกับจิตรลดา แต่เพิ่มคำเข้าในบาทสุดท้าย อีก 2 คำ

ตัวอย่าง:



โคลงสินธุมาลี



ตัวอย่าง:



โคลงมหาสินธุมาลี

แผน:

 เหมือนกับสินธุมาลี แต่เพิ่มคำเข้าในบาทสุดท้าย อีก 2 คำ

ตัวอย่าง:



โคลงนันททายี



ตัวอย่าง:



โคลงมหานันททายี

แผน:

เหมือนนันททายี แต่เพิ่มคำเข้าในบาทสุดท้าย อีก 2 คำ

ตัวอย่าง:

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย